Listen to a podcast, please open Podcast Republic app. Available on Google Play Store.
Episode | Date |
---|---|
RUOK268 อันตรายของการพูดให้เจ็บแล้วจำ เพราะคำพูดฝากรอยแผลกว่าที่คิด
21:31
แม้จะเป็นความจริงที่ว่า การพูดให้เจ็บแล้วจำ จะทำให้อีกฝ่ายตระหนักและจำสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้จริง แต่สิ่งที่ฝากไว้มากกว่านั้นคือบาดแผลที่ฝังใจ และอาจเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมของคนคนหนึ่งไปเลยก็ได้ R U OK ชวนให้เห็นที่มาของมายด์เซ็ตของการพูดให้เจ็บแล้วจำที่อาจมีต้นเหตุจากการส่งต่อแนวคิดรุ่นต่อรุ่นเพราะใช้ได้ผล แต่เพราะโลกใบนี้มีทางเลือกมากกว่านั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องสร้างบาดแผล เพียงเพราะต้องการให้อีกฝ่ายเข้าใจ ฉะนั้นจะมีวิธีอะไรอีกบ้างที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจ โดยไม่สร้างร่องรอยทางใจและไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ |
Aug 09, 2022 |
RUOK267 คุยกันไปก็ทะเลาะ ทำอย่างไรเมื่อคนในบ้านเห็นต่างกัน
17:09
สภาพแวดล้อมและสังคมที่คนแต่ละคนหรือแต่ละเจเนอเรชันให้คุณค่านั้นอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจให้ความสำคัญกับความสงบเรียบร้อย หากแต่บางคนอาจให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายและความเป็นมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อความเห็นไม่เหมือนกัน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกันได้ R U OK ชวนหาวิธีของตัวเองในการอยู่ร่วมกันกับความเห็นต่าง เพราะความเห็นที่ต่างกันอาจไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้คิดเหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องลดทอนคุณค่าของอีกฝ่าย แต่การสื่อสารอย่างสันติและการเคารพในสิ่งที่อีกฝ่ายให้คุณค่า อาจเป็นทางออกของการอยู่ร่วมกัน |
Aug 05, 2022 |
RUOK266 ฝึกไว้ใจตัวเองและคนอื่น เพื่อพัฒนาพื้นฐานความสัมพันธ์
21:06
ปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่พบเจอในวัยผู้ใหญ่เชื่อหรือไม่ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความไว้ใจ (Trust) ที่เกิดจากการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ความไว้ใจจึงเป็นเหมือนรากในการแสดงออกถึงความวางใจ หวาดระแวง หรือไม่เชื่อใจทั้งคนอื่นและตัวเอง R U OK ชวนสำรวจ ‘Trust Issue’ ว่าถูกแสดงออกผ่านมิติของการใช้ชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์อย่างไร และถ้าหากอยากลองฝึกไว้ใจตัวเองและคนอื่นสามารถเริ่มต้นได้อย่างไรบ้าง เพราะนี่อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยคลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ที่ดูยากแสนยากก็ได้ |
Aug 01, 2022 |
RUOK265 ทำให้ความเศร้าไม่ใช่คนแปลกหน้า ด้วยการเผชิญหน้า
15:34
หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเศร้าหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ เพราะเกรงว่าจะทำให้ทุกข์มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การค่อยๆ เผชิญหน้าจะทำให้ความเศร้านั้นเบาบางลง
เมื่อความเศร้าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอไม่วันใดก็วันหนึ่ง R U OK อยากชวนทำความคุ้นเคยความเศร้าด้วยการเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ เพราะยิ่งอยู่ในความเศร้าได้นานเท่าไร กล้ามเนื้อทางใจจะเพิ่มความแข็งแรงในการรับมือ และวันหนึ่งเราจะพบวิธีในการออกจากหลุมเศร้าด้วยรูปแบบของตัวเอง |
Jul 29, 2022 |
RUOK264 อย่าปล่อยให้ความหวังทำร้าย และกั้นไม่ให้ลงมือทำ
18:55
แม้ความหวังจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เรามีแรงออกไปสู้อุปสรรคและเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน การมีความหวังเพียงอย่างเดียวก็อาจกลายเป็นกับดักและกั้นไม่ให้นำไปสู่การลงมือทำ R U OK ชวนดูความหวังว่ามันทำงานกับจิตใจเราอย่างไรบ้าง ข้อดีข้อเสียของการมีความหวัง รวมถึงการประเมินความหวังในสถานการณ์ต่างๆ กับความเป็นจริงเพื่อนำไปสู่การลงมือทำ เพราะแท้ที่จริงแล้วเรามีพละกำลังและอำนาจในการควบคุมตัวเองมากกว่าการใช้ความหวังเพียงอย่างเดียว |
Jul 25, 2022 |
RUOK263 รู้จักตัวเองเพื่ออะไร เมื่อเราเปลี่ยนไปทุกนาที
12:55
แน่นอนว่าการทำความรู้จักตัวเองเป็นสิ่งที่ดี ที่เราจะชัดเจนว่าในสถานการณ์ต่างๆ เราต้องการอะไร เพื่อจะสื่อสารให้คนอื่นได้รับรู้ แต่เคยสงสัยไหมว่า ‘การรู้จักตัวเอง’ ที่ว่านั้น ‘ตัวเรา’ คือใครกันแน่ เพราะตัวตนของเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แล้วเราจะรู้ตัวตนที่แท้เราได้อย่างไร R U OK ชวนเข้าใจทฤษฎีเกี่ยวกับ ‘Self’ หรือ ‘ตัวตน’ ที่ท้ายที่สุดแล้วอาจไม่จำเป็นต้องรู้จักตัวตนที่แท้จริงก็ได้ เพราะตัวเราเองเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีคำตอบที่ตายตัวและเสร็จสิ้น การทำความรู้จักตัวเองจึงเป็นเหมือนงานที่ไม่มีวันเสร็จ แต่ค่อยๆ ทำไป ออกไปใช้ชีวิต แล้วก็แวะกลับมาทบทวนตัวเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการหาคำตอบ |
Jul 22, 2022 |
RUOK262 จำเป็นไหมที่ชีวิตนี้เราต้องเก่งอะไรสักอย่าง?
16:17
ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คนเก่ง คนที่ประสบความสำเร็จอยู่รอบตัวตลอดเวลา จนหลายคนตั้งคำถามกับการเป็น ‘คนธรรมดา’ ของตัวเองว่า เราต้องเก่งอะไรสักอย่างไหมชีวิตเราถึงจะอยู่รอดได้สังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน R U OK ชวนคิดอีกด้านว่า จริงๆ แล้วความเก่งอาจไม่ต้องเปรียเทียบ ไม่ต้องออกไปไขว่คว้า แต่แท้ที่จริงทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่เข้าไปค้นหามัน และทุกความเก่งที่เรามองไม่เห็นหรือรู้สึกไม่มีความหมาย สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันจนทำให้เกิดมูลค่าและทำให้เรามีชีวิตตั้งอยู่ได้ |
Jul 18, 2022 |
RUOK261 โตแล้ว...เลือกได้ ปลดปล่อยตัวเองจากเสียงของพ่อแม่
18:59
เชื่อหรือไม่ว่า Mindset บางอย่างที่เราใช้เลือกมอง ล้วนมีผลมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ที่มีเสียงของพ่อแม่หรือผู้ปกครองบอก และเราก็ ‘เชื่อตาม’ เสียงเหล่านั้น หลายคนเท่าทันและจัดการเสียงเหล่านั้นได้ แต่อีกหลายคนลากพา ‘เสียง’ มาจนถึงตอนโต และใช้ตัดสินใจในสถานการณ์ปัจจุบัน แน่นอนว่าเสียงเหล่านั้นมันเคยใช้งานได้ดี แต่ก็ไม่ได้เสมอไป R U OK ชวนสังเกตและเท่าทันเสียงในอดีตที่มีผลต่อ Mindset พลิกดูว่าชุดความไหนยัง ‘เวิร์ก’ อยู่บ้าง เพราะการตั้งคำถามกับคนที่เลี้ยงดูมา ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รักเขาเสมอไป |
Jul 15, 2022 |
RUOK260 ชีวิตที่วางแผน ชีวิตที่ไร้แผน เลือกแบบไหนดี
25:03
ประโยคที่ว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีการวางแผน อาจเป็นจริงสำหรับผู้ที่อยากมองเห็นอนาคตของตัวเองเพื่อจะได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า หากอีกด้านการวางแผนคือความเครียดที่มากดดันตัวเองเมื่อมันไม่ได้เป็นไปตามแผน แน่นอนว่าไม่มีความคิดไหนที่ผิดหรือถูก R U OK เลยอยากชวนสำรวจข้อดีข้อเสียของการวางแผนชีวิต ชวนดูว่าชีวิตที่เป็นไปตามแผนหรือปล่อยไปตามใจ แบบไหนที่เหมาะกับเรา และชวนทำความเข้าใจธรรมชาติของการวางแผนว่าไม่มีแผนไหนที่จะเป็นไปตามที่วางร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะคนที่วางแผนวันนี้กับคนที่ใช้ชีวิตจริงในวันข้างหน้าล้วนเป็นคนละคนกัน และไม่มีใครที่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต |
Jul 12, 2022 |
RUOK259 วิธีใช้ชีวิต แบบคน Low Self-Esteem
15:53
Self-Esteem หรือการรับรู้คุณค่าในตัวเอง คือเครื่องมือหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแรงทางใจที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนบางคนก็อาจตั้งคำถามว่า ผิดไหมที่ไม่มี Self-Esteem เสียที เพราะว่าไม่ว่าพยายามเท่าไรความรู้สึกไม่มีคุณค่าก็ยังแวะเวียนมาเสมอ เพราะ Self-Esteem ไม่ได้เพิ่มกันในชั่วข้ามคืน R U OK เลยอยากชวนพลิก Mindset การ ‘ต้อง’ มี Self-Esteem ว่าอาจเต็มไปด้วยข้อดีก็จริง แต่ก็การบังคับให้ตัวเอง ‘ต้อง’ มี อาจมาสู่การกดดันตัวเอง เพราะ Self-Esteem ลดและเพิ่มได้ในทุกวันและหลายคนก็อยู่ในระหว่างทางเพื่อเรียนรู้การมีสิ่งนี้ |
Jul 08, 2022 |
RUOK258 วิธีเห็นคุณค่าของตัวเองโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น
14:45
รับชมทาง YouTube https://youtu.be/QX6AAXru_74
แม้ความคิดที่ว่า ‘ถ้าเลิกเปรียบเทียบแล้วชีวิตจะมีความสุข’ จะตรงกับความเชื่อของใครหลายคนที่พิสูจน์แล้วว่าจริง แต่ก็ชวนให้สงสัยว่ามนุษย์เราจะละไว้ซึ่งการเปรียบเทียบได้จริงหรือ เพราะการเปรียบเทียบเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์ และเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ R U OK ชวนพลิกมายด์เซ็ตเรื่องการเปรียบเทียบ ว่าแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มาจากตัวการเปรียบเทียบเอง แต่มาจากความคิดที่เรามีต่อตัวเองที่เอาไปต่อท้ายการเปรียบเทียบต่างหากที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ รวมถึงชวนคิดว่านอกจากการเปรียบเทียบแล้ว เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เห็นคุณค่าของตัวเองได้อีกบ้าง |
Jul 05, 2022 |
RUOK257 วิธีดีลกับความอ่อนแออย่างมีวุฒิภาวะ
18:09
รับชมทาง YouTube https://youtu.be/mWZdfY1JJbc ความอ่อนแอเป็นความรู้สึกหนึ่งที่หลายคนไม่พึงปรารถนา เพราะเมื่อไรที่ความอ่อนแอแวะเวียนมา จะนำพามาซึ่งความสั่นไหว เปราะบาง และบางครั้งดูไม่มืออาชีพ ไม่เหมาะกับบทบาทที่สวมอยู่ แต่ในเมื่อความอ่อนแอเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ จะทำอย่างไรให้รับมือมันได้ R U OK ชวนพลิกมายด์เซ็ตเรื่องการเป็นผู้ใหญ่และความอ่อนแอ ว่าแท้จริงแล้ว ‘การอนุญาตให้ตัวเองได้อ่อนแอ’ อาจเป็นวิธีหนึ่งในการรู้จักและเข้าใจตัวเองได้ดีกว่าการปฏิเสธ เพราะความอ่อนแอไม่มีวันหมดไปจากใจเรา และท้ายที่สุดแล้วเราต้องดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการแบกหลายๆ ความรู้สึกไปด้วย |
Jul 01, 2022 |
RUOK256 ทำอย่างไรเมื่อความกตัญญูกลายเป็นความคาดหวัง ไม่ใช่ความรู้สึก
18:42
R U OK ชวนสำรวจ Mindset เรื่องความกตัญญูที่เป็นวิธีปฏิบัติและค่านิยมที่แข็งแรงของสังคมไทยว่า ‘ลูกที่ดีต้องกตัญญู’ แต่ในเมื่อความกตัญญูคือ ‘ความรู้สึก’ ซึ่งขึ้นชื่อว่าความรู้สึกแล้ว มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เองโดยที่ไม่สามารถบังคับกันได้ ดังนั้นแล้ว หลายคนจึงเกิดความขัดแย้งในตัวเองเมื่อสิ่งที่รู้สึกและสิ่งที่คิดว่าควรทำไม่สอดคล้องตรงกัน จะทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้วความกตัญญูอาจไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่จะยึดโยงสายสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเอาไว้ |
Jun 27, 2022 |
RUOK255 ชวนสำรวจความเกรงใจ หรือแท้จริงแล้วคือความกลัวสูญเสียความสัมพันธ์
18:47
“ต้องไปกินข้าว ปาร์ตี้แล้วล่ะ เขาอุตส่าห์ชวน” “ช่วยเขาทำงานหน่อย เราไม่ได้ลำบากอะไร”
สถานการณ์ข้างต้นคือความเกรงใจที่อาจเกิดขึ้นได้กับใครหลายคน แน่นอนว่าความเกรงใจในมิติของการอยู่ร่วมกันในพื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ แต่ความเกรงใจอีกมิติที่ลึกลงไปแล้วอาจไม่ใช่ ‘ความเกรงใจ’ กำลังทำให้เราเบียดเบียนตัวเอง R U OK ชวนสำรวจว่า แท้จริงแล้วเรากำลังใช้คำว่า ‘เกรงใจ’ มาปิดบังความกลัวสูญเสียความสัมพันธ์ กลัวไม่เป็นที่รัก เราจะเซ็ตความตั้งใจใหม่ หันมาจัดการความกลัวแทนการเอาคำว่าเกรงใจมาปกปิดได้อย่างไร และมีวิธีไหนบ้างที่จะหัดปฏิเสธโดยไม่สูญเสียความสัมพันธ์ |
Jun 24, 2022 |
RUOK254 คนเราไม่ควรมีอารมณ์ด้านลบจริงหรือ?
16:06
เราอาจเคยได้ยินมาว่าอารมณ์แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ อารมณ์ด้านบวกและอารมณ์ด้านลบ แต่การนิยามด้วยวิธีดังกล่าวมักพาเราไปติดกับที่ว่า ลบ = ไม่ดี = ควรกำจัดทิ้ง ทั้งๆ ที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุผลและเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา R U OK ชวนให้รู้จัก Wheel of Emotions ที่อยู่ในรูปแบบของวงล้อแล้วทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะหมุนไปทางไหนทุกอารมณ์ล้วนมีคุณค่าเป็น 1 อารมณ์เท่าๆ กัน ไม่มีอารมณ์ไหนบวก ลบ หรือมีคุณค่ามากกว่ากัน เพียงแค่ยอมรับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา โอบกอดและทำความรู้จัก ก็จะนำพามาซึ่งการจัดการอารมณ์และการรู้เท่าทันตัวเองได้ในที่สุด |
Jun 20, 2022 |
RUOK253 เพราะสายสัมพันธ์ที่สร้างมา มีค่ากว่าการแปะป้ายว่าใคร Toxic
16:32
Toxic กลายเป็นคำฮิตที่อยู่คู่กับการทำงาน ความสัมพันธ์ รวมไปถึงการนิยามคน บางครั้งก็ใกล้ตัว เจอกันในชีวิตประจำวันจนอยากหนีให้ไกล จริงอยู่ว่า Toxic เป็นสิ่งที่ไม่มีใครพึงปรารถนา แต่การนิยามคนทั้งคนว่าเป็น ‘คน Toxic’ อาจไม่แฟร์เท่าไรนัก เพราะลึกลงไปคนที่ถูกนิยามว่า Toxic อาจกำลังจัดการภายในที่ไม่มั่นคงแล้วล้นออกมาจนเป็นพิษกับคนรอบข้าง R U OK จึงอยากนำเสนอวิธีดีลกับมนุษย์ Toxic ที่ไม่จำเป็นต้องแปะป้ายบนคนทั้งคน แต่ค่อยๆ มองเห็นข้อดีข้อเสียเป็นส่วนๆ เพราะการกันออกหรือเลิกคบอาจไม่ใช่ทางออกของการรับมือกับมนุษย์ Toxic เสมอไป |
Jun 17, 2022 |
RUOK252 ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่มีความสุขจริงหรือ?
17:27
หลายคนนิยามหรือวางเป้าหมายสูงสูดว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความสุข และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อเดินทางไปสู่ความต้องการนั้น แน่นอนว่าตัวความสุขเองมีทั้งผลดีต่อสุขภาพจิต แต่การกรอบชีวิตว่า ‘ต้อง’ มีเพียงความสุขกำลังขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์อยู่หรือเปล่า
R U OK ชวนทบทวน Mindset เรื่องความสุขกับการใช้ชีวิต ว่าการเฝ้ารอให้ชีวิตมีแต่ความสุขอาจเป็นไปได้ยากและเสี่ยงที่จะไม่สมหวัง เพราะในชีวิตจริงเราไม่สามารถหลีกหนีความทุกข์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เราสามารถพอใจชีวิตสุขๆ ทุกข์ๆ ที่เป็นอยู่ได้ตั้งแต่ตอนนี้ |
Jun 10, 2022 |
RUOK251 ชีวิตพลาดอะไรไปบ้างกับการพยายามหาทางที่ถูกต้อง
19:47
แม้ประโยคที่ว่า ‘ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมชาติ’ จะคุ้นเคยและท่องกันได้อย่างขึ้นใจ แต่เคยสังเกตกันไหมว่าเมื่อถึงคราวจริงๆ หลายต่อหลายครั้งคนเรามักรับความผิดพลาดไม่ได้ R U OK เอพิโสดนี้ ขุดลึกลงไปใต้คำว่า ‘ผิดพลาด’ ว่ามีอารมณ์และความคิดอะไรที่ซ่อนอยู่ จนคนพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ จนบางครั้งพลาดทักษะที่สำคัญในชีวิต รวมถึงถ้าจะต้องลงมือเลือกอะไรสักอย่าง เราจะมีหลักที่ถูกต้องของตัวเองอย่างไร เพราะคำว่า ‘ถูกต้อง’ ของแต่ละคนไม่มีทางเหมือนกันได้อย่างสมบูรณ์ |
Jun 06, 2022 |
RUOK250 หาแรงผลักดันชีวิตใหม่ ด้วยการหยุดพฤติกรรมทำลายตนเอง
20:13
คนเรามีแรงผลักในการดำรงชีวิตหลายอย่าง แต่บางทีเราก็มักจะเคยชินที่จะเอาตัวเองไปจุ่มอยู่ในบ่อความเครียด แล้วผันให้เป็นแรงกดดันให้ตัวเองเดินทางไปถึงเป้าหมาย ซึ่งบางครั้งก็สำเร็จจริงๆ เพียงแต่อาจต้องแลกมาด้วยสุขภาพจิตที่เสียไปอย่างไม่รู้ตัว R U OK ชวนทบทวน Mindset ในการเปลี่ยนความกดดันให้เป็นพลัง แน่นอนว่าเป็นวิธีที่ได้ผล แต่เรามีขุมพลังที่ใช้เป็นแรงผลักตั้งมากมายโดยไม่ต้องทำร้ายตัวเอง เพราะเมื่อเครียดก็จัดการความเครียด กดดันก็จัดการกับความกดดันโดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นพลังใดๆ เลยก็ได้ |
Jun 03, 2022 |
RUOK249 ลงแรงทำอะไรเต็มที่ อย่าลืมคำนวณความรู้สึกเป็นต้นทุน
19:06
ใครหลายคนโตมากับความเชื่อที่ว่า ‘ทำอะไรต้องทำให้ถึงที่สุด’ เพราะจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง แต่ในขณะเดียวกันศักยภาพของมนุษย์นั้น ‘สูง’ และ ‘ไปไกล’ มากกว่าที่คาดคิด การพยายามตะบี้ตะบันลงแรงกายแรงใจจนเบียดเบียนตัวเองก็อาจส่งผลเสีย R U OK ชวนสำรวจ Mindset ว่าภายใต้การทำอะไรให้ถึงที่สุด อาจมีสิ่งที่เรียกว่า The Fear of Regret ซ่อนอยู่ การเผชิญหน้ากับความเสียดายอาจเจ็บปวดรวดร้าว แต่นั่นคือประตูบานแรกที่จะทำให้เรารู้จักตัวเอง รู้จักอีกหลายอารมณ์ของความเป็นมนุษย์ และเมื่อถึงเวลานั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องวิ่งหนีความเสียดายอีกก็ได้ |
May 30, 2022 |
RUOK248 อกหัก Move on ต่อไม่ไหว ทำอะไรได้อีกบ้าง
18:48
ถึงคราวที่อกหัก ไม่สมหวัง อาจมีเสียงรอบข้างที่บอกว่า “ถึงเวลาที่เราควร Move on ได้แล้ว” ด้วยความห่วงใยและไม่อยากให้เราอยู่ในความเสียใจนาน แต่พอมองย้อนกลับมาที่ตัวเองกลับพบว่าเราไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนเพื่อให้ตัวเองดีขึ้น
R U OK ชวนสำรวจว่า ‘การ Move on’ จำเป็นแค่ไหนในเวลาที่เราต้องรับมือกับความผิดหวัง เป็นไปได้ไหมที่ปรารถนาจะอยู่ในห้วงเวลาความทุกข์ได้นานตราบเท่าที่พอใจ ความทนทานในความทุกข์สร้างทักษะให้เราได้อย่างไร และเมื่อถึงเวลาที่ยืนไหวเราจะกลายเป็นคนใหม่แบบที่ต้องการจะเป็น |
May 23, 2022 |
RUOK247 เอาชนะตัวเองไปทำไม ในเมื่อคนที่แพ้ก็คือตัวเราเอง
17:28
หลายคนน่าจะเคยได้ยินวลี ‘ไม่ต้องไปแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองก็พอ’ ดูเผินๆ น่าจะเป็นชุดความคิดและให้กำลังใจตัวเองได้ฮึดสู้ต่อ แต่ไม่นานมานี้มีวลีในโซเชียลมีเดียที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ‘เอาชนะตัวเองไปทำไม ในเมื่อคนที่แพ้ก็คือตัวเอง’ ซึ่งก็น่าสนใจเพราะเป็นชุดความคิดอีกด้านที่ตั้งคำถามกับการเอาชนะตัวเอง R U OK ซีรีส์ Mindset เลยหยิบวลีดังกล่าวมาทบทวนอีกครั้งว่า สถานการณ์แบบไหนที่เราต้องเอาชนะตัวเอง มีสถานการณ์ไหนที่เหมาะแก่การยอมแพ้หรือศิโรราบต่อสถานการณ์ที่มันเกิดขึ้น รวมถึงตั้งคำถามว่าชีวิตเราต้องดีขึ้นทุกวันจริงหรือเปล่า? |
May 20, 2022 |
RUOK246 ผิดไหมที่ไม่มี Growth Mindset แบบที่องค์กรเรียกร้อง?
19:55
Growth Mindset หนึ่งในคำที่ได้ยินหนาหูในช่วงที่องค์กรกำลังต้องการความเปลี่ยนแปลง จนหลายคนเริ่มมีคำถามในใจว่า เราจำเป็นจะต้องมีชุดความคิดนี้อย่างเดียวจริงๆ หรือเปล่า และเพราะอะไรองค์กรถึงเรียกร้องให้พนักงานมีสิ่งนี้ R U OK กับ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ชวนสำรวจ ‘Mindset’ หรือ ‘ชุดความคิด’ ที่เชื่อว่าต้องคิดแบบนี้ ถึงจะ ‘ดี’ และ ‘ใช่’ เริ่มด้วยประโยชน์ Growth Mindset ที่จะทำให้เราผ่านวิกฤตในช่วงเวลายากลำบาก, ข้อดีของ Fixed Mindset ที่เป็นขั้วตรงข้าม และที่สำคัญคือการกลับมาถามตัวเองว่า แต่ละสถานการณ์ควรใช้ Mindset ไหนถึงจะดีต่อการแก้ปัญหาและความรู้สึกของตัวเราเอง |
May 16, 2022 |
R U OK MEDLEY #17 เพิ่มพลังใจให้มนุษย์ออฟฟิศ
01:39:59
ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนโควิดที่ต้องทำงานในออฟฟิศ หรือในช่วงโควิดที่ต้อง Work From Home มนุษย์ออฟฟิศหลายต่อหลายคนเหน็ดเหนื่อยกับปริมาณงานที่ถาโถมเข้ามาจนหมดแรงกายแรงใจ
R U OK พอดแคสต์อยากชวนให้ลองเช็กตัวเองกันอีกสักรอบว่าไหวกันอยู่ไหม หรือพอจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เราอยู่ไหว และกลับไปทำงานด้วยใจที่มั่นคงอีกครั้ง
00:00 อยากตะโกนออกมาว่า ‘งานหนักเกินไปแล้ว’ จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง | R U OK EP.184 18:37 เวิร์กโหลด งานงอก ควรพอหรือไปต่อดี? | R U OK EP.180 40:37 ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงไหม? แล้วถ้าผลงานออกมาไม่ดีเราจะยังมีคุณค่าหรือเปล่า? | R U OK EP.178 59:42 งานที่เหมาะกับเราคือแบบไหนกันแน่? ท้าทายความสามารถ แต่บางครั้งก็ยากเกินไป | R U OK EP.177 01:24:27 ปรับความคิดได้ไหมถ้าต้องทำงานที่ไม่รัก? | R U OK EP.179 |
Jan 26, 2022 |
RUOK MEDLEY #16 ไม่มีความสุข แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร ควรไปต่ออย่างไรดี?
01:46:30
ชีวิตที่มีความสุขคือสิ่งที่ใครหลายคนปรารถนา บางคนถึงกับตั้งเป้าหมายว่าต้องการมีความสุขกับทุกๆ เรื่องในชีวิต แต่เมื่อใช้ชีวิตไป กลับพบความจริงว่าเราแทบไม่มีความสุขเลย หรืออย่างมากก็สุขและทุกข์ผสมปนเปกันไปหมด
R U OK อยากชวนกลับมาทบทวนผ่านเมดเลย์ชุดนี้ว่า แท้จริงแล้ว ‘ความสุข’ ใช่เป้าหมายที่สูงที่สุดของการมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ และหากไม่ใช่ เราจะใช้ชีวิตที่สุขๆ ทุกข์ๆ สลับกันไปมานี้อย่างไรดี
00:00 ช่วงนี้เรามีความสุขอยู่ไหม? สำรวจ แก้ไข และเข้าใจความต้องการของตัวเอง 16:15 เหลือแค่ร่าง แต่ข้างในตายไปหมดแล้ว ทำอย่างไร? 47:24 อยากตะโกนออกมาว่า ‘งานหนักเกินไปแล้ว’ จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง 01:06:01 นอกจากเรื่องงาน เรา Burnout เรื่องอื่นได้ไหม สังเกตอย่างไรก่อนข้างในจะไหม้จนไม่เหลือ 01:25:44 เฉยๆ ชาๆ อาจไม่ใช่การเบื่อหน่าย แต่กลายเป็นภาวะสิ้นยินดีที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ |
Jan 21, 2022 |
RUOK MEDLEY #15 เช็กอาการทางใจ เข้าข่ายโรคทางจิตเวชหรือเปล่า?
02:20:49
โรคซึมเศร้าอาจเป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย แต่ความจริงแล้วยังมีโรคทางจิตเวชสำคัญๆ อีกมากที่ควรรู้จัก และต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อสุขภาพจิตที่แข็งแรง R U OK Medley นี้ไม่ได้มาฟันธงว่าใครเป็นโรคอะไร แต่ชวนฟังอาการของโรคต่างๆ ทั้งโรคเครียด, โรค PTSD, โรคจิตเภท, โรควิตกกังวล ฯลฯ เผื่อถ้ามีอาการไหนเข้าข่าย หรือทุกข์ใจจนหาทางออกไม่ได้ จะได้นัดหมายจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เราหายจากอาการเหล่านี้ได้
Time Index 00:00 R U OK EP.222 มีหลายคนในร่างเดียว จำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป รู้จักกับโรคหลายอัตลักษณ์ (DID) 23:59 R U OK EP.213 ความกระทบกระเทือนทางใจหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง Post-Traumatic Stress Disorder 46:20 R U OK EP.211 ทำไมถึงเครียดมากกว่าที่ควรจะเป็น มารู้จัก Adjustment Disorder 01:07:29 R U OK EP.210 ขึ้นๆ ลงๆ อารมณ์รุนแรง ทำความรู้จัก Borderline Personality Disorder 01:29:33 R U OK EP.209 เข้าใจโรคจิตเภทที่หลายคนบอกว่า ‘บ้า’ แท้จริงคือโรคทางสมอง 01:53:06 R U OK EP.208 หยุดความคิดไม่ได้ คิดวนแค่ไหนถึงเรียกว่าโรควิตกกังวล |
Dec 20, 2021 |
RUOK MEDLEY #14 ทำไมเราควรอนุญาตให้ตัวเองอ่อนแอ
01:46:32
แม้จะได้ชื่อว่าเข้มแข็งแค่ไหน แต่ทุกคนน่าจะมีช่วงเวลาที่อ่อนแอ รู้สึกว่าเรื่องราวต่างๆ ถาโถมเข้ามาเกินกว่าจะรับไหว หลายคนรีบปัดความรู้สึกนี้ทิ้ง หรือรีบบอกตัวเองว่าเรา ‘ต้อง’ ไม่อ่อนแอ เพราะขัดกับคุณสมบัติที่ดี แต่รู้ไหมว่าเรากำลังพลาดโอกาสสำคัญในการรู้จักตัวเองในอีกแง่มุมหนึ่ง เรากำลังติดกับดักความคิดที่ว่า อ่อนแอ=ไม่ดี ซึ่งอาจไม่จริงเสมอไป R U OK ชวนรู้จักตัวเองผ่านมิติของความอ่อนแอ ว่าแท้จริงแล้วทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไป และเราเองก็แกร่งกว่าที่คิด
Time Index 00:00 Intro 02:05 5 ขั้นตอนทางจิตวิทยาของการอกหัก และถ้าเศร้าหนักเกินเยียวยาไปหาจิตแพทย์ได้ไหม | R U OK EP.13 34:34 แคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไปเกิดจากอะไร และจะทำอย่างไรจะลดความกังวลเรื่องคนรอบข้าง | R U OK EP.40 50:05 เบื้องหลังของความรู้สึกน้อยใจคืออะไร และทำไมเราถึงไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา | R U OK EP.55 01:10:11 บางครั้งครอบครัวคือที่มาของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการควรทำอย่างไร | R U OK EP.65 01:28:00 ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต แต่ควรเปลี่ยนวิธีคิดก่อนจะกลายเป็นกับดัก | R U OK EP.79 |
Nov 13, 2021 |
RUOK MEDLEY #13 รวมวิธีการสื่อสารให้เป็น
02:25:42
การสื่อสารคือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน เพราะไม่เพียงเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น แต่เรายังสื่อสารกันผ่านน้ำเสียงและภาษากายซึ่งมีผลต่ออีกฝ่าย การสื่อสารจึงเป็นได้ทั้งกาวใจและเป็นได้ทั้งอาวุธ เพื่อให้เราใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ R U OK รวมเอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องการพูด การฟัง น้ำเสียง และภาษากาย ผ่านสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้สิ่งที่อยู่ในใจถูกถ่ายทอดออกมาอย่างตรงความต้องการ ผู้รับสารก็สามารถมองเห็นสิ่งที่ผู้สื่อสารต้องการ แม้จะไม่ได้พูดออกมาอีกด้วย
Time Index 00:00 โน้มน้าวใจคนฟังด้วยน้ำเสียง 8 แบบ | R U OK EP.25 23:31 สื่อสารอย่างเห็นใจคนตรงหน้า ว่าเขาแบกความรู้สึกอะไรมา และยอมรับซึ่งกันและกัน | R U OK EP.96 43:12 เปิดหู เปิดใจ ทะเลาะกันอย่างไรให้เข้าใจกันมากขึ้น | R U OK EP.119 58:17 Deep Listening ทักษะการฟังเสียงในใจที่ลูกไม่ได้พูดออกมา | R U OK EP.150 01:17:34 ฮึกเหิม สร้างพลังใจ บอกข่าวร้าย การสื่อสารที่ออกแบบได้ในยามเปราะบาง | R U OK EP.161 01:55:30 เทคนิคกั้นรั้วเพื่อรักษาใจให้ยังไหวในภาวะวิกฤต | R U OK EP.238 |
Oct 30, 2021 |
RUOK MEDLEY #12 หนทางสู่การรักตัวเอง
01:54:18
รักตัวเอง คือพื้นฐานของการมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นการเท่าทันอารมณ์ของตนเอง และเป็นฐานอันมั่นคงในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามา แต่เมื่อพูดถึงการรักตัวเองแล้วก็อาจดูนามธรรมจนจับต้องไม่ได้ และไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร R U OK Medley รวบรวมวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ค่อยๆ ได้กลับมารักตัวเอง ทั้งการหาเวลาพูดคุยกับตัวเอง ประยุกต์เข้ากับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เราได้ตระหนักและกลับมาเห็นคุณค่าคนที่เราควรใจรักและใส่ใจมากที่สุด
Time Index 00:00 “รักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” คือเรื่องจริงไหม และเติมเต็มตัวเองอย่างไรให้ใจมีความสุข | R U OK EP.44 19:27 ฝึกยอมรับและเมตตาต่อตนเองอย่างไร ให้ผ่านวันที่แย่ๆ | R U OK EP.91 35:59 Self-Esteem ไม่ใช่เพียงความมั่นใจ แต่คือการเห็นคุณค่าในตัวเองที่มนุษย์ทุกคนควรมี | R U OK EP.92 53:19 จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต | R U OK EP.93 01:10:42 ขั้นตอนการเป็นเพื่อนแท้กับตัวเอง | R U OK EP.115 01:27:38 ทำกิจวัตรประจำวันเรียบง่ายให้กลายเป็นเรื่อง Self-Care | R U OK EP.231 |
Oct 23, 2021 |
RUOK MEDLEY #11 อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้าอย่างเข้าใจ
02:02:07
แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางใจที่ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่เข้าใจในสังคมวงกว้างมากขึ้น แต่หากใครไม่ได้ประสบพบเจอโรคนี้ด้วยตัวเอง อาจนึกไม่ออกว่าความรู้สึกดิ่ง ไร้ค่า รวมถึงความคิดทำร้ายตัวเองจะเกิดขึ้นกับเราได้จริงๆ R U OK พอดแคสต์ จึงขอรวมเอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องโรคซึมเศร้า เพื่อเป็นแนวทางให้สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีโรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา จะมีแนวความคิดและวิธีการปฏิบัติอย่างไร เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เราก็สามารถดีขึ้นได้หรืออยู่ร่วมกับโรคนี้ได้อย่างเข้าใจ
Time Index 00:00 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่ชวนทำความเข้าใจ | R U OK EP.109 29:47 ไปเจอจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำตัวอย่างไร | R U OK EP.111 51:56 ดูแลกายและใจอย่างไร เมื่อถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า | R U OK EP.112 01:10:10 โรคซึมเศร้าไม่ได้แค่เศร้า เพราะแต่ละวัยก็มีการแสดงออกที่ต่างกัน | R U OK EP.108 01:25:22 เมื่อวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้า จะสื่อสารอย่างไรให้คนรอบข้างเข้าใจ | R U OK EP.110 01:46:49 ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนพูดว่า อยากฆ่าตัวตาย | R U OK EP.113 |
Oct 16, 2021 |
RUOK MEDLEY #10 รับมือกับปัญหาด้วยความฉลาดทางอารมณ์
03:00:34
R U OK พอดแคสต์รวบรวม 6 เอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งเป็นทักษะที่เราสามารถฝึกกันได้ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงานแล้วก็ตาม เพราะความฉลาดทางอารมณ์ไม่ได้หมายถึงความเก่ง แต่คือการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและเข้าใจผูัอื่น รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์คือเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เรารับมือปัญหาได้มั่นคงมากยิ่งขึ้น
Time Index 00:00 EP.240 รวมวิธีระบายความเครียดที่ช่วยปลดปล่อยในพื้นที่ปลอดภัย 37:15 EP.238 เทคนิคกั้นรั้วเพื่อรักษาใจให้ยังไหวในภาวะวิกฤต 01:07:26 EP.233 วิธีรับมือกับภาวะเหงาเรื้อรัง ด้วยการกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง 01:31:53 EP.230 วิธีพูดกับตัวเองเมื่อสติแตก 02:01:15 EP.168 ลดการตัดสินในครอบครัว ด้วยการเท่าทันความรู้สึกของตัวเอง 02:30:05 EP.164 จะทำอย่างไรให้คนในครอบครัวมี Emotional Intelligence |
Oct 09, 2021 |
MIND06 แบบฝึกหัดบริหารใจ ตอน วิธีค้นหาจุดแข็งของตัวเอง
20:43
เอพิโสดสุดท้ายในซีซันแรกของ Mind Exercise แบบฝึกหัดบริหารใจ ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดแข็ง’
มนุษย์ทุกคนมีจุดแข็งเป็นของตัวเอง ไม่เพียงเฉพาะศักยภาพในการทำงาน แต่รวมถึงการใช้ชีวิตในมิติอื่นๆ แต่เรามักไม่รู้ว่าจุดแข็งหรือสิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นสาระสำคัญของชีวิตนั้นคืออะไร แบบฝึกหัดบริหารใจชุดนี้จึงเป็นการทำงานกับตัวเอง เพื่อค้นพบว่าเราใช้ทักษะอะไรในการผ่านความยากลำบาก เหตุการณ์ไหนที่จะเพิ่มพูนและลดทอนจุดแข็งของเรา เพื่อนำไปสู่การเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง |
Sep 07, 2021 |
MIND05 แบบฝึกหัดบริหารใจ ตอน เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้รู้ว่าเราคือใคร เดินต่อไปทางไหนดี
28:34
เราคือใคร ต้องการอะไร และควรเดินต่อไปทางไหน?
คำถามที่ใครหลายคนเฝ้าถามตัวเองเพราะไม่แน่ใจว่าทางที่มุ่งไปนั้นใช่ทางที่ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของตัวเองหรือเปล่า วิธีหนึ่งที่จะทำให้เห็นตัวเองชัดขึ้น คือการทำงานกับเหตุการณ์ในวัยเด็ก ช่วงวัยที่มีความสุข กล้าตั้งคำถาม และรู้สึกมั่นคง ค่อยๆ ให้เวลาตัวเองออกกำลังใจ หรือทำตามคลิป Mind Exercise เอพิโสดนี้ อาจทำให้ความรู้สึกเคว้งหรือไม่รู้ทิศทางเบาบางลง |
Aug 30, 2021 |
RUOK245 เหลือแค่ร่าง แต่ข้างในตายไปหมดแล้ว ทำอย่างไร?
31:33
เอพิโสดสุดท้ายของ R U OK ซีรีส์ชูใจ เชื่อว่าบางคนที่ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าร่างกายกับความรู้สึกข้างในไม่เชื่อมโยงกัน ข้างนอกคือกายหยาบที่ดำเนินไป แต่ข้างในกลับเย็นเยียบ มอดไหม้ หรือปราศจากความรู้สึกใดๆ หรือที่เรียกว่า ‘Dead Inside’ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราปะทะกับเรื่องที่รุนแรงทางความรู้สึก แม้ทางแก้ไขก็อาจไม่ง่ายและต้องใช้เวลา แต่ตระหนักว่าตัวเองกำลังประสบกับอะไร มองเห็นความงดงามในสายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ อาจช่วยให้เราค่อยๆ ผ่านภาวะนี้ไปได้ |
Aug 26, 2021 |
MIND04 แบบฝึกหัดบริหารใจ ตอน เช็กอารมณ์ตัวเอง ตอนนี้เรากำลังรู้สึกอะไรกันแน่
21:12
ถ้าตอนนี้คุณไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังรู้สึกอะไรกันแน่ มึนๆ อวลๆ อยู่ในหัว เราขอชวนคุณมาอยู่กับคลิปนี้สักครู่ เพื่อทบทวนว่าจริงๆ แล้วกำลังรู้สึกอะไรกันแน่ เพราะการเรียกชื่ออารมณ์ให้ถูกต้อง เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดการอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างถูกวิธี ว่าแล้วก็หาเวลา สถานที่ อุปกรณ์การเขียนอีกนิดหน่อย แล้วเปิดคลิปนี้ได้เลย |
Aug 24, 2021 |
RUOK244 เดี๋ยวเครียด เดี๋ยวท้อ ชวนมาเช็กอินอารมณ์ตัวเองก่อนจะเหนื่อยล้าเกินไป
32:57
ในฐานะมนุษย์หนึ่งคน ช่วงเวลาแบบนี้เราต้องสลับอารมณ์ไปตามเรื่องต่างๆ เดี๋ยวเหนื่อยกับเรื่องงาน เดี๋ยวเครียดกับโรคระบาด เดี๋ยวก็เศร้ากับความสูญเสีย ซึ่งการสวิตช์อารมณ์ไปมาแบบนี้อาจนำพาไปสู่ความเหนื่อยล้าแบบไม่รู้ตัว R U OK ชูใจ ชวนอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาสั้นๆ ลองเช็กอินอารมณ์ตัวเองว่าขณะนี้เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ เพราะการเท่าทันโลกภายในอาจนำมาซึ่งความมั่นคงทางอารมณ์และทำให้เราแข็งแรงพร้อมรับเรื่องราวต่างๆ |
Aug 20, 2021 |
MIND03 แบบฝึกหัดบริหารใจ ตอน ค้นลึกลงไปในใจ อะไรทำให้ดิ่ง
33:59
ดิ่ง คือ ภาวะที่รู้สึกเหมือนมีก้อนหนักๆ อยู่ในตัว คอยถ่วงให้เราลุกไม่ไหว อ่อนล้า และหมดแรง ซึ่งเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่ถ้าปล่อยให้ความรู้สึกนี้อยู่กับตัวเรานานๆ ก็อาจเป็นต้นกำเนิดให้เกิดโรคทางใจตามมา
Mind Exercise เอพิโสดนี้จึงชวนให้ทุกคนใช้เวลาอยู่กับตัวเอง พิจารณาว่าอะไรที่ทำให้เราดิ่งได้บ้าง ทั้งเสียงพูด พฤติกรรม หรือแม้แต่สัมผัสของใครบางคน ก็อาจนำความรู้สึกดิ่งมาให้ และเมื่อรู้ต้นเหตุแล้วก็จะนำไปสู่การจัดการได้อย่างรู้เท่าทัน |
Aug 17, 2021 |
RUOK243 ผิดไหมที่โตแล้ว ยังตอบไม่ได้ว่าชอบทำงานอะไร
28:02
ในช่วงเวลาที่หลายคนถูกบังคับให้ออกจากงาน บางคนเปลี่ยนงานในภาวะวิกฤต เลยอาจเกิดคำถามกับตัวเองว่า งานที่เรารัก สิ่งที่เราชอบคืออะไร หลายคนอาจพบคำตอบแค่ลางๆ แต่อีกหลายคนกลับรู้สึกว่า เราก็โตประมาณหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่รู้จักตัวเองเลยว่าชอบทำงานอะไร R U OK ชูใจ เลยชวนสำรวจว่า การไม่รู้ตัวเองว่าชอบอะไรนั้นผิดไหม และงานที่เราทำต้องเป็นสิ่งที่รักเสมอไปหรือเปล่า |
Aug 13, 2021 |
MIND02 แบบฝึกหัดบริหารใจ ตอน ตารางจัดการความเครียด ออกแบบทางออกให้ตัวเอง
20:16
ความเครียดที่เราเผชิญมีทั้งเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ มีทั้งที่จัดการได้ และไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นก่อนที่ความเครียดจะรวมเป็นก้อนใหญ่ Mind Exercise แบบฝึกหัดบริหารใจ ดูไปทำไป เอพิโสดนี้เลยขอชวนย่อยความคิดเป็นก้อนเล็กๆ แล้วค่อยๆ ดูว่าแต่ละเรื่องสามารถหาทางออกให้มันอย่างไรได้บ้าง เพื่อดึงอำนาจคืนกลับมา และทำให้เห็นว่าทุกปัญหาที่เหมือนจะหนัก ถ้าเราค่อยๆ จัดการจะมีทางออกรออยู่เสมอ |
Aug 10, 2021 |
RUOK242 ดูแลความโกรธให้ถูกวิธี เพราะการขังความเดือดไว้อาจส่งผลร้ายกว่าที่คิด
29:51
ช่วงนี้อาจสัมผัสได้ว่ารอบตัวเต็มไปด้วยมวลของความโกรธ และ ความโมโห ด้านหนึ่งเราอาจรีบตัดสินตัวเองทันทีว่า ‘อย่าโกรธ’ เพราะเชื่อว่าความโกรธคือสิ่งไม่ดี แต่อีกด้านหนึ่งอาจรู้สึกว่ามัน ‘เมกเซนส์’ แล้วที่เมื่อถูกกระทำแบบนี้เราจึงมีความโกรธตอบสนอง R U OK ชูใจ เอพิโสดนี้จะค่อยๆ ชวนให้ทุกคนลองอนุญาตให้ตัวเอง โกรธ และ โมโห ดู เพราะทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นล้วนสมเหตุสมผลและมีที่มาที่ไป แต่จะดูแลอารมณ์เหล่านี้เมื่อมันเกิดขึ้นให้ถูกวิธีอย่างไรต่างหาก ที่เป็นหนทางนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี |
Aug 06, 2021 |
MIND01 แบบฝึกหัดบริหารใจ ตอน ค้นหาต้นตอความเครียด
29:21
หากคุณรู้ตัวว่ากำลังเครียด R U OK และ Empathy Sauce ขอเสนอ Mind Exercise แบบฝึกหัดออกกำลังใจ เพื่อนำไปสู่การเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง เริ่มที่เอพิโสดแรกเรื่อง ความเครียด
เพราะความเครียดที่ถาโถมเข้ามาหาเราตอนนี้มาจากทุกทิศทุกทาง ถ้าเราไม่มองเห็นที่มา มวลความเครียดอาจรวมตัวเป็นก้อนใหญ่และยากที่จะจัดการ Mind Exercise ชวนคุณให้ทำงานกับใจตัวเอง ค่อยๆ เข้าใกล้ความเครียด ทำให้เห็นว่าความเครียดมีทั้งเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ จัดการได้ จัดการไม่ได้ ซึ่งแค่มองเห็น ความเครียดก็อาจเบาบางลง และนำไปสู่ขั้นตอนการวางแผนจัดการได้ในที่สุด |
Jul 30, 2021 |
RUOK241 เจอปมในชีวิตแล้วต้องแก้ไหม? หรือควรทำอย่างไรต่อ?
29:18
เราแทบทุกคน ล้วนมีปมในใจ ปมที่ว่าอาจเกิดจากเหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เราเจ็บปวด ติดขัด และมีผลจนถึงปัจจุบัน บางปมเรามองไม่เห็น แต่บางปมก็เด่นชัดจนรู้สึกว่าถ้าเราเข้าไปจัดการอะไรบางอย่าง โดยคาดหวังว่าจะทำให้ชีวิตในวันข้างหน้า ติดขัดน้อยลง R U OK ชูใจ ชวนทำความเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว ปม คืออะไร และจำเป็นไหมว่าถ้าเราอยากจะพบคำตอบและคลี่คลาย เราต้องแก้ปมทุกปมในชีวิต |
Jul 29, 2021 |
RUOK240 ตะโกน ต่อยหมอน เต้น รวมวิธีระบายความเครียดที่ช่วยปลดปล่อยในพื้นที่ปลอดภัย
37:15
แม้ว่าความเครียดจะไม่ใช่ผู้ร้าย และเราสามารถรู้จักตัวเองผ่านความเครียดได้ แต่การปล่อยให้ความเครียดขังอยู่โดยที่ไม่จัดการ อาจสร้างผลกระทบตามมาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีที่ปล่อยที่ปลอดภัยให้กับความเครียดที่แวะมาหาบ่อยๆ ในช่วงนี้
R U OK ชูใจ รวมฮิตวิธีระบายความเครียดที่บางครั้งเรามีมุมมองต่อมันว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่นการ ด่า, บ่น, เต้น, ตะโกน, ระบายสี, ต่อยหมอน แต่เมื่อเราหาพื้นที่และช่วงเวลาปลอดภัยให้กิจกรรมเหล่านี้ มันกลับช่วยให้ความหนักอึ้งในจิตใจได้ถูกปลดปล่อยออกมา และทำให้พอมีแรงจัดการปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาได้มั่นคงมากขึ้น |
Jul 22, 2021 |
RUOK MEDLEY #9 โกรธง่าย ปรี๊ดไว ควบคุมสติกับโลกยุคใหม่ ที่ทำอะไรก็โมโห!
02:07:47
เมดเลย์ 5 ตอนจากพอดแคสต์ R U OK ว่าด้วย วิธีควบคุมสติ ทำอย่างไร ให้รู้สึกโอเคกับการอยู่ในสภาวะการณ์ในปัจจุบันที่อะไรหลาย ๆ อย่างในชีวิต เร้าอารมณ์ให้โกรธ โมโห ไม่ชอบใจอยู่ตลอดเวลา
Time Index 00:00 โกรธ เครียด ผิดหวัง 00:36:10 เกลียดตัวเอง 01:01:06 ใจเย็น 01:16:22 การใช้อารมณ์ และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ 01:42:36 รวมคำให้กำลังใจ |
Jul 17, 2021 |
RUOK239 ทำความรู้จักแพสชันที่เกิดขึ้นจากภายในและสร้างได้จากภายนอก
31:37
แพสชัน ดูเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ในช่วงเวลาที่เครียด และหดหู่แบบนี้หลายคนอาจรู้สึกว่าแพสชันในการผลักให้ไปทำสิ่งต่างๆ ดูหดหาย จนไม่อยากจะทำอะไร R U OK ชูใจ ชวนทำความรู้จักแพสชันที่สามารถเกิดขึ้นได้จากภายใน และสร้างได้จากภายนอก พร้อมกับตั้งคำถามว่าในการใช้ชีวิตนั้น แท้จริงแล้วต้องใช้แพสชันเป็นแรงขับเคลื่อนเสมอไปหรือไม่ เพราะก็มีอีกหลายครั้งที่เราใช้เหตุและผลในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในสภาวะที่ต้องเอาตัวรอดแบบนี้ |
Jul 15, 2021 |
SELF09 ป๋าเต็ด สร้างวิธีการจำในรูปแบบของตัวเอง
42:24
ความจำที่ดี ดูเป็นคุณสมบัติที่ใครหลายคนต้องการ เพราะมันทำให้เราเอาตัวรอดตั้งแต่การเรียนหนังสือ การทำงานที่ต้องติดต่อสื่อสารกับคนต่างๆ รวมทั้งในแง่มุมความสัมพันธ์ที่แสดงถึงความใส่ใจและความเป็นมืออาชีพ ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม เล่าให้ R U OK Self-Work ฟังว่า ระยะหลังความจำที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่สามารถบรรจุลงไปในถุงความจำ ตั้งแต่ชื่อคน วันสำคัญ หรือแม้กระทั่งดูหนังจบเรื่องหนึ่งก็สามารถดูซ้ำได้ทันทีเพราะจำรายละเอียดไม่ได้ R U OK Self-Work จึงชวนป๋าเต็ดทำงานกับตัวเอง เรื่องการบรรจุความจำ และวิธีการสร้างความจำได้ในรูปแบบของตัวเอง |
Jul 12, 2021 |
RUOK238 เทคนิคกั้นรั้วเพื่อรักษาใจให้ยังไหวในภาวะวิกฤต
30:11
ในช่วงที่ทุกอย่างถาโถมมาแบบไม่ให้เราตั้งตัว ทั้งกระแสความเปลี่ยนแปลง ข่าวสารและความเห็นจากโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่ภาระงาน ก็ล้วนแล้วแต่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตใจได้รับแรงกระแทกไม่มากก็น้อย
แม้ว่าการตามข่าวจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การรักษาใจให้อยู่ไหว ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน R U OK ชูใจ ขอเสนอวิธีป้องกันจิตใจ ด้วยการกั้นรัวเรื่องต่างๆ ให้รับรู้ แต่ไม่ทะลุมาถึงตัว แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่การฝึกเทคนิคนี้อาจทำให้ใจเราไปต่อได้ ในกระแสอันเชี่ยวกรากนี้ |
Jul 08, 2021 |
SELF08 แหม่ม วีรพร กลัวการใช้ Zoom เพราะไม่เชื่อว่าคนในจอมีอยู่จริง
37:14
R U OK Self-Work ชวนสำรวจตัวตนอีกครั้ง เพื่อหาสาเหตุของความกลัวที่เกิดขึ้น เมื่อเรากลัวอะไรบางอย่าง เช่นเดียวกับ แหม่ม-วีรพร นิติประภา ที่มีปัญหาทุกครั้งกับการใช้แอปพลิเคชัน Zoom Meeting ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของ New Normal หลังจากที่โควิด-19 ทำให้หลายๆ คนต้องใช้ Zoom ในการติดต่อสื่อสาร
หากคุณรู้สึกกลัวการใช้เทคโนโลยี หรือไม่สบายใจที่จะเห็นตัวเองในจอ ก็สามารถสำรวจตัวตนไปด้วยกันอีกครั้ง เผื่อจะได้ค้นพบสาเหตุของความกลัวที่แท้จริง |
Jul 05, 2021 |
RUOK237 เรียนไม่เก่ง งานไม่มั่นคง ไม่รวย ทำไมเราไม่ประสบความสำเร็จเหมือนคนอื่น
29:31
ในยุคที่ความล้มเหลวเดินทางมาหาเราบ่อยขึ้น แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาด้านโครงสร้าง แต่เมื่อความรู้สึก ‘ไม่ประสบความสำเร็จ’ เกิดขึ้น ความคิดที่มีต่อตัวเองหลายอย่างก็ตามมา ทำไมเราห่วย? เราไม่เก่ง? และไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเหมือนคนอื่นๆ? จนเริ่มสงสัยในคุณค่าของตัวเอง R U OK ชูใจ ชวนตั้งคำถามกับ ‘ความสำเร็จ’ ตามกระแสหลักของสังคม พร้อมชวนมอง ‘คุณค่า’ ที่สังคมกำหนดให้ตัวเรา ว่าจริงๆ แล้วมันคือคุณค่าที่แท้จริงของตัวเราหรือเปล่า เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนเจ๋ง และมีที่ยืนของตัวเองเสมอ |
Jul 02, 2021 |
SELF07 บอย Lomosonic เพราะเป็น Perfectionist จึงเจ็บปวด
36:36
ความสมบูรณ์เแบบเป็นสิ่งที่มนุษย์หลายคนปรารถนา แต่หลายครั้งที่ความสมบูรณ์พร้อมเลยเส้นเป็นความ Perfectionist ที่ไม่อนุญาตให้ตัวเองผิดพลาด R U OK Self-Work ชวน บอย Lomosonic ทำกระบวนการการเข้าใจตัวเอง ที่รู้สึกคล้ายๆ แตกสลาย และเจ็บปวดทุกครั้งที่สิ่งที่ทำไม่ใกล้เคียงภาพที่ตั้งใจเอาไว้ จนเกิดเป็นความรู้สึกที่กดดันตัวเอง ไม่ใช่เพื่อการแก้ไข แต่เพื่อมองให้เห็นอารมณ์ต่างๆ ที่แบกอยู่ขณะที่โหมด Perfectionist ทำงาน ซึ่งถึงเวลานั้นเราอาจยอมรับอารมณ์ ความคิด รวมถึงความผิดพลาดของตัวเองได้มากขึ้น |
Jun 29, 2021 |
RUOK236 ชีวิตช่วงนี้เหนื่อยยาก แต่ทำไมพักแล้วรู้สึกผิดกับตัวเอง
28:59
ในช่วงเวลาที่ต้องเอาตัวรอดจากความยากลำบาก หลายคนเข็นตัวเองให้ออกไปทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนเมื่อร่างกายและจิตใจเริ่มเรียกร้องให้หยุดพัก แต่กลายเป็นว่าพักแล้วกลับรู้สึกผิดกับตัวเองที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไป อยากให้เวลามีค่ากว่านี้
R U OK ชูใจ ขอเป็นแรงใจให้ทุกคนที่กำลังใช้ชีวิตและออกไปทำงานภายใต้แรงกดดัน แต่การไม่อนุญาตตัวเองได้มีเวลาพักผ่อนอาจไม่ยุติธรรมกับตัวเองเท่าไรนัก การพักผ่อนสำคัญอย่างไร เพื่อสุดท้ายเราจะได้พักและมีแรงกลับไปต่อสู้อีกครั้ง |
Jun 24, 2021 |
SLEF06 เบลล์ เขมิศรา ความกดดันของวัย 25 ที่รู้สึกตัวเองเก่งไม่พอ
41:15
R U OK Self-Work ชวนเบลล์ เขมิศรา พลเดช มาแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวจากการก้าวผ่านความรู้สึกไม่เก่งพอเมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน มาสู่จุดที่รู้สึกพอใจในความสามารถของตัวเอง เพื่อให้ทุกคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง สามารถนำวิธีจัดการความรู้สึกไปปรับใช้กับโลกภายในของตัวเองและเตรียมจิตใจให้พร้อมรับมือกับอุปสรรคใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิตอยู่เสมอ |
Jun 21, 2021 |
RUOK235 ปิดบ่อความกังวล จัดการความวิตกกังวลกับเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
31:08
สำหรับสายวิตกกังวล คงเข้าใจความรู้สึกดีว่า เมื่อความกังวลเริ่มก่อตัวขึ้นมักนำพาความคิดให้กระเจิดกระเจิง เห็นแต่เรื่องที่จัดการไม่ได้และมองเห็นว่าตัวเองไร้ประสิทธิภาพ และดูว่าไม่มีท่าจะหยุดความคิดนั้นได้ง่ายๆ R U OK ชูใจ ชวนสูดลมหายใจเข้าลึกๆ เข้าไปพิจารณาความวิตกกังวลใกล้ๆ ว่าแท้จริงแล้วเราสามารถเข้าใจและจัดการความคิด ความรู้สึกนี้ได้อย่างไรได้บ้าง |
Jun 18, 2021 |
SELF05 ฟ้า ษริกา รับมือกับคอมเมนต์ในโซเชียลมีเดียผ่านงานศิลปะ
32:05
R U OK Self-Work ชวน ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา ยูทูเบอร์ช่อง Fahsarika มาแชร์ประสบการณ์การรับมือกับคอมเมนต์ในโลกโซเชียลมีเดีย ที่มักจะมีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่แล้ว
เอพิโสดนี้จะพาไปสำรวจวิธีการจัดการอารมณ์ของตัวเองผ่านการวาดภาพ ที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการณ์อารมณ์ได้อย่างสมดุล |
Jun 14, 2021 |
RUOK234 Emotional Support เป็นที่พึ่งทางความรู้สึกให้คนใกล้ตัว แบบไม่ตัดสิน
30:21
บางทีที่เห็นคนที่เรารักกำลังทุกข์ อยากเข้าไปเป็นที่พึ่งทางใจ ประคับประคองให้เขาผ่านช่วงเวลายากๆ ไปได้ แต่ก็ไม่รู้วิธีการว่าทำแบบไหนถึงจะเวิร์ก R U OK ชูใจ เอพิโสดนี้ พูดคุยถึงการเป็นแนวทางในการเป็น Emotional Support ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร มีวิธีการใช้คำพูดแบบไหน คำพูด น้ำเสียง หรือท่าทีแบบไหนที่เป็นการตัดสิน เพื่อให้เราได้ดูแลใจกันอย่างถูกวิธีและไม่กลายเป็นการสร้างบาดแผลให้กัน |
Jun 10, 2021 |
SELF04 ปั๊บ โปเตโต้ สำรวจความกลัวที่อยู่ใต้นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
33:21
นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง และความขี้เกียจดูเป็นคุณสมบัติที่ไม่พึงปรารถนาของใครหลายคน
ปั๊บ โปเตโต้ แชร์ให้ R U OK Self-Work ฟังว่า เมื่อมีงานที่ต้องรับผิดชอบ เขามักจะใช้เวลาไปกับความสบายก่อนที่จะตัดสินใจลงมือทำ แต่ระหว่างนั้นก็แบกความรู้สึกผิดไปด้วย และเพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไป ปั๊บจึงหยิบประเด็นนี้มาคุยกับ R U OK Self-Work และมองมันใหม่อีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าวิถีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพียงเราเข้าใจในรูปแบบของตัวเองและทำมันออกมาสำเร็จก็อาจเพียงพอ |
Jun 07, 2021 |
RUOK233 วิธีรับมือกับภาวะเหงาเรื้อรัง ด้วยการกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง
24:26
ในช่วงเวลาที่ต้องกักตัวอยู่บ้านและลดการพบปะผู้คน อารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นคือความเหงา ซึ่งแม้ว่าจะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่หากปล่อยให้ความเหงาคอยกัดกินหัวใจต่อเนื่องยาวนาน ก็อาจส่งผลร้ายต่อตัวเรา
R U OK ชูใจ ชวนทำความรู้จักภาวะเหงาเรื้อรัง ที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า พร้อมทั้งวิธีการกลับมาเชื่อมโยงกับคนใกล้ตัว และโดยเฉพาะตัวเอง เพื่อให้ลองมี ‘คอนเน็กชัน’ ภายใน และไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป |
Jun 03, 2021 |
SELF03 แม็กซ์ เจนมานะ ในวันที่ต้องเลือก ระหว่างอารมณ์กับเหตุผล
31:50
หลายคนอาจจะเคยรู้สึกอึดอัด เมื่อผลการตัดสินใจของตัวเองขัดกันระหว่างอารมณ์กับเหตุผล เพราะบางครั้งการเลือกทำตามอารมณ์ก็ฟังดูไม่มีเหตุผล หรือถ้าเลือกทำตามเหตุผลก็มักจะไม่ถูกใจตัวเองเสมอไป
R U OK ชวนแม็กซ์ เจนมานะ มาแชร์ประสบการณ์การเลือกตัดสินใจ ระหว่างอารมณ์และเหตุผล และเราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อที่จะสามารถรู้เท่าทันเสียงในใจ โดยไม่ด่วนตัดสินว่า ‘สิ่งที่เลือก’ นั้นถูกต้องหรือไม่ |
May 31, 2021 |
RUOK MEDLEY#8 จิตวิทยาของความสัมพันธ์และวิทยาศาสตร์ของความรัก
01:49:17
เมดเลย์ 5 ตอนจากพอดแคสต์ R U OK ว่าด้วยความรักและความสัมพันธ์ ที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาได้อย่างน่าสนใจ
Time Index 00:00 จากตกหลุมรักจนถึงหมดโปรโมชัน เมื่อความรักอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ 24:14 ในมุมวิทยาศาสตร์ ร่างกายและจิตใจทำงานอย่างไรขณะมีเซ็กซ์ 40:19 5 ขั้นตอนทางจิตวิทยาของการอกหัก และถ้าเศร้าหนักเกินเยียวยาไปหาจิตแพทย์ได้ไหม 01:12:49 “รักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” คือเรื่องจริงไหม และเติมเต็มตัวเองอย่างไรให้ใจมีความสุข 01:32:16 มีคนมาชอบแล้วอึดอัด มีความรักแล้วประหม่า จะทำอย่างไรกับอาการกลัวความสัมพันธ์นี้ดี |
May 30, 2021 |
RUOK232 สัญญาณการฆ่าตัวตาย พูดถึงความตายแบบไหนที่ควรรับฟังกัน
25:19
ในช่วงเวลาที่ท้อแท้สิ้นหวัง เราอาจจับสังเกตได้ว่าหลายคนเหนื่อยต่อการมีชีวิต และอีกหลายคนที่ส่งเสียงเหมือนคล้ายๆ ว่าอยาก ‘พอ’ R U OK ชูใจ ชวนจับสัญญาณคนรอบตัวที่อาจเปรยถึง ‘ความตาย’ ว่าพูดถึงแบบไหนที่เข้าข่ายอันตราย และในฐานะคนใกล้ชิด สามารถช่วยเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางใจได้อย่างไรบ้าง |
May 27, 2021 |
SELF02 อ้อม สุนิสา เข้าใจความรู้สึก รักตัวเองจริงๆ เป็นอย่างไร
41:14
R U OK Self-Work ชวน อ้อม-สุนิสา สุขบุญสังข์ มาแชร์ประสบการณ์การค้นหาตัวเอง จากคนที่ไม่เคยเข้าใจความรู้สึกว่ารักตัวเองหน้าตาเป็นแบบไหน จนวันนี้เธอได้เดินทางมาเจอจุดที่เข้าใจว่ารักตัวเองจริงๆ เป็นอย่างไร
อะไรเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อ้อม สุนิสา หยิบเพลง ‘ฉันจะอยู่กับเธอ’ ของตัวเองกลับมาตีความใหม่อีกครั้ง และมอบเพลงนี้ให้กับ ‘ตัวเอง’ เพื่อนที่ดีที่สุดที่อยู่กับเธอมาทุกสภาวะของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต |
May 23, 2021 |
RUOK231 ทำกิจวัตรประจำวันเรียบง่ายให้กลายเป็นเรื่อง Self-Care
26:39
พูดถึงการดูแลตัวเอง หลายคนอาจมีภาพของการกินอาหารหรูๆ เข้าสปาแพงๆ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด แต่จริงๆ แล้วสามารถทำได้ง่ายกว่านั้น สิ่งนั้นเราเรียกว่า Self-Care โดยสามารถประยุกต์กับกิจวัตรที่ทำเป็นประจำทุกวัน
R U OK ชวนทำ Self-Care ให้เป็นเรื่องง่าย สามารถทำได้ทุกวัน ตั้งแต่การกิน การนอน การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย หรือแม้แต่การมีเวลาให้ตัวเอง นอกจากจะนำมาสู่การรักตัวเองแล้ว เรายังได้ฟังความต้องการที่แท้จริงของตัวเองอีกด้วย |
May 21, 2021 |
SELF01 อแมนด้า ออบดัม รับฟังด้วยหัวใจ Just be there!
34:25
‘เพราะการฟังอย่างตั้งใจเพียง 40 วินาที ก็อาจเปลี่ยนชีวิตใครไม่ให้คิดสั้นเลย’
อแมนด้า ออบดัม ตัวแทนประเทศไทยในการประกวด Miss Universe และเจ้าของโครงการ Have You Listened เล่าถึงช่วงเวลาที่ป่วยด้วยภาวะ Eating Disorder ที่เธอรู้สึกว่ายากลำบากที่สุดในชีวิต ผ่าน R U OK ซีรีส์ใหม่ Self-Work วิดีโอพอดแคสต์ที่จะชวนศิลปินทั้ง 9 คน มาเล่าถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากของชีวิต พวกเขาผ่านเวลาเหล่านั้นมาได้อย่างไร และมีบทเรียนในการทำงานกับตัวเองอย่างไรบ้าง เริ่มเอพิโสดแรกที่ว่าด้วยเรื่องการฟัง Emotional Support ทางใจที่สำคัญที่ทำให้ อแมนด้า ออบดัม ผ่านมาได้ด้วยการรับฟังด้วยหัวใจ |
May 16, 2021 |
RUOK230 วิธีพูดกับตัวเองเมื่อสติแตก
29:21
เวลามีเรื่องที่ไม่ทันตั้งตัวเข้ามาปะทะโดยเฉพาะช่วงที่เปราะบางแบบนี้ อาจทำให้เกิดอาการสติแตกขึ้นมาได้ง่ายๆ หลายครั้งที่ใจสั่น มือไม้สั่นเหมือนจะเป็นลม ไม่รู้ดีขึ้นได้อย่างไร การพูดกับตัวเอง หรือ Self-Talk อาจเป็นวิธีที่ช่วยเราได้ R U OK ชูใจ ขอเสนอวิธีฝึกพูดกับตัวเองตอนมีสติ เพื่อให้ชินเป็นนิสัย เมื่อไรที่สติแตกจะได้ช่วยครองสติ พยุงใจ ให้กลับมาตั้งมั่นและดำเนินชีวิตต่อไปได้ |
May 13, 2021 |
RUOK229 อยู่กับความท้อแท้ สิ้นหวังอย่างไร เมื่อยังไม่เห็นว่าอะไรมันจะดีไปกว่านี้
28:45
ไม่ว่าจะสภาพเศรษฐกิจ โรคระบาด หรือแม้แต่การบริหารจัดการ ล้วนแต่ส่งผลต่อความรู้สึก หลายคนรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และยังไม่เห็นว่าจะชีวิตจะดีไปกว่านี้ ขณะเดียวกัน ‘ใจ’ ก็หดหู่และร่วงลงไปเรื่อยๆ R U OK ชูใจ มินิซีรีส์พอดแคสต์ที่จะช่วยประคับประคองความรู้สึก รับรู้อารมณ์ ที่แม้ว่าปัญหาจะยังอยู่เหมือนเดิม แต่จะทำให้เรากลับไปรับมือด้วยจิตใจที่แข็งแรงขึ้น |
May 07, 2021 |
RUOK MEDLEY #7 งานหนักจนไม่มีความสุข รับมือยังไงให้จิตใจยังดี
01:53:56
งานหนักจนไม่มีความสุข เมื่อความเครียดส่วนใหญ่มาจากงาน ฟังเมดเลย์รวม 6 ตอนจากพอดแคสต์ R U OK ที่อาจให้ทางออกกับคุณ คุณอาจทำงานต่อไปแต่สุขขึ้นได้ หรือลาออกไปด้วยใจที่มั่นคง |
Apr 17, 2021 |
RUOK MEDLEY #6 จิตวิทยาของการนอนและความฝัน
02:10:30
มัดรวม 5 ตอนจากพอดแคสต์ R U OK ที่จะพาไปเข้าใจเบื้องหลังทางจิตวิทยาของอาการนอนไม่หลับ ฝันร้าย ฝันแฟนตาซี ที่อาจให้คำตอบสำหรับคนที่ประสบปัญหาเหล่านี้ |
Apr 04, 2021 |
RUOK228 ทำความเข้าใจการฝากไข่ เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
49:16
เมื่อพูดถึงการมีลูก หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หากแท้จริงแล้ว การมีลูกคือส่วนหนึ่งของการวางแผนครอบครัว อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงในชีวิต และอย่างที่หลายคนรู้กัน วัยเจริญพันธุ์ของมนุษย์มีช่วงเวลาที่จำกัด แต่หลายคนยอมให้เวลานั้นล่วงเลยไปเพราะยังไม่พร้อมในด้านการเงิน ยังอยากทำงานให้เต็มศักยภาพ หรืออยากใช้ชีวิตโสดอย่างที่ปรารถนา เพื่อลดความกดดันในการมีลูก การฝากไข่ในช่วงเจริญพันธุ์จึงเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่จะช่วยให้เราออกแบบจังหวะของชีวิตเป็นไปได้อย่างที่ต้องการมากขึ้น R U OK คุยกับ นายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ จาก บางกอก ไอวีเอฟ เซ็นเตอร์ ลาดพร้าว |
Dec 22, 2020 |
RUOK227 ลบไม่ได้ช่วยให้ลืมจริงไหม แล้วอะไรเป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรทำเมื่ออกหัก
18:52
แม้ อิ้งค์ วรันธร จะบอกว่าลบไม่ได้ช่วยให้ลืม แต่เมื่อย้อนดูปฏิกิริยาของเราเมื่อต้องเลิกรากับใครสักคน ในช่วงแรกเลือกที่จะตัดขาดการรับรู้ ทั้งอันเฟรนด์ ลบคอนแท็กต์ ลบรูปในโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เรากลับไปคิดถึง จึงชวนให้สงสัยว่า ‘การลบ’ มีผลต่อความทรงจำในระยะสั้นหรือระยะยาวอย่างไร และเมื่อต้องจบความสัมพันธ์กับใครสักคน สิ่งแรกๆ ที่ควรทำเพื่อให้รู้สึกดีขึ้นคืออะไร |
Dec 10, 2020 |
RUOK226 ไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำไมเราถึงตกหลุมรักคนแบบเดิมๆ?
21:21
แม้เราจะเคยได้ยินว่า ความรักเป็นเรื่องของความรู้สึก ไม่มีเหตุผล แต่ในแง่มุมของจิตวิทยา การรักใครสักคนมีที่มาที่ไปเสมอ R U OK ชวนตั้งคำถามกับความรู้สึกว่า อะไรทำให้เราถึงตกหลุมรักคนแบบเดิมซ้ำๆ ไม่ว่าจะรูปร่างหน้าตา คาแรกเตอร์ ลักษณะนิสัย ถึงจะไม่ได้เป็นสิ่งแรกๆ ที่ทำให้รู้สึกรัก แต่เมื่อคบหากันไป มันมีอะไรคล้ายๆ เดิมอยู่เสมอ เอพิโสดนี้จะตอบคำถามว่า ร่องรอยเหล่านั้นมากจากไหน |
Dec 08, 2020 |
RUOK225 ทั้งๆ ที่อยากเป็นที่รัก แต่ทำไมรู้สึกไม่มีค่าพอที่จะถูกรัก?
30:24
มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการเป็นที่รัก แต่ภายใต้ความรู้สึกนั้นหลายคนกลับรู้สึกว่าตัวเอง ‘ดีไม่พอ’ ‘ไม่ควรค่าพอ’ ที่จะได้รับความรักจากใคร R U OK ชวนทำความเข้าใจที่มาของความรู้สึกไม่ควรค่าที่จะถูกรัก ว่าส่วนใหญ่ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กจากครอบครัว แต่เมื่อเราเติบโตและตระหนักรู้ในคุณค่าของตัวเอง เราสามารถสร้างและรับรู้คุณค่าของตัวเองได้เสมอ |
Dec 03, 2020 |
RUOK224 ให้เวลาตัวเองอ่อนแอบ้าง เพราะเราไม่ต้องเข้มแข็งตลอดเวลา
23:49
เมื่อถึงเวลาอ่อนแอ หลายคนจะรีบลบความรู้สึกนั้นออก พร้อมรีบตัดสินตัวเองอย่างอัตโนมัติว่า ‘อย่าอ่อนแอสิ ต้องเข้มแข็ง ใครๆ ก็ต้องเข้มแข็งกันทั้งนั้น’ กลายเป็นเวลาเมื่อลุกไม่ไหว กลับรู้สึกผิดซ้ำเข้าไปอีก R U OK เคยพูดว่าความอ่อนแอเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะอ่อนแอได้ แต่สำหรับเอพิโสดนี้เราจะชวนตั้งคำถามว่าเมื่อมันเป็นธรรมชาติ แล้วความคิดที่ว่า ‘ความอ่อนแอ = ไม่ดี’ นี้มาจากไหน แล้วเราควรจะให้เวลาตัวเองอ่อนแอถึงเมื่อไรกัน |
Dec 01, 2020 |
RUOK223 อาร์ทตี้ ปฐพร ให้เวลาเยียวยาจิตใจ เพื่อก้าวเดินอย่างมีเป้าหมายในทุกวัน
27:51
พ.ศ. 2563 ไม่ใช่ปีที่ง่ายสำหรับใครหลายคน เนื่องจากภาวะโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจและความมั่นคงทางใจสั่นคลอนได้ง่ายๆ หลายเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะเดินทางให้ถึง กลับกลายเป็นเรื่องยากที่ต้องใช้แรงความพยายามมากเป็นพิเศษ อาร์ทตี้-ปฐพร ทรัพย์ไพฑูรย์ คือหนึ่งในคนเหล่านั้น หลังจากได้รับกระแสชื่นชมจากการรายงานข่าวในม็อบ ชื่อเสียงของเขาก็เข้ามาอย่างไม่ทันตั้งตัว ทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งในฐานะคนคนหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรับมือ หลายครั้งเลยกลายเป็นบาดแผลที่ฝังอยู่ในจิตใจที่ต้องใช้เวลาเยียวยา และค่อยๆ ก้าวเดินอีกครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาลุกขึ้นมาได้คือการมองเห็น ‘เป้าหมาย’ ที่ชัดเจนว่า วันนี้เขา ‘อยู่’ เพื่ออะไร #APTHAI #EmpowerLiving #APอยู่เพื่อทุกความหมายของคุณ |
Nov 26, 2020 |
RUOK222 มีหลายคนในร่างเดียว จำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป รู้จักกับโรคหลายอัตลักษณ์ (DID)
24:00
โรคทางจิตเวชที่พบไม่ได้บ่อย แต่เป็นที่จดจำในภาพยนตร์อย่างเรื่อง Split คือโรคหลายบุคลิก หรือเรียกอย่างทางการว่าโรคหลายอัตลักษณ์ Dissociative Identity Disorder (DID) ผู้เป็นโรคนี้มีมักมีหลายตัวตนอยู่ในคนคนเดียว R U OK คุยกับ นพ.ชยุติ วงศ์เลิศวิศวกร ว่าโรคหลายอัตลักษณ์เหมือนหรือแตกต่างกับบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งหรือโรคไบโพลาร์อย่างไร จุดสังเกตอยู่ตรงไหน แล้วเป็นไปได้จริงหรือไม่ที่แต่ละตัวตนจะไม่รู้จักกันเลย |
Nov 23, 2020 |
RUOK221 หยุดแบกโลกทั้งใบ และเลิกนิสัยชอบโทษตัวเอง
24:34
โทษตัวเอง เป็นวิธีแก้ปัญหาของเราที่บางครั้งก็เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติด้วยความเคยชิน ว่าทำแล้วสบายใจและไม่เดือดร้อนคนอื่น แต่บางครั้งก็อาจลืมไปว่าคนที่เป็นทุกข์และแบกโลกทั้งใบอยู่นั้นคือเรา R U OK ชวนมองสาเหตุของนิสัยโทษตัวเอง ซึ่งบางครั้งมาจากคนใกล้ตัวอย่างไม่ตั้งใจ แต่เมื่อรู้ตัวแล้วว่านิสัยนี้ทำให้คุณค่าของเราลดลง จะทำอย่างไรให้เลิกความคิดที่มีต่อตัวเองแบบนี้ |
Nov 19, 2020 |
RUOK220 ฝันแบบนี้แปลว่าอย่างไร ถอดรหัสแฟนตาซีในฝันที่อาจลึกถึงขั้นจิตไร้สำนึก
30:14
ความฝันเป็นเรื่องชวนสงสัยไม่จบสิ้น
หลายครั้งที่พยายามตีความความฝัน แต่กลับแปลไม่ออกว่าทำไมเราถึงฝันหลุดโลกอย่างนั้น บางเรื่องก็ไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน บางทีก็ฝันถึงคนที่ลืมไปนาน หรือบางคืนก็ฝันถึงเหตุการณ์ในอดีตอย่างไม่รู้สาเหตุ
ที่เป็นอย่างนี้เพราะความฝันคือการทำงานของความทรงจำที่เก็บกดอยู่ภายในจิตใจ ที่กำลังแปลเรื่องราวเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งการที่แต่ละคนฝันเหมือนกันก็ไม่ได้แปลความเหมือนกันอีก ร่วมสนุกไปกับการถอดรหัสความฝันได้ใน R U OK เอพิโสดนี้ |
Nov 16, 2020 |
RUOK219 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ หน้าที่ของความฝัน และกลไกการป้องกันตัวเอง
27:08
ความฝันเป็นเรื่องมหัศจรรย์
มีหลายแนวคิดที่เชื่อว่า ‘ความฝัน’ ทำหน้าที่ตอบสนองความปรารถนาของมนุษย์ที่ไม่มีทางเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ความต้องการที่เก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกจึงออกมาโลดแล่นในเวลากลางคืน นักจิตวิเคราะห์หลายคนจึงพยายามทำความเข้าใจความฝันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี R U OK คุยกับ วันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา ว่าทำไมคนเราถึงฝัน เพราะอะไรความฝันถึงไม่ปะติดปะต่อ มีหลายเรื่องที่ตีความไม่ได้ และเชื่อหรือไม่ว่าเราจำความฝันได้เพียง 10-30% แล้วที่เหลือมันอยู่ตรงไหน? |
Nov 12, 2020 |
RUOK218 ค้นหาสาเหตุการนอนไม่หลับ ตื่นมาแล้วง่วง กรน ละเมอ และทุกปัญหาของการนอน
35:22
สำหรับบางคนการนอนก็เป็นเรื่องยาก
เพราะไหนจะนอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นบ่อยระหว่างคืน หรือตื่นมาแล้วก็เหมือนยังไม่ได้นอน จนคิดว่าเริ่มเป็นปัญหาและอยากปรึกษาแพทย์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
R U OK คุยกับ นายแพทย์ชยุติ วงศ์เลิศวิศวกร เพื่อตอบทุกปัญหาของการนอน ตั้งแต่คุณภาพการนอนที่ดีเป็นอย่างไร นอนไม่หลับแค่ไหนถึงเป็นโรค อยากพบแพทย์สาขาไหน รวมถึงทริกง่ายๆ ที่ทำให้คืนนี้นอนหลับได้สนิท |
Nov 09, 2020 |
RUOK217 หาข้อมูลสนับสนุนความคิดตัวเอง เมื่อสิ่งที่เชื่อไม่ตรงกับสิ่งที่เห็น
25:57
กลไกอย่างหนึ่งของความคิดมนุษย์ เมื่อสิ่งที่เห็นตรงหน้าไม่สอดคล้องกับความเชื่อที่ยึดถือมาทั้งชีวิต R U OK พูดคุยถึงความคิดไม่ลงรอย หรือ Cognitive Dissonance เพื่อตอบคำถามว่า ทำไมมนุษย์ถึงสร้างตรรกะหรือเลือกเชื่อข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของตัวเอง เพื่อป้องกันความไม่สบายใจ กลบความรู้สึกแย่ ซึ่งอาจนำไปสู่การคิดอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผลและตัดสินใจผิดพลาดได้ |
Nov 05, 2020 |
RUOK216 สร้างวิธีคิดบวกในรูปแบบของตัวเองและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
24:38
เมื่อพูดถึงการคิดบวกหรือมองโลกในแง่ดี หลายคนอาจทำหน้าเหยเกเพราะรู้สึกว่าโลกสวยเกินไป แล้วตกลงการคิดบวกคือคิดแบบไหนกันแน่
R U OK ชวน นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาที่จะมาอธิบายว่าการคิดบวกไม่ใช่การคิดหลุดพ้นออกจากความจริง แต่เป็นเรื่องจำเป็นที่จะทำให้เรามีกำลังใจในการผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก คิดแบบไหนที่เรียกว่าคิดบวก และจะฝึกคิดบวกในรูปแบบของตัวเองได้อย่างไร
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential ได้เลยที่ https://onepulse.page.link/4kr8
#PulsebyPrudential #สุขภาพของคุณต้องดูแลในแบบคุณ |
Nov 02, 2020 |
RUOK215 เยาวชนกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
29:25
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการขับเคลื่อนประเด็นสังคมต่างๆ ในปัจจุบัน ‘เยาวชน’ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทอย่างมาก R U OK เคยคุยกับญา ปราชญา เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ผลักดันให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าพบจิตแพทย์ได้ ปัจจุบันเธอก็ยังขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิตเป็นหลัก ซึ่งอีกบทบาทหนึ่งคือ การเข้าไปช่วยเหลือแกนนำเยาวชนที่ได้รับผลกระทบกระเทือนด้านจิตใจ ในฐานะเยาวชนคนหนึ่ง เธอมองเห็นอะไรในการเปลี่ยนแปลง รวมถึง ‘การสื่อสาร’ เพื่อการสร้างความเข้าใจ อาจเป็นทางออกหนึ่งในวิกฤตระหว่างวัยครั้งนี้ |
Oct 30, 2020 |
RUOK214 วิธีเช็กตัวเองว่ากำลังป่วยกาย หรือป่วยใจ และเป็นไปได้ไหมถ้าจะดูแลไปพร้อมกัน
30:32
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราต้องการการนอนหลับที่ไม่เท่ากัน บางคนนอนไม่กี่ชั่วโมงก็เพียงพอ บางคนนอนนานเท่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่ม หรือแม้แต่กระทั่งเรื่องจิตใจ ที่โดนความกดดันมาพอๆ กัน แต่ก็รู้สึกไม่เท่ากัน
R U OK ชวนนายแพทย์คณพล ภูมิรัตนประพิณ อายุรแพทย์ มาคุยกันให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างกายกับใจ และการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล เพราะสุขภาพของคุณต้องดูแลในแบบของคุณเอง
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential ได้เลยที่ https://onepulse.page.link/4kr8
#PulsebyPrudential #สุขภาพของคุณต้องดูแลในแบบคุณ |
Oct 26, 2020 |
RUOK213 ความกระทบกระเทือนทางใจหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง Post-Traumatic Stress Disorder
22:20
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อโรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder ความกระทบกระเทือนทางใจหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งแต่เดิมมีนิยามว่าคือคนที่ผ่านสงคราม อุบัติเหตุครั้งใหญ่ ภัยพิบัติ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ R U OK ชวนนายแพทย์ชยุติ วงศ์เลิศวิศวกร มาทำความเข้าใจโรคนี้ว่า ไม่เพียงเหตุการณ์ที่ว่ามาเท่านั้น แต่ยังมีความละเอียดอ่อน มีระดับความรุนแรง และมีอีกหลายเหตุการณ์ที่สร้างความสั่นสะเทือนทางใจได้ |
Oct 22, 2020 |
RUOK212 พิจารณาอารมณ์โกรธ เครียด ผิดหวัง จากสถานการณ์ความรุนแรง
35:59
จากสถานการณ์ทางการเมือง หลายคนอาจเกิดความรู้สึกที่หลากหลาย ทั้งโกรธจากการถูกกระทำความรุนแรง เครียดจากการติดตามข่าวสาร หรือผิดหวังที่ผู้มีชื่อเสียงไม่ได้ออกมาพูด อารมณ์ทั้งหมดเป็นธรรมชาติ สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะสังเกตและรับมือตามหลัก Emotional Management อย่างไร ให้สภาพจิตใจเรายังแข็งแรง |
Oct 20, 2020 |
RUOK211 ทำไมถึงเครียดมากกว่าที่ควรจะเป็น มารู้จัก Adjustment Disorder
21:09
บางทีเราก็สงสัย ว่าทำไมเรื่องแค่นี้ ถึงเครียดกับมันจังเลย? จริงอยู่ที่แต่ละคนมีการรับมือกับความเครียด ไม่เหมือน และไม่เท่ากัน แต่บางครั้งก็รู้สึกว่าดีลกับความเครียดที่เข้ามาปะทะได้ยากเย็นเหลือเกิน R U OK ชวนทำความรู้จัก Adjustment Disorder โรคเครียด หรือภาวะการปรับตัวผิดปกติ เพราะเราจะได้ไม่ต้องรู้สึกผิด แต่เดินหน้าเข้าหาผู้เชี่ยวชาญ เพราะไม่ว่าใครก็ป่วยทางใจกันได้ |
Oct 12, 2020 |
RUOK210 ขึ้นๆ ลงๆ อารมณ์รุนแรง ทำความรู้จัก Borderline Personality Disorder
22:04
บางครั้งความเจ็บป่วยทางจิตใจของเราก็อยู่กับเรานานจนฝังเป็นบุคลิกภาพ ทั้งอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมจนแยกยากว่าเราป่วยเป็นโรคอยู่หรือเปล่า
Borderline Personality Disorder คือโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ที่มีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อโกรธ, เวลาดีก็ดีใจหาย เวลาร้ายก็ร้ายสุดๆ, รุนแรง ฉุนเฉียว ไม่ได้หมายความว่าผู้มีอาการดังกล่าวจะป่วยเป็นโรคนี้เสมอไป แต่หากพฤติกรรมนี้พาไปเจอปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ การพบผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้ดีขึ้น |
Oct 08, 2020 |
RUOK209 เข้าใจโรคจิตเภท ที่หลายคนบอกว่า ‘บ้า’ แท้จริงคือโรคทางสมอง
23:33
ภาพของผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวช คือภาพที่หลายคนมักกลัวและไม่เข้าใจว่าผู้ป่วยกำลังเผชิญกับอะไร และคำว่า ‘บ้า’ คือคำตีตราที่ทำให้เขาเหล่านั้นกลายเป็นมนุษย์ที่ขาดพร่อง R U OK ชวนทำความเข้าใจโรคจิตเภทที่ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นโรคสมอง ว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมผู้ป่วยถึงเชื่ออย่างจริงจังในเรื่องที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และเราควรปฏิบัติอย่างไรในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน |
Oct 05, 2020 |
RUOK208 หยุดความคิดไม่ได้ คิดวนแค่ไหนถึงเรียกว่าโรควิตกกังวล
27:42
หลายครั้งที่ไม่ว่าจะพยายามเท่าไรก็หยุดความคิดไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาจบวันที่ล้มตัวลงนอน แล้วพบว่าความคิดก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ เริ่มหนัก และกลายเป็นก้อนความกังวลที่มากขึ้นจนทำให้นอนไม่หลับ
เพราะโรคทางจิตเวชมีหลากหลาย R U OK ประจำเดือนนี้จึงชวนคุยเรื่องความเจ็บป่วยทางใจ เริ่มด้วยโรควิตกกังวล ที่หลายคนอาจไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญอยู่ ชวนฟังเพื่อสำรวจตัวเองและดูแลจิตใจได้อย่างทันท่วงที |
Oct 01, 2020 |
RUOK207 ถ้าสมองสั่งให้รักเงิน จะทำให้อย่างไรมีความสุขนอกจากการใช้เงินบ้าง
34:52
หากนับจากวิวัฒนาการ มนุษย์เราใช้เครื่องมือบางอย่างเพื่อทำให้มีชีวิตรอด จนก้าวเข้าสู่โลกทุนนิยม ‘เงิน’ กลายเป็นตัวกลางที่สมองเราเรียนรู้ว่าคือสิ่งที่ทำให้รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย แต่บางครั้งอาจหลงลืมไปว่าเงินเป็นเพียงตัวกลางที่จะนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการมากกว่านั้น R U OK คุยกับ หมอนัท คลินิกกองทุน ว่าในภาวะที่การเงินหลายคนเริ่มฝืดเคือง เราสามารถหาความสุข และความมั่นคงทางใจได้อย่างไรบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นเรื่องสูงสุดเสมอไป |
Sep 28, 2020 |
RUOK206 Time Management กุญแจสำคัญที่จัดการทั้งงาน ครอบครัว และความต้องการส่วนตัว
27:42
ในช่วงเวลาวิกฤตมักมีเรื่องที่เราจัดการไม่ได้ และอยู่นอกเหนือการควบคุมอยู่เต็มไปหมด แต่เราอาจลืมไปว่าสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเท่ากันนั่นคือ ‘เวลา’ และเวลานี่เองคือกุญแจสำคัญที่เป็นพื้นฐานตั้งต้นในการจัดการเรื่องยากๆ ทั้งหลายในชีวิต R U OK คุยกับ สีตลา ชาญวิเศษ ที่นอกจากจะเป็นพนักงานออฟฟิศ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ยังไม่ลืมที่จะจัดสรรให้เวลากับความต้องการของตัวเอง ซึ่งเธอยืนยันว่าไม่ว่าใครหากเข้าใจหลักในการจัดสรรเวลาแล้ว จะสามารถทำทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Sep 24, 2020 |
RUOK205 เป็นกำลังใจให้ตัว เพื่อให้ผ่านพ้นวันยากๆ
23:31
เป็นธรรมดาถ้าจะรู้สึกว่า ‘วันนี้ไม่ใช่วันของเรา’ เพราะปัญหาที่ผ่านเข้ามาทำให้เราท้อ เราถอยได้ง่ายๆ
R U OK ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังก้าวผ่านอุปสรรค ได้โปรดเชื่อมั่นในจุดแข็งของตัวเองว่าเราสามารถใช้มันผ่านเรื่องยากๆ ได้เสมอ และเรื่องยากในวันนี้ที่เจอมันจะเป็นอีกเรื่องที่จะค่อยๆ อยู่กับมันได้ แม้จะรู้สึกยาวนานแค่ไหนก็ตาม |
Sep 21, 2020 |
RUOK204 อะไรทำให้คนกลายเป็นอาชญากร
21:15
สาเหตุอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นอาชญากรทำสิ่งผิดกฎหมาย และทำร้ายผู้อื่นได้ R U OK ชวน ผศ. ดร.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล นักอาชญาวิทยา มาให้ความรู้ว่ามีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้มนุษย์สามารถกลายเป็นอาชญากร ที่มาเหล่านั้นมีผลต่อการตัดสินใจในการก่ออาชญากรรมอย่างไร หากเราสามารถเข้าใจ ‘ผู้กระทำ’ ที่อาจเคยเป็น ‘ผู้ถูกกระทำ’ มากขึ้น ก็อาจนำไปสู่การลดความเจ็บปวดทางใจของใครสักคน และสามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งจะต้องกลายเป็นอาชญากรเลยก็ได้ |
Sep 17, 2020 |
RUOK203 อาชญาวิทยาและจิตวิทยา ร่วมค้นหาแรงจูงใจของผู้กระทำความผิด
23:45
นอกจากจิตวิทยาจะเป็นศาสตร์ที่ทำหน้าที่เข้าใจมนุษย์แล้ว ยังมีอีกศาสตร์หนึ่งนั่นคือ ‘อาชญาวิทยา’ ที่มีอยู่ในไทยมาอย่างยาวนาน ศาสตร์นี้เน้นการทำความเข้าใจมนุษย์ผู้กระทำความผิดโดยเน้นที่แรงจูงใจ ประกอบกับกระบวนการทางยุติธรรม R U OK คุยกับ ผศ.ดร.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล ประธานหลักสูตรอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ชวนสำรวจว่าพฤติกรรมใดที่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย เพื่อจะได้ย้อนระวังและทำความเข้าใจตัวเอง |
Sep 14, 2020 |
RUOK202 ความเหลื่อมล้ำในโรงเรียน ศิษย์รัก และ Beauty Privilege
34:25
มินและนิ้ง ตัวแทนนักเรียนจากทวิตเตอร์แอ็กเคานต์ นักเรียนเลว ที่สร้างความเคลื่อนไหวในสังคมด้วยการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ได้ออกมาเล่าถึงความเหลื่อมล้ำในโรงเรียนที่หลายคนมองไม่ออก สัมผัสไม่ได้ ผ่านพอดแคสต์ R U OK เอพิโสดนี้ เพื่อให้เห็นภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และเพื่อบอกว่า ทุกคนมีส่วนช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้ |
Sep 10, 2020 |
RUOK201 Crowdsourcing ระดมไอเดียแก้ปัญหา Cyberbullying
50:13
เพราะการแก้ไขปัญหา Cyberbullying ไม่ได้มีเพียงสูตรสำเร็จเพียงอย่างเดียว R U OK และ #dtacSafeInternet จำลองการ Crowdsourcing หรือระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ โดยเชิญนักจิตวิทยา ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน และนักกิจกรรมวัยรุ่น มาช่วยกันแก้ไข 5 สถานการณ์ตัวอย่าง ต่างมุมมอง ต่างเหตุผล และผู้ฟังก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ได้ |
Sep 07, 2020 |
RUOK200 ทำไมครูถึงไม่ทำอะไรเมื่อเกิดการบูลลี่ และถ้าอยากให้ตระหนักถึงปัญหานี้ควรทำอย่างไร
38:08
เมื่อเกิดเหตุการณ์บูลลี่ขึ้นในโรงเรียน หลายครั้งนักเรียนอาจรู้สึกว่าทำไมครูถึงไม่จัดการอะไร ถ้าไม่รับฟังเฉยๆ บางครั้งก็ลงโทษซ้ำทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำจนเป็นแผลทางใจ R U OK ชวนคุณครู 3 ท่านมาเปิดเผยความหนักใจว่าต้องระมัดระวังแค่ไหน การกระทำจะไม่เป็นแผลทางใจกับเด็ก และหากจะสร้างทักษะให้ครูและทุกคนในโรงเรียนตระหนักในปัญหาเรื่องการบูลลี่ต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน |
Sep 04, 2020 |
RUOK199 จอยลดา สุ่มเสี่ยง หมิ่นเหม่หรือไม่ โลกของนิยายออนไลน์มีอะไรให้ต้องระวังบ้าง
33:11
จอยลดา คือแพลตฟอร์มนิยายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะผู้อ่านวัยรุ่น เพราะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจ แต่ผู้ใหญ่หลายคนยังไม่เข้าใจว่านิยายออนไลน์มีรูปแบบอย่างไร จึงเต็มไปด้วยความเป็นห่วง R U OK ชวนนักอ่าน นักเขียนจอยลดา จากโครงการ dtac Safe Internet และ Community Manager จากจอยลดา มาร่วมทำความเข้าใจกันว่าความเสี่ยงในการใช้แพลตฟอร์มนิยายออนไลน์มีอะไร และจะสร้างให้เกิดความเข้าใจกันในครอบครัวได้อย่างไรบ้าง |
Sep 01, 2020 |
RUOK198 ถูกแกล้งมาจากที่โรงเรียน จะปรึกษาพ่อแม่ดีไหม? ทำอย่างไรได้บ้าง?
24:26
เมื่อการบูลลี่เกิดขึ้นที่โรงเรียน หลายครั้งเด็กก็ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร จะบอกเพื่อนก็รู้สึกเป็นปมด้อย บอกครูก็ไม่แน่ใจ แต่ครอบครัวคือส่วนสำคัญที่จะช่วยเหลือให้เขาผ่านพ้นเวลาเหล่านั้นไปได้ R U OK คุยกับ เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาโรงเรียน ที่วันนี้มาในฐานะพี่สาวของครอบครัวที่มีน้องชายมีภาวะออทิสติกและถูกแกล้งอยู่เสมอ พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ครอบครัวคือส่วนซัพพอร์ตทางใจที่สำคัญ |
Aug 27, 2020 |
RUOK SPECIAL02 วิธีคุยเรื่องการเมืองในครอบครัว เมื่อความต่างไม่ใช่ความผิด
34:44
เราเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน และเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาพูดคุยได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสื่อสารกัน โดยเฉพาะหน่วยเล็กที่สุดอย่างครอบครัว R U OK เสนอวิธีการสื่อสารเรื่องการเมืองภายในครอบครัว ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ปรับความคิดอย่างไรเมื่อ ‘ความต่าง’ ไม่ใช่ ‘ความผิด’ จนไปถึงรับมือกับความรู้สึกตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความไม่เห็นด้วย |
Aug 26, 2020 |
RUOK197 ใช้มือถือ ≠ เล่นมือถือ สร้างความเข้าใจอย่างไรถ้ารู้สึกว่าลูกใช้เวลากับมือถือมากเกินไป
27:19
“เล่นมือถืออีกแล้ว”
เด็กๆ หลายคนอาจเคยถูกผู้ปกครองดุ ทั้งๆ ที่เพิ่งหยิบมือถือขึ้นมา หรือไม่ก็รู้สึกว่าไม่ได้เล่น แต่คุยกับเพื่อนเรื่องงานอยู่ต่างหาก
R U OK เอพิโสดนี้ชวนตัวแทนคุณพ่อมาแชร์ปัญหาที่หลายครอบครัวพบเจอ เรื่องความไม่เข้าใจกันในการใช้เวลาในการเล่นมือถือ พ่อแม่จะเข้าไปสอดส่องแค่ไหน จะเว้นระยะและให้เกียรติลูกอย่างไร ความหวังดีจะไม่เป็นการทำร้ายกัน |
Aug 25, 2020 |
RUOK196 จากโครงสร้างอำนาจนิยม ทำอย่างไรที่จะหยุดการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน
37:12
จากเอพิโสดที่แล้ว R U OK คุยกันให้เห็นภาพครูใช้ความรุนแรงกับนักเรียน มาถึงเอพิโสดนี้ที่ครูก็อยากพูดความในใจจากการถูกบูลลี่ เพื่อนำมาสู่การเห็นโครงสร้างอำนาจนิยมในโรงเรียนและหยุดการใช้ความรุนแรงในที่สุด |
Aug 20, 2020 |
RUOK195 SOGIESC หลักการเข้าใจเพศกำเนิด เพศสภาพ และเพศที่อยากให้คนอื่นรับรู้
36:51
ช่วงวัยเรียน นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสถูกบูลลี่มากเป็นอันดับต้นๆ คือกลุ่มเพศหลากหลาย เนื่องจากความไม่เข้าใจและไม่เคารพในความแตกต่าง ทั้งที่ในช่วงวัยนั้นคือการตามหาเอกลักษณ์และความรับรู้ทางเพศ และบางคนอาจดำเนิน เลื่อนไหลไปทั้งชีวิต R U OK ชวน กรองแก้ว ปัญจมหาพร ผู้เชี่ยวชาญงานส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ชี้ให้เห็นว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่เพศกำเนิด ตั้งแต่ยังมีเพศสภาพ สำนึกทางเพศ และเพศที่อยากให้คนอื่นรับรู้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงตามอวัยวะเพศ และสามารถเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลได้เสมอ และนั่นคือความงดงามในความหลากหลายของมนุษย์ |
Aug 17, 2020 |
RUOK194 เอ็นดู หวังดี ไม่ตั้งใจ ครูอาจบูลลี่นักเรียนได้โดยไม่รู้ตัว
28:09
การบูลลี่เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างทางอำนาจที่ครอบอยู่ในหลายหน่วยของสังคม โดยเฉพาะในรั้วโรงเรียน โครงสร้างทำให้คนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าคนอีกกลุ่ม หลายครั้งการบูลลี่จึงเกิดขึ้น R U OK ไม่ได้ต้องการชี้เป้าว่าใครเป็นคนผิด แต่อยากชวนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียนหลายครั้งเกิดขึ้นเพราะ ‘คุณครู’ ผู้ถืออำนาจและอาจเกิดแผลทางใจแก่ ‘นักเรียน’ โดยไม่ทันระวัง ร่วมแชร์เสียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านตัวแทน ‘นักเรียนเลว’ |
Aug 13, 2020 |
ROK193 ฟังตำรวจผู้ทำคดีล่วงละเมิดทางเพศ และหากถูกแบล็กเมลควรทำอย่างไร
47:06
พื้นที่โซเชียลมีเดียนอกจากใช้ติดต่อสื่อสาร ยังเป็นพื้นที่สีเทาหมิ่นเหม่ที่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จุดประสงค์ บางครั้งคือการล่อลวงที่เราต้องรู้เท่าทัน R U OK ชวน พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและวัยรุ่นในพื้นที่โซเชียลมีเดีย ว่าเราควรสอดส่องระมัดระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างไร ผู้กระทำมีขั้นตอนอย่างไร และหากตกเป็นเหยื่อเราขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไรได้บ้าง |
Aug 10, 2020 |
RUOK192 ถูกเพื่อนแบน การบูลลี่ทางสังคมที่หลายคนอาจมองข้าม
34:18
การโดนแบน อาจเป็นเหมือนเรื่องธรรมดาในโรงเรียนมัธยมฯ แต่แท้จริงแล้วคือส่วนหนึ่งของความรุนแรง และคือการบูลลี่ทางสังคมที่มีลักษณะไม่นับรวมกลุ่ม กันออก รวมถึงการแบน R U OK ชวนทวิตเตอร์ ‘นักเรียนเลว’ และ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล มาแลกเปลี่ยนสภาพจริงที่นักเรียนมัธยมฯ ต้องพบเจอ พร้อมทั้งช่วยกันหาทางออกในสายตาของทั้งนักเรียนและครูว่าจะทำอย่างไรให้สังคมโรงเรียนตระหนักถึงปัญหานี้ |
Aug 06, 2020 |
RUOK191 ใช้โซเชียลมีเดียอย่างไรให้ใจแข็งแรงและมีวิจารณญาณ
32:40
ทุกวันนี้เราเสพข่าวผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก หลายครั้งข่าวก็พาเราใจฟู และบางครั้งก็พาดิ่งให้หดหู่เนื่องจากการเสพข่าวที่มากเกินไป จนเกิดคำถามว่าอารมณ์เราต้องขึ้นลงตามการเสพข่าวอย่างนี้ต่อไปหรือ? R U OK ชวน ธนกร วงษ์ปัญญา Content Creator การเมือง ประจำสำนักข่าว THE STANDARD มาช่วยแยก Fake News ออกจากข่าวจริง การเสพข่าวอย่างมีวิจารณญาณ หรือใช้โซเชียลฯ ที่บางเรื่องก็ไม่ควรเผยแพร่ เพื่อให้เราเท่าทัน มั่นคง และมี Digital Resilience ในยุคที่ข้อมูลล้นทะลักแบบนี้
#dtacSafeInternet #ฝึกใจให้เห็นหัวใจ |
Aug 03, 2020 |
RUOK190 ทำความเข้าใจโครงสร้างอำนาจในสังคมไทย ทำไมมีผลต่อการบูลลี่
37:01
RUOK คุยกับ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของครอบครัว การเรียนการสอนในโรงเรียน ระบบอาวุโสในมหาวิทยาลัย และโลกการทำงาน ที่มีลำดับชั้นอำนาจ ซึ่งอาจทำให้เห็นความเป็นไปของการบูลลี่ในสังคมไทยได้ชัดเจนขึ้น |
Jul 30, 2020 |
RUOK189 Bystander บุคคคลสำคัญที่หลายคนมองข้ามเมื่อเกิดการบูลลี่
32:41
เมื่อเกิดการบูลลี่ หลายคนจะมองเห็นแค่ผู้กระทำและเหยื่อ แต่เมื่อมองดีๆ ทุกเหตุการณ์จะมีคนที่อยู่รายรอบ และมักวางเฉย R U OK เอพิโสดนี้ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ คุยกับ นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่นว่า ‘Bystander’ หรือ ‘พยานแวดล้อม’ มีผลอย่างไรกับการบูลลี่ ทั้งๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นคือคนจำนวนมากที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งน่าจะคือกลุ่มคนสำคัญที่น่าจะเปลี่ยนแปลง และหยุดวงจรการบูลลี่ได้ |
Jul 28, 2020 |
RUOK188 จะรับมือกับการถูกบูลลี่อย่างไร เพราะมนุษย์ทุกคนมีความรู้สึก
32:10
เราคุ้นเคยกับวลีว่า ‘ศิลปินดาราเป็นคนของประชาชน’ เลยรู้สึกว่าเป็นความชอบธรรมที่วิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่อยู่ในที่แจ้งได้ โดยลืมไปว่าอีกฝ่ายก็คือมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ R U OK ชวน ป๊อป ปองกูล, โอ๊ต ปราโมทย์ และ ลุลา มาร่วมแชร์ประสบการณ์การถูกบูลลี่ว่าเจอมาในรูปแบบไหน รับมือกับคอมเมนต์ที่มาทุกทิศทุกทางอย่างไร และมีถ้อยคำแทนใจที่อยากสื่อสารก่อนที่ใครจะก้าวล้ำเส้นเข้ามาในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง |
Jul 24, 2020 |
RUOK187 ตอบคำถามให้หายคาใจ ทำกันแค่ไหนถึงเรียก Cyberbullying
37:56
หยอก เหยียด แซว ด่าทอ ตัดต่อรูปภาพ ทุกวันเราเผชิญหน้ากับการกระทบเทือนจิตใจหลากหลายรูปแบบ หลายครั้งเราเป็นเหยื่อ หลายครั้งเรากลายเป็นผู้กระทำโดยไม่ตั้งใจ ความสงสัยจึงเกิดขึ้นว่าแล้วเส้นบางๆ ที่เรียกว่าการบูลลี คือตรงไหนกันแน่
R U OK และ นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มาหาคำจำกัดความของการบูลลีว่ามีส่วนประกอบอะไร การบูลลีในเด็กและวัยรุ่นทุกวันนี้พัฒนารูปแบบไปถึงไหน อย่างน้อยเราจะได้ระมัดระวังในการสื่อสารเพื่อไม่เป็นการทำร้ายจิตใจกัน
#ฝึกใจให้เห็นหัวใจ #dtacSafeInternet |
Jul 20, 2020 |
RUOK186 ลดสิ่งรบกวนรอบข้าง โฟกัสตัวเองก่อนเริ่มทำงานอย่างมีสมาธิ
18:16
มนุษย์ออฟฟิศหลายคนพุ่งเข้า Working Mode โดยไม่ทันปรับตัวปรับใจ รู้ตัวอีกทีงานก็ทะลักเข้ามาอย่างไม่ทันรู้ตัว แต่หากลองช้าลงอีกนิด การโฟกัสอยู่กับตัวเองก็อาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
R U OK ชวนหาเวลาสั้นๆ ทำสมาธิก่อนจะเริ่มทำงานด้วยการอยู่กับลมหายใจตัวเอง จะทำตอนเช้า หรือตอนกลางวันก็ได้ การอยู่นิ่งทำให้เราได้ยินเสียงที่อยู่ในหัว และความต้องการของเราชัดเจนขึ้น
ข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม: https://www.sony.co.th/th/electronics/truly-wireless/wf-1000xm3
สิทธิพิเศษสำหรับแฟนรายการ R U OK ใส่ Promo Code: RUOK500 ลด 500 บาท บนเว็บไซต์โซนี่ https://store.sony.co.th/products/wf-1000xm3?variant=31759815147563
ระยะเวลา Promo Code 17-23 กรกฎาคมนี้
#SonyThai #WF1000XM3 #SONY |
Jul 16, 2020 |
RUOK185 ออกแบบพฤติกรรมใหม่ด้วยหลัก Design Thinking
21:49
Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบเพื่อแก้ปัญหาและต่อยอดนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ หลายคนอาจคิดภาพปลายทางว่าคือการใช้กับธุรกิจ องค์กร หรือเทคโนโลยี แต่หลักการ Design Thinking สามารถมาปรับใช้กับชีวิตและพฤติกรรมเราได้เหมือนกัน R U OK ชวน ต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking เจ้าของเพจและพอดแคสต์ 8 บรรทัดครึ่ง ที่จะชวนนำหลัก Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test มาปรับใช้กับชีวิตและพฤติกรรมของเราได้อย่างไร |
Jul 13, 2020 |
RUOK184 อยากตะโกนออกมาว่า ‘งานหนักเกินไปแล้ว’ จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง
19:01
งานคือสัดส่วนใหญ่ที่สุดในชีวิตของใครหลายคน และภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ความคิดที่ว่า ‘มีงานทำอยู่ก็โชคดีเท่าไรแล้ว’ ก็ถูกพูดซ้ำบ่อยๆ จนยอมทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้งานหลุดมือ แต่ในใจอยากร้องตะโกนว่ามันหนักเกินไปแล้ว!
เหมือนจะมองไปทางไหนก็หนักหนา ล้า เหนื่อย เราจะหาความสุขได้จากไหนอีกบ้าง ปรับที่ตัวเอง เพื่อนร่วมงาน หรือหาความสุขอื่นที่ไม่ใช่ที่ทำงานไปซะเลย |
Jul 10, 2020 |
RUOK183 จะอยู่กับความเครียดที่สาเหตุเกินความควบคุมอย่างไรดี
18:28
ความเครียดที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ นอกจากมีสาเหตุจากเรื่องเล็กๆ ในระดับปัจเจกแล้ว โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจที่เราสังกัดอยู่ก็มีผลไม่น้อย R U OK ชวน ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์ Content Creator เศรษฐกิจสำนักข่าว THE STANDARD มาคุยกันว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ภายใต้โครงสร้างที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้นี้อย่างไรดี |
Jul 07, 2020 |
RUOK182 เลิกกับแฟน ไม่มีเงิน ตกงาน จะรับมือกับชีวิตพังทุกด้านอย่างไรดี
15:00
บางทีเรื่องหนักๆ ในชีวิตก็เข้ามาพร้อมกันอย่างไม่ทันตั้งตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบนี้ บางคนอาจเจอความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ ตกงาน ไม่มีเงิน R U OK ชวนหยุดมองความ ‘พัง’ ที่เกิดขึ้นว่าเราควรรับมือกับมันอย่างไร เพราะเมื่อตั้งสติให้ดี อาจมีหลายสเตปก่อนจะไปถึงการจัดการเพื่อให้ชีวิตแข็งแรงขึ้น |
Jul 02, 2020 |
RUOK181 เงินเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางใจ แล้วทำอย่างไรเมื่อกระเป๋าตังค์แฟบแต่ใจฟู
17:09
เศรษฐกิจช่วงนี้ต้องยอมรับกันตามตรงว่าไม่ได้คล่องมือกันเท่าไรนัก ไม่ว่าจะเป็นการทำมาค้าขายหรือแม้แต่การเป็นพนักงานประจำ R U OK ชวน ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์ Content Creator ประจำสำนักข่าว THE STANDARD มานั่งคุยกันให้เห็นว่า ‘เงิน’ ที่เราใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสิ่งของนั้น เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางใจอย่างไร และเมื่อเงินพร่องไปจะทำอย่างไรให้ความมั่นใจยังคงอยู่ |
Jun 29, 2020 |
RUOK180 เวิร์กโหลด งานงอก ควรพอหรือไปต่อดี?
22:24
ในขณะที่หลายบริษัทกำลังขยับปรับตัวเพื่อรับกับสิ่งใหม่ พนักงานออฟฟิศก็ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะความรับผิดชอบของงาน ที่ดูจะไม่ใช่อย่างที่คุยกันไว้ใน Job Description R U OK ชวน ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ Co-Host I Hate My Job: First Jobber มาหาทางออกว่าถ้าทำไปงานงอกไป ต้องทำหน้าที่ใหม่มากขึ้นทุกที เราจะจัดการอย่างไรดี |
Jun 25, 2020 |
RUOK179 ปรับความคิดได้ไหมถ้าต้องทำงานที่ไม่รัก?
15:31
สภาพเศรษฐกิจแบบนี้การเลือกทำงานในฝัน อาจจะไม่ใช่สิ่งแรกในชีวิต เพราะมีปัจจัยมากมายให้เราคำนึง แต่พอทำงานที่ไม่ได้ชอบ ก็ดูเหมือนจะมีความทุกข์ไม่คุ้มกับค่าตอบแทน R U OK ชวน ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ มาตอบคำถามที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนกำลังคาใจ ว่า เราจะเปลี่ยนมายด์เซ็ตจาก ‘งานที่ไม่รัก’ ให้กลายมาเป็นงานที่ทำได้ด้วยความรู้สึกโอเคกับมันมากขึ้นได้อย่างไร |
Jun 22, 2020 |
RUOK178 ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงไหม? แล้วถ้าผลงานออกมาไม่ดีเราจะยังมีคุณค่าหรือเปล่า?
19:29
ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กว่า ‘ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน’ แล้ววถ้าเราไม่มีงาน หรือผลงานออกมาไม่ดี เท่ากับว่าเราไม่มีค่าเลยหรือ? R U OK ชวน โอมศิริ วีระกุล Co-Host จาก The Money Case by The Money Coach มนุษย์เงินเดือนที่เกี่ยวข้องกับทั้งเงินและงาน ว่านอกจากมิติของการเป็นพนักงานที่สร้างผลงานให้บริษัทแล้ว คุณค่าของเราสามารถวัดจากอะไรได้บ้าง |
Jun 18, 2020 |
RUOK177 งานที่เหมาะกับเราคือแบบไหนกันแน่? ท้าทายความสามารถ แต่บางครั้งก็ยากเกินไป
25:08
ความเปลี่ยนแปลงเรื่องงานที่เข้ามาท้าทายความสามารถเราอยู่ในขณะนี้ บางคนมองเห็นเป็นเรื่องสนุกที่ตัวเองได้งัดทักษะที่มีอยู่ออกมารับมือ แต่บางทีก็กลับรู้สึกว่ามันเกินไปจนเกิดคำถามว่าหรืองานนี้ไม่เหมาะกับเรา
R U OK ชวน โอมศิริ วีระกุล Co-Host พอดแคสต์ The Money Case by The Money Coach, เจ้าของพอดแคสต์ออฟฟิศ 0.4 และผู้เขียนหนังสือ สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก มาคุยกันว่าตกลงแล้วงานที่เหมาะกับตัวเราคืองานแบบไหนกันแน่? |
Jun 15, 2020 |
RUOK176 อย่าเพิ่งตัดสินว่าตัวเองดีไม่พอ แต่วิเคราะห์ตัวเองว่าเราไม่เก่งอะไร
20:27
การปรับเปลี่ยนรายละเอียดงานใหม่ๆ ทำให้เราต้องงัดทักษะที่มีอยู่ออกมาใช้ จนบางครั้งรู้สึกเหนื่อย แล้วมีคำถามกับตัวเองว่านี่ตกลงเราไม่เก่งพอหรือเปล่า? R U OK และ ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ ชวนมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง และมีคำถามกับตัวเองอยู่ในขณะนี้ กลับมาทบทวนอย่างละเอียดว่าตกลงเราไม่เก่งจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าเราไม่เก่งแค่บางเรื่อง และเรื่องเหล่านั้นอาจพัฒนาได้อยู่เสมอ |
Jun 12, 2020 |
RUOK175 เปลี่ยนความผิดหวังซ้ำๆ ให้กลายเป็นพลังของข้อมูลที่จะขับเคลื่อนชีวิตไปข้างหน้า
17:33
ในยุคที่การสมัครงานเป็นเรื่องยาก เราต้องเจอการปฏิเสธและความผิดหวังซ้ำๆ จนบางครั้งรู้สึกว่าไม่มีค่าหรือไม่มีความสามารถเอาเสียจริงๆ R U OK ชวน ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ คอลัมนิสต์และมนุษย์ออฟฟิศที่เห็นหัวอกหัวใจคนทำงานมาชวนคิดว่าจะจัดการกับการถูกปฏิเสธซ้ำๆ อย่างไรไม่ให้เสียความรู้สึก พร้อมเปลี่ยนความผิดหวังให้กลายเป็นขุมข้อมูลที่ช่วยผลักเราให้ใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น |
Jun 09, 2020 |
RUOK174 ค้นหาจุดแข็งของตัวเอง ด้วยการผสม 4 ทักษะสำคัญของชีวิต
15:17
หลายครั้งที่เราถูกถามหาข้อดีหรือจุดแข็งตัวเอง แล้วตอบไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คิดถูกต้องหรือเปล่า R U OK วันนี้ชวนรู้จัก 4 ทักษะสำคัญของชีวิต Social Skills, Emotion Skills, Physical Skills และ Conitive Skills ฟังไปอาจดูยาก แต่ทุกคนล้วนมีทักษะเหล่านี้ในชีวิตอย่างไม่รู้ตัว เขย่าจนเป็นส่วนผสมสูตรที่เฉพาะ ที่ไม่เหมือนใครในโลก โดยเริ่มต้นจากการรู้จักตัวเอง |
Jun 04, 2020 |
RUOK173 Essential Skill ทักษะสำคัญของ First Jobber ที่ต้องค้นหาในตัวเองเมื่อมองไม่เห็นอนาคต
20:37
R U OK ประจำเดือนมิถุนายน ยังพูดถึงเรื่องสำคัญคือ Emotional Intelligence หรือความฉลาดทางอารมณ์ โดยขยับมาที่พื้นที่ทำงาน เริ่มด้วยเอพิโสดที่เป็นเสียงสะท้อนของ First Jobber ที่ยังไม่ทันทำงานแรกก็เจอกับอุปสรรคเศรษฐกิจจาก Covid-19
จะทำอย่างไรเมื่อต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมทำงาน ในขณะที่หลายออฟฟิศกำลังทยอยเอาคนออก ความกดดันที่มีต่อตัวเองและครอบครัวก็มากขึ้นทุกที อนาคตที่หวังไว้ก็รู้สึกเหมือนมองไม่เห็น |
Jun 01, 2020 |
RUOK172 รับมือกับพลังลบของคนในครอบครัวอย่างไร ไม่ให้เสียความสัมพันธ์
22:14
R U OK ตอบคำถามจากทางบ้านอีกครั้ง ว่าด้วยเรื่องพลังลบของคนในครอบครัวที่ต้องเผชิญหน้าแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่ามีวิธีการไหนบ้างที่จะสะท้อนความรู้สึกให้ไม่เสียความสัมพันธ์ หมายเหตุ สามารถส่งคำถามมาทางเพจเฟซบุ๊ก THE STANDARD หรือกล่องข้อความของทวิตเตอร์ @TheStandardPod |
May 28, 2020 |
RUOK171 เมื่อบางครั้งอัลกอริทึ่มก็รู้ความสนใจลูกดีกว่าพ่อแม่ จะบาลานซ์เทคโนโลยีกับการเลี้ยงลูกอย่างไร
20:23
เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูลูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางครอบครัวใช้ทุ่นเวลาพ่อแม่ บางครอบครัวพยายามแยกขาด บางครอบครัวควบคุมอย่างเคร่งครัด แต่จะเราจะบาลานซ์อย่างไร R U OK คุยกับ ไผท ผดุงถิ่น เจ้าของสตาร์ทอัพที่ชวนตั้งข้อสังเกตว่าเราจะทำอย่างไร เมื่อในอนาคตข้อมูลที่อัลกอริทึ่มมีอาจรู้ว่าลูกชอบอะไร สนใจอะไร มากกว่าพ่อแม่เองเสียอีก |
May 26, 2020 |
RUOK170 เลี้ยงลูกไม่มีคำว่าดีที่สุด เพราะที่เหลือคือการทดลองร่วมกัน
25:23
การเลี้ยงลูกเป็นเหมือนศาสตร์และศิลป์ เราพบว่ามีวิธีการมากมายที่ตำราว่าไว้ว่าห้ามทำ คนโน้นคนนี้ว่าไว้ว่าไม่ควร แต่แท้จริงอาจไม่มีวิธีที่ไหนที่ถูกที่สุด เพราะแต่ละครอบครัวไม่มีวันเหมือนกัน R U OK ชวน ไผท ผดุงถิ่น เจ้าของสตาร์ตอัพ Builk คุณพ่อสายเทคฯ ที่ออกตัวว่าการเลี้ยงลูกคือการทดลอง และการบริหาร FOMO (Fear of missing out) ความรู้สึกกลัวพลาดสิ่งสำคัญในโลกข้อมูลล้นทะลัก ว่าจริงๆ แล้วสามารถ JOMO (Joy of missing out) ก็ได้ |
May 22, 2020 |
RUOK169 เราจำเป็นต้องอดทนไหม? กับนิสัยที่ไม่ชอบของคนในครอบครัว
24:44
มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น เรากลับพบว่ามีนิสัยเล็กๆ น้อยๆ ของคนในครอบครัวที่เพิ่งค้นพบว่าไม่ชอบเอาเสียเลย แต่เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวมันกลับมีสายใยบางอย่างที่ตัดขาดกันไม่ได้ แล้วเราจำเป็นจะต้องอดทนไหม? R U OK ชวนนักจิตบำบัด จากมหาวิทยาลัย York คุณสฤญรัตน์ โทมัส มาร่วมสร้างความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีข้อเสีย แล้วจะฝึกอย่างไรให้เห็นข้อดีระหว่างกัน |
May 18, 2020 |
RUOK168 ลดการตัดสินในครอบครัว ด้วยการเท่าทันความรู้สึกของตัวเอง
28:49
แม้ไม่ใช่คนเปราะบางแต่บางครั้งคำพูดของคนในครอบครัว ก็ทิ่มแทงความรู้สึกเรา อาจลามไปถึงการแปะป้าย ตีตราตัดสินอย่างไม่ตั้งใจ R U OK ชวนนักจิตบำบัดจากมหาวิทยาลัย York ประเทศอังกฤษ คุณสฤญรัตน์ โทมัส มาคุยกันว่าในสถานการณ์ที่เราอยากใช้คำพูดตีตรามให้อีกฝ่ายเจ็บจำหรือล้มลงไปต่อหน้า เรามีวิธียั้งตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้ไปถึงตรงนั้นบ้าง |
May 14, 2020 |
RUOK167 พ่อแม่จะยอมรับความไม่รู้ได้อย่างไร เพราะลูกก็สอนเราได้เหมือนกัน
21:09
พ่อแม่สอนเราให้เป็น ‘ลูก’ แต่เราจะเป็น ‘พ่อแม่’ ได้เมื่อเรามี ‘ลูก’ เท่านั้น เพราะฉะนั้นลูกอาจคือ ‘ครูคนสำคัญ’ ที่จะบอกว่าในชีวิตนี้เราก็ไม่รู้อะไรอีกตั้งหลายอย่าง R U OK ชวนครูอิ๊ก-ณฐินี เจียรกุล เจ้าของเพจ เพราะลูกสอนเรา ที่เธอบันทึกเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ว่าเรียนรู้อะไรจากลูกบ้าง เพราะ ลูก 1 ขวบ เราก็เป็นพ่อแม่อายุ 1 ขวบ ที่กำลังยันตัวลุกขึ้นและออกก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน |
May 11, 2020 |
RUOK166 พัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
27:15
นอกจากเรื่องอารมณ์แล้วความคิดก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะ ‘การคิดอย่างมีวิจารณญาณ’ หรือ Critical Thinking เพราะข้อมูลข่าวสารที่ล้นทะลักการพิจารณาอย่างรอบคอบถ้วนถี่อาจเป็นทางออกให้เราอยู่รอดได้ และเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ทักษะ’ ก็เป็นสิ่งสามารถพัฒนา โดยเริ่มจากง่ายๆ อย่างในครอบครัว |
May 08, 2020 |
RUOK165 ลดความคาดหวัง กุญแจสำคัญของการไม่ระเบิดอารมณ์ใส่คนในครอบครัว
25:16
เคยสังเกตตัวเองไหมว่าเวลาเจอเรื่องเครียดอะไรมา คนที่เรามักเผลอลงระเบิดใส่คือคนใกล้ตัวและมักเป็นคนในครอบครัวเสมอ R U OK ชวน หมอโอ๋ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน มาคุยกันว่าในสายตาของวิทยาศาสตร์สมองทำงานอย่างไรเมื่อเกิดอาการปรี๊ด และในด้านจิตวิทยาเราสามารถใช้ Emotional Intelligence มาพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ได้อย่างไรในขณะที่เราต้องอยู่บ้านด้วยกันมากขึ้น |
May 04, 2020 |
RUOK164 จะทำอย่างไรให้คนในครอบครัวมี Emotional Intellegence
30:29
การมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น สำหรับบางคนอาจไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนาและมีความสุขเสมอไป ยิ่งอยู่ด้วยกัน โอกาสที่ความเห็นไม่ตรงกันจนกลายเป็นกระทบกระทั่งก็มากขึ้นตามไปด้วย แต่สถานการณ์เหล่านั้นอาจคลี่คลายขึ้นได้เมื่อสมาชิกในครอบครัวมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotion Intellegence R U OK พอดแคสต์ ชวน หมอโอ๋ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน มาคุยกันถึงการสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้กับคนในครอบครัว โดยเริ่มจากคนที่ใกล้ชิดที่สุด นั่นคือตัวเราเอง |
Apr 30, 2020 |
RUOK163 ประโยคที่ใช้ถามตัวเอง ก่อนจะกระหน่ำช้อปปิ้งออนไลน์แบบไม่รู้ตัว
17:52
ทางออกสำหรับคนที่ทำงานอยู่บ้านนานๆ แล้วเครียด คือการได้เข้าเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ เพราะรู้สึกว่าได้คลายเครียด ได้ดึงอำนาจและการจัดการมาอยู่ในมือตัวเอง แต่รู้ตัวอีกทีก็เป็นทุกข์กับใบเสร็จบัตรเครดิตตอนสิ้นเดือน
เราไม่สามารถหยุดช้อปได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะมันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่จะทำอย่างไรให้การช้อป ไม่กระทบกระเทือนกระเป๋าสตางค์ และสามารถเตือนตัวเองได้อย่างมีสติ |
Apr 27, 2020 |
RUOK162 Mentality ที่ดีในการทำงานที่บ้านเป็นอย่างไรเมื่อ Work From Home อาจกลายเป็น New Normal
28:28
ทำไมหลายคนรู้สึกว่าการ Work From Home ถึงเครียดกว่าการทำงานที่ออฟฟิศ? R U OK ชวนสำรวจตัวเองว่าความเครียด ความเหนื่อยล้า และหนักจากการทำงานที่บ้านเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง และที่สำคัญคือเราควรปรับสภาพจิตใจอย่างไรหาก Work From Home จะกลายเป็น New Normal หรือความปกติใหม่ของสังคมการทำงานในอนาคต |
Apr 23, 2020 |
RUOK161 ฮึกเหิม สร้างพลังใจ บอกข่าวร้าย การสื่อสารที่ออกแบบได้ในยามเปราะบาง
37:56
ในยามวิกฤต ความรู้สึกของมนุษย์จะเปราะบางมากกว่าปกติเพราะกำลังอยู่ในภาวะป้องกันตัวเอง การสื่อสารระหว่างกันจึงต้องประคับประคองความรู้สึกมากเป็นพิเศษ R U OK ชวน เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ คุยในฐานะผู้บริหารองค์กรที่ต้องแจ้งนโยบายและสื่อสารกับคนในองค์กรทุกระดับ ว่ามีหลักการสื่อสารอะไรที่ต้องยึดถือเพื่อให้เกิดความมั่นคง ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นใจเพื่อนมนุษย์ในเวลาด้วย |
Apr 20, 2020 |
RUOK160 องค์กรกับพนักงานจะร่วมมือผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างไรให้รู้สึกว่าเป็นทีมเดียวกัน
31:24
Work From Home, Leave without Pay, ปรับลดเงินเดือน หรือปลดพนักงาน หลากหลายนโยบายขององค์กรที่ทำเพื่อให้บริษัทอยู่รอดในช่วงวิกฤต ทั้งหมดเป็นลำดับขั้นตอนที่แต่ละองค์กรต้องพิจารณา แต่ไม่ว่าจะพนักงานจะได้รับผลกระทบทางใจอย่างไร ต่างสามารถทำผ่านกรอบของ ‘Empathy’ หรือความเห็นอกเห็นใจกันได้ R U OK ชวน เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ THE STANDARD และโฮสต์พอดแคสต์ The Secret Sauce มาคุยกันว่าจะไปเป็นไปได้ไหมที่บริษัทจะสามารถมั่นคงในวิกฤต พร้อมกับการรับผิดชอบชีวิตพนักงานไปพร้อมๆ กัน |
Apr 16, 2020 |
RUOK159 แบบฝึกหัดเมื่อรู้สึกแพนิก ด้วยวิธีการพูดคุยกับตัวเอง
25:02
เมื่อเราแพนิก หายใจหอบถี่จากความกลัวที่หาสาเหตุไม่ได้ หลายครั้งมันเกินความควบคุมของเรา R U OK จึงอยากชวนให้ผู้ที่รู้สึกกังวล และรับรู้ว่าอาการแพนิกกำลังก่อตัวขึ้นเล็กๆ คอยสังเกตตัวเอง และฝึกทักษะการพูดคุยกับตัวเอง (Self-Talk) ผ่านทางคำพูดและการสังเกตร่างกาย รวมถึงฝึกหายใจอย่างถูกวิธี โดยสามารถฝึกตอนที่จิตใจยังสงบเพื่อจะได้ตั้งรับทันท่วงที และเมื่อทำบ่อยๆ อาจรู้ความต้องการของตัวเองที่เป็นคำถามมาทั้งชีวิตก็ได้ |
Apr 13, 2020 |
RUOK158 อาการ PANIC เกิดขึ้นได้เพราะเรากำลังเผชิญกับความไม่รู้
19:46
เชื่อว่าหลายคนกำลังรู้สึกกลัว วิตกกังวล หรือเรียกติดปากกันว่า ‘แพนิก’ เพราะต้องรับมือกับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ไม่ต้องตกใจไป R U OK กำลังจะบอกว่าคุณโอเคที่จะรู้สึกตระหนก เพราะเรากำลังรับมือกับสิ่งที่มองไม่เห็น ต้องเผชิญหน้ากับ ‘ความไม่รู้’ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับชีวิต แต่คำถามคือเมื่อคนข้างๆ แพนิกจนรู้สึกเป็นปัญหาระหว่างกัน เราจะทำอย่างไรต่อไปดี? |
Apr 09, 2020 |
RUOK157 รับฟังไม่เท่ากับการเป็นที่ปรึกษา บทบาทของหัวหน้าในการแสดงความ Empathy
16:32
ในบริบทการทำงาน บทบาทของหัวหน้ากับลูกน้องมักจะถูกตั้งต้นด้วยเรื่องงานเสมอ แต่บางครั้งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปนด้วยเรื่องส่วนตัวเพราะเรากำลังทำงานกับมนุษย์ที่แบกเรื่องอีรุงตุงนังหลายอย่างในชีวิต R U OK และ บิ๊กบุญ จากคำนี้พอดแคสต์ ร่วมกันหาคำตอบว่าจริงๆ แล้วหัวหน้าจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องส่วนตัวให้กับลูกน้องไหม ลูกน้องมาปรึกษาแบบไม่ทันตั้งตัวคนเป็นหัวหัวหน้าจะทำอย่างไร รวมถึงแบบฝึกหัดในการตั้งคำถามปลายเปิด และ Mindset ในการชวนคุยอย่างมี Empathy |
Apr 06, 2020 |
RUOK156 เจ้านายจะ Empathy กับลูกน้องได้อย่างไรเมื่อความมุ่งหมายในที่ทำงานคือผลลัพธ์และ Productivity
28:46
เมื่อที่ทำงานคือพื้นที่ต้องขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์และ Productivity เป็นหลัก Empathy จึงดูเหมือนสิ่งที่ทำให้ซอฟต์ ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่นั่นเพราะเรายังไม่เข้าใจ Eamapthy จริงๆ ต่างหากว่ามันอยู่ตรงไหนและทำฟังก์ชันอย่างไร วันนี้ บิ๊กบุญ จาก คำนี้ดีพอดแคสต์ จะชวน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ คุยถึงเรื่อง Empathy ในฐานะเจ้านายกับลูกน้องว่าความ Empathy ในที่ทำงานเจ้านายจำเป็นจะต้องมานั่งตบหลังตบไหล่ฟังเรื่องชีวิตส่วนตัวของลูกน้องเสมอไป หรือแท้จริงแล้วมันแสดงออกได้อย่างไรบ้างที่ทำให้ได้ทั้ง ‘งาน’ และได้ทั้ง ‘ใจ’ ไปพร้อมๆ กัน |
Apr 03, 2020 |
RUOK155 ปรับใจอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงฉับพลันและไม่ทันตั้งตัว
21:51
ไวรัสโควิด-19 ไม่ได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงด้านสุขอนามัยเท่านั้น แต่นำมาซึ่งการเปลี่ยนวิธีการทำงาน กิจวัตรประจำวัน เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ บางคนได้รับผลกระทบถึงเรื่องการงานอย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะไม่มีใครสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันทีได้อย่างเก่งกาจ R U OK จึงชวนให้อยู่กับความ ‘ช็อก’ ที่เกิดขึ้นนั้นสักพัก ไถ่ถามทบทวนกับตัวเอง ไม่แน่วิกฤตครั้งนี้อาจทำให้เราเห็นความเป็นไปได้อีกหลายๆ ทางที่เราคาดไม่ถึง |
Mar 30, 2020 |
RUOK154 Empathy กุญแจสำคัญที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจในช่วงเวลาวิกฤต
22:31
ไวรัสโควิด-19 คือสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตครั้งใหญ่ ตั้งแต่เรื่องงาน เศรษฐกิจ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่กระทั่งมุมมองที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ภายใต้ความหวาดกลัวและวิตกกังวล เราเห็นความเป็นเพื่อนมนุษย์ของอีกฝ่ายน้อยลงหรือเปล่า R U OK เอพิโสดนี้ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Empathic Communication จะชวนคุยให้เห็นอีกด้านว่า ภายใต้วิกฤตนี้กุญแจสำคัญด้านจิตใจ ที่จะทำให้เรารอดพ้นไปด้วยกันได้คือ ‘Empathy’ หรือความเห็นอกเห็นใจกันในฐานะที่อีกฝ่ายคือมนุษย์ ไม่ใช่เชื้อโรค หรือไม่ใช่ความเสี่ยงเป็นที่ตั้ง รวมถึงเรื่องที่เราอาจนึกไม่ถึงอย่าง ‘การเดินทางร่วมกันในขนส่งสาธารณะ’ หรือ ‘การกักตุนอาหาร’ ก็เป็นพฤติกรรมที่สร้างความเห็นใจ และให้เกียรติมนุษย์ผู้ร่วมโลกที่กำลังเผชิญโรคเดียวกับเราอยู่ |
Mar 27, 2020 |
RUOK101 ใช้เวลาพิจารณาความทุกข์ จะเห็นความจริงบางอย่างของชีวิต [Re-Broadcast]
20:39
ช่วงเวลาที่วิกฤตแบบนี้หลายคนอาจเจอความทุกข์ได้ง่ายๆ ทั้งเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เรื่องที่แก้ไขได้ แก้ไขไม่ได้ จนบางครั้งรู้สึกว่าความทุกข์มันใหญ่เกินที่เราจะรับมือไหว
R U OK ชวนนั่งลงพิจารณาความทุกข์นั้นอีกครั้ง เปลี่ยนมุมมองว่าชีวิตใช่เรื่องสมบูรณ์แบบ และความทุกข์ไม่ใช่ตัวร้าย แล้วเราจะพบว่าความทุกข์เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราต้องค่อยๆ เรียนรู้และรับมือกับมันไปตลอดชีวิต |
Mar 24, 2020 |
RUOK88 7 ขั้นตอนของการรับมือกับความเครียด [Re-Broadcast]
18:24
ด้วยเหตุการณ์ปัจจุบันทำให้หลายคนรู้ว่ากำลังเกิดความเครียด แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เป็นอยู่นั้นเราเครียดมากเกินไปไหม รับมือไหวหรือเปล่า ไปจนถึงเราจะรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร
R U OK ชวนคุยเรื่องวิธีการลดความเครียด ตั้งแต่เริ่มรับรู้ความเครียดที่อาจจับต้องได้ยาก สังเกตอาการทางกาย รวมถึงการจัดการอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นรูปธรรม เผื่อว่าอย่างน้อยเราจะพอจะรับมือความเครียดที่เกิดขึ้นได้โดยไม่จมดิ่งกับมันไปเสียก่อน |
Mar 20, 2020 |
RUOK153 เด็กดี-เด็กเกร เป็นเพียงนิยาม ร่วมเข้าใจธรรมชาติเพราะเด็กทุกคนบนโลกนี้ไม่เหมือนกัน
41:32
หลายครั้งที่เรารีบด่วนตัดสินว่าเด็กที่โดดเรียน เกเร ไม่อยู่ในกรอบวินัยที่ผู้ใหญ่วางไว้เป็นเด็กไม่ดี โดยเฉพาะคนใกล้ตัวอย่างพ่อแม่ที่อาจเห็นเพียงสิ่งที่เด็กแสดงออก แต่ไม่เคยค้นลึกลงไปถึงที่มาว่าเพราะอะไรเด็กถึงเลือกแสดงพฤติกรรมเหล่านั้น R U OK ชวนครูวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ มาช่วยกันหาคำตอบว่าจริงภายใต้สิ่งที่เด็กแสดงออก พ่อแม่ควรมีวิธีคิดอย่างไรเพื่อไม่ให้รีบตัดสินและจัดการกับพฤติกรรมเหล่านั้น โรงเรียนจะมีส่วนสนับสนุนอย่างไรให้เด็กแสดงออกในพฤติกรรมเชิงบวก เพราะไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกคนมีความเครียดที่แบกมา และต้องการการประคับประคองจิตใจไม่ต่างกัน |
Mar 16, 2020 |
RUOK152 ถกกันให้เห็นทางเลือก ‘การตี’ ยังจำเป็นอยู่ไหม แล้วลงโทษลูกอย่างไรให้เสริมแรงเชิงบวก
20:43
พ่อแม่มือใหม่หลายคนอาจจะโตมากับการถูกตีจนเกิดเป็นคำว่า ‘ได้ดีเพราะไม้เรียว’ แต่ในปัจจุบัน ‘การตี’ เป็นการลงโทษที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า หากมีเป้าหมายคืออยากเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก การตียังเป็นการลงโทษที่จำเป็นอยู่หรือเปล่า R U OK ชวน ครูร่ม-ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์ กระบวนกรจากกลุ่มมะขามป้อม มาร่วมกันถกว่าเราสามารถลงโทษลูกได้ด้วยวิธีไหนบ้างเพื่อให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพราะบางครั้งการตีอาจไม่ใช่แค่แผลที่ตัว แต่เป็นแผลที่ใจซึ่งต่อเนื่องยาวนานจนเป็นผู้ใหญ่ รวมถึงการเสริมแรงบวกซึ่งเป็นทางออกที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง |
Mar 12, 2020 |
RUOK151 ทำอย่างไรที่จะทำให้ทั้งพ่อและแม่เป็นทีมเดียวกันในการเลี้ยงลูก
15:33
ทัศนคติที่ว่าหน้าที่หลักของการเลี้ยงลูกเป็นของแม่ เพราะความเชื่อว่าผู้หญิงละเอียดอ่อนและใส่ใจมากกว่าผู้ชายนั้น กลายเป็นกับดักที่ทำให้หน้าที่เลี้ยงลูกตกเป็นของผู้หญิงโดยปริยาย โดยผู้ชายมีหน้าที่ช่วยเสริมแรงหรือผลัดเปลี่ยนเท่านั้น R U OK อยากชวนคุยเพื่อทบทวนกันอีกครั้ง ไม่ว่าพ่อหรือแม่ต่างก็มีความสำคัญในการเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่หลักของใคร แต่คือการจับมือเป็นทีมเดียวกัน สื่อสารและตกลงกัน เพราะการระหว่างที่ลูกกำลังพัฒนาการและซึมซับทางเลือกต่างๆ ในชีวิต พ่อแม่คือตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ลูกจะนำไปหยิบใช้ในอนาคต |
Mar 09, 2020 |
RUOK150 Deep Listening ทักษะการฟังเสียงในใจที่ลูกไม่ได้พูดออกมา
19:16
การสื่อสารคือทักษะสำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะหน่วยเล็กๆ อย่างครอบครัวที่บางครั้งเราได้ ‘พูด’ ในสิ่งที่เราต้องการ แต่เรากลับไม่ได้ ‘ฟัง’ สารที่อีกฝ่ายอยากส่งมาให้เรา นอกจาก Active Listening ที่เป็นทักษะสำคัญของการฟังแล้ว ยังมีการฟังอีกชนิดที่เรียกว่า Deep Listening ที่แปลเป็นภาษาไทยอย่างงดงามว่า การฟังด้วยหัวใจ ที่ไม่เพียงต้องตรวจสอบความพร้อมของอีกฝ่าย แต่ต้องใช้ประสาทสัมผัส และการสังเกต สีหน้าท่าทาง น้ำเสียง ที่อีกฝ่ายสื่อสารออกมา แล้วเราอาจพบว่าสาระสำคัญจริงๆ ไม่ได้อยู่เพียงคำที่เลือกใช้ แต่ความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังต่างหากที่สำคัญ |
Mar 05, 2020 |
RUOK149 ปรับ Mindset พ่อแม่มือใหม่ เพราะไม่ว่าครั้งแรกของใครก็ผิดพลาดได้เสมอ
21:04
ทุกคนล้วนมีสิ่งที่ต้อง ‘ทำ’ และ ‘เป็น’ ในครั้งแรกชีวิตเสมอ และครั้งแรกมักจะนำมาซึ่งความผิดพลาดหรือความไม่สมบูรณ์แบบเพราะนั่นคือธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการเป็น พ่อแม่คนครั้งแรก ที่หลายคนเฝ้ารอและใฝ่ฝันจะให้วันนั้นมันถึง เลยเครียดเกร็งและคิดว่าทุกอย่างจะต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป R U OK ซีรีส์ใหม่ประจำเดือนมีนาคม ไม่ได้จะกลายมาเป็นพอดแคสต์คู่มือการเลี้ยงลูก แต่อยากชวนปรับทัศนคติของการเป็นพ่อแม่มือใหม่ ว่าความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้ เราก็ยังต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันตลอดเวลา จุดสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะให้อภัยตัวเองได้อย่างไรเมื่อเราทำผิดพลาดต่างหาก |
Mar 02, 2020 |
RUOK148 Little Women ชวนมองความผูกพันในครอบครัวที่เป็นฐานของความเข้าใจและให้อภัยต่อกัน
16:54
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
หากใครเป็นคอหนังสือคงทราบอยู่แล้วว่าวรรณกรรมอมตะเรื่อง สี่ดรุณี หรือ Little Women ถูกดัดแปลงเป็นทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์ ละครพูด มิวสิคัลมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง หากความพิเศษในการสร้างเป็นภาพยนตร์ในครั้งนี้คือการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ดำเนินเป็นเส้นตรง หากแต่ตัดสลับเหตุการณ์อดีตปัจจุบันเช่นเดียวกับการที่เรารับรู้เรื่องราวของใครบางคนแบบไม่เรียงลำดับเวลา เช่นเดียวกับโลกจริง
นอกจากการเล่าเรื่องที่ส่งผลต่อการรับรู้และจิตใจผู้ชมแล้ว Little Women ยังมีอีกหลายประเด็นทางจิตวิทยาที่น่าหยิบมาชวนคุย R U OK เลือกความลึกซึ้งของสายสัมพันธ์พี่น้อง ที่น่าตั้งคำถามว่าความผูกพันในครอบครัว นำมาสู่ความเข้าใจและการให้อภัยได้อย่างไร |
Feb 27, 2020 |
RUOK147 The Irishman การสารภาพบาปที่ค้างคา และความเดียวดายของชีวิตที่ไม่ได้ตายแต่ก็เหมือนไม่มีชีวิตอยู่
18:54
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
มนุษย์ทุกคนล้วนมีความผิดบาปที่แฝงฝังอยู่ในใจ บางเรื่องได้ชำระสะสาง บางเรื่องผูกแน่นเป็นปมดึงให้เราจมรู้สึกอย่างไม่อาจคลี่คลาย The Irishman ของ ผู้กำกับอย่างมาร์ติน สกอร์เซซีก็ฉายให้เห็นความรู้สึกเหล่านี้
ไม่เพียงแต่การเป็นภาพยนตร์ Netflix ที่ทะเยอทยานยาวนานกว่า 3 ชั่วโมง, การใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกลดอายุนักแสดงลงไปหลายสิบปี แต่ในด้านความรู้สึกภาพยนตร์เรื่องนี้คล้ายเป็นการสารภาพบาปของตัวละครหลัก ขณะเดียวภาพยนตร์ชวนให้เราทบทวนตัวเองถึงการตัดสินใจและการเดินทางที่ผ่านมาของชีวิตเราด้วย |
Feb 24, 2020 |
RUOK146 Ford V Ferrari ฝ่าขีดจำกัดด้านจิตใจและเอาชนะ EGO ของตัวเอง
21:21
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์ หลังจากพอดแคสต์ The Secret Sauce เคยพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเด็น Ford v Ferrari บทเรียนจากนักแข่งรถผู้ไม่เคยเหยียบเบรกและไม่นิยมเลียก้นหัวหน้า ด้วยมุมมองของความขัดแย้งในวัฒนธรรมองค์กรแล้ว วันนี้ R U OK ชวนคุยถึงภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้งในมุมมองของจิตวิทยา ผ่านตัวละครหลักอย่างเคน ไมลส์ และคารอล เชลบี ในแข่งขันเลอม็องส์ที่ไม่เพียงแค่เป็นการเอาชนะขีดจำกัดด้านร่างกายของ ยังเป็นการทะลุด้านตัวตน จิตใจ และทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิต |
Feb 20, 2020 |
RUOK145 Once Upon a Time...in Hollywood รุ่งโรจน์ โรยร่วง และการยอมรับขาลงของชีวิต
26:17
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
Once Upon a Time...in Hollywood ผลงานของ เควนติน ทารันติโน ภาพยนตร์ที่พูดถึงช่วงสุดท้ายของยุคที่รุ่งโรจน์ของวงการฮอลลีวูด ผ่านสายตาของนักแสดงและสตันท์แมนที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงในอาชีพการงาน
นอกจากเรื่องจริงที่เควนตินนำมาดัดแปลงให้เป็นภาพยนตร์ และฝีมือการแสดงของ แบรด พิตต์ ที่คว้ารางวัลออสการ์ในสาขาสมทบชายซึ่งเป็นรางวัลแรกในชีวิตการแสดงแล้ว สิ่งที่น่านำมาพูดถึงในมุมของจิตวิทยา คือการเปลี่ยนผ่านของตัวละคร ‘ริก ดัลตัน’ จากชีวิตในช่วงที่รุ่งโรจน์สู่ความร่วงโรย ต้องต่อสู้กับความรู้สึกขาลงของตัวเองที่ไม่ใช่แค่เพียงสมรรถภาพของการทำงาน แต่สะท้อนถึงคุณค่าของตัวตน เขาจะยอมรับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร |
Feb 17, 2020 |
RUOK144 Marriage Story สำรวจซากปรักหักพังของความสัมพันธ์ นี่เรายังรักกันอยู่ใช่ไหม?
22:34
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
เนื่องในโอกาสวันแห่งความรักและเดือนแห่งออสการ์ คงไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนเหมาะไปกว่า Marriage Story ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่กำลังจะเลิกรากัน R U OK ชวน ประวิทย์ แต่งอักษร อาจารย์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาพูดคุยถึงการแสดงที่น่าประทับใจของ อดัม ไดรเวอร์ และ สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน ที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของมนุษย์อย่างละเอียดลออ ความคาดหวังในชีวิตคู่ และนำไปสู่การเรียนรู้ว่าเราไม่มีทางได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการร้อยเปอร์เซ็นต์ หากเรายังต้องการอีกคนมาเป็นคู่ในชีวิต |
Feb 13, 2020 |
RUOK143 1917 สงครามและเหตุผลของการมีชีวิตอยู่
33:20
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
แม้ว่าจะไม่ได้รางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ ‘1917’ ผลงานกำกับของ Sam Mendes ก็อยู่ในใจของใครหลายคน ด้วยเทคนิคลองเทกที่ทำให้เรารู้สึกมีประสบการณ์ร่วมราวกับอยู่ในสนามรบ แล้วมันเกี่ยวกับจิตวิทยาอย่างไร? R U OK ชวน ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส วิเคราะห์ ‘1917’ ในฐานะของคนดูว่าการมีประสบการณ์ผ่านสายตาของ 2 นายทหารในภาพยนตร์ที่สร้าง Empathy ให้กับคนดูการเดินทางผ่านอุปสรรคของตัวละครทำให้เกิดการเรียนรู้สู่เป้าหมายการมีชีวิตอยู่อย่างไร รวมถึงย้อนดูตัวเองว่าแรงผลักที่ทำให้เราออกไปใช้ชีวิตแต่ละวัน มาจากเหตุผลอะไรกันแน่ |
Feb 11, 2020 |
RUOK142 JOKER กะเทาะจิตใจที่ล่มสลาย สังคมสร้างวายร้ายได้จริงหรือ?
27:27
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง
เมื่อคราวที่หนังเรื่อง JOKER เข้าฉาย เกิดการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ด้วยความดาร์กดิบของหนังที่เสี่ยงต่อคนที่มีภาวะทางจิตใจ ดูแล้วอาจชวนหดหู่หรือดิ่งตาม เพราะ JOKER เวอร์ชันนี้ฉายภาพให้เห็นที่มาของมนุษย์คนหนึ่งก่อนที่จะถูกแปะป้ายว่าเป็นวายร้ายแห่งเมืองก็อตแธม เมืองสมมติที่ดูอย่างไรก็ไม่ได้ห่างไกลจากตัวเรา
R U OK เอพิโสดนี้ชวน ชาญชนะ หอมทรัพย์ อาจารย์พิเศษและนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาขุดลึกลงไปภายในจิตใจอันล่มสลายของ JOKER ว่าจริงๆ แล้ว ‘สังคม’ มีส่วนที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งกลายเป็นวายร้ายได้จริงหรือไม่ และเหตุผลอะไรที่ทำให้เลือกตอบโต้การถูกกระทำด้วยความรุนแรง |
Feb 06, 2020 |
RUOK141 Parasite แรงสะท้อนของการถูกกดทับ
33:36
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์
และแล้ว Parasite ก็สามารถคว้ารางวัลออสการ์มาครองได้สำเร็จ นี่คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 92 ปีของออสการ์ ที่ภาพยนตร์ต่างประเทศชนะรางวัลที่ใหญ่ที่สุด ด้วยความสากล ภาพยนตร์สามารถทำลายกำแพงวัฒนธรรมภาษา ให้ทุกคนรู้สึกร่วมถึงประเด็นสำคัญที่ต้องการจะสื่อ นั่นคือเรื่องโครงสร้างทางสังคมและการถูกกดทับ
R U OK และ THE STANDARD POP ชวนมองภาพยนตร์ Parasite ผ่านมุมมองทางจิตวิทยา เราอาจไม่ใช่ครอบครัวที่เหมือนกับในภาพยนตร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การตัดสินใจบางสถานการณ์ของตัวละครล้วนเชื่อมโยงให้เห็นตัวเราเองได้เสมอ |
Feb 03, 2020 |
RUOK140 แรงกระแทกจากคอมเมนต์ลบ การรับมือที่ Content Creator ต้องเจอ
24:04
Content Creator อาชีพในฝันของใครหลายคนโดยเฉพาะ GEN Z ที่เทคโนโลยีเข้าถึงมือ เพราะอาจรู้สึกว่าทำได้ไม่ยาก ใครๆ ก็สร้างคอนเทนต์ได้ เผลอๆ อาจทำรายได้ R U OK คุยกับ ‘มะเฟืองเอง’ Content Creator ที่ยืนระยะมาตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมปลายจนถึงมหาวิทยาลัย ด้วยความเฮฮาและเป็นเอง ทำให้มีผู้ติดตามอย่างสม่ำเสมอ แต่ในอีกด้านนึง เธอก็ต้องรับมือกับคอมเมนต์ด้านลบ ตั้งแต่ประเด็นที่สื่อสารจนถึงตัวตน เธอมีแนวคิดและวิธีการรับมืออย่างไร ที่เราอาจปรับใช้ได้กับการเล่นโซเชียลของตัวเอง |
Jan 30, 2020 |
RUOK139 เคารพซึ่งกันและกัน กุญแจสำคัญในการทำงานกับหลายเจเนอเรชัน
19:49
แทบทุกองค์กรหรือทุกบริษัทเต็มไปด้วยความหลากหลายของพนักงาน ทั้งบุคลิก เพศ ความสนใจ และเจเนอเรชัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดหากเกิดความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรืออาจถึงขั้นขัดแย้ง R U OK ชวน คุณบี-อภิชาติ ขันธวิธิ เจ้าของเพจ HR THE NEXT GEN มองปัญหาในออฟฟิศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ว่า เราจะเปลี่ยนทัศนคติอย่างไรให้มองเห็นความแตกต่างและเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ |
Jan 27, 2020 |
RUOK138 เมื่อเปลี่ยนงานบ่อยไม่เกี่ยวกับความไม่มั่นคง ทำไม Gen Z ถึงถูกมองว่าลาออกเก่ง
28:34
Gen Z บางส่วนกำลังขยับตัวเองจากโลกการเรียนเข้าสู่โลกการทำงาน ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าสู่สังคมใหม่อีกครั้ง แต่เมื่อต้องเอาตัวเองไปปะทะกับโลกที่เต็มไปด้วยคนต่างวัย ความเห็นที่ไม่ตรงกันจึงเกิดขึ้น R U OK ชวน คุณบี-อภิชาติ ขันธวิธิ เจ้าของเพจ HR THE NEXT GEN มาคุยกันถึงประเด็นที่หลายคนมองว่า Gen Z มีความอดทนต่ำ ไม่มีระเบียบการทำงาน ลาออกบ่อย เป็นการมองอย่างตัดสินเกินไปไหม และสาเหตุอะไรที่ส่งเสริมให้คนในวัยนี้เห็นทางเลือกมากมายในชีวิต |
Jan 24, 2020 |
RUOK137 Gen Z จะจัดการอารมณ์ตัวเองอย่างไรให้กลายเป็นทักษะสำคัญของชีวิต
19:28
R U OK พูดอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดพฤติกรรมที่น่าสงสัยแปลกไปจากเดิม ให้เข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางครั้งอาจดูเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง จะดีกว่าไหม ถ้าหากเราสามารถรู้จักตัวเองและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ ก่อนที่จะนำพาไปสู่โรคและความขัดข้องต่างๆ ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เด็กหญิงวัย 14 ปี ผู้ผลักดันให้ ‘วิชาการจัดการอารมณ์’ เป็นหนึ่งในหลักสูตรของการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้เด็กมีทักษะในการรับมือกับอารมณ์ต่างๆ และเป็นการป้องกันปัญหาด้านอารมณ์ที่ต้นเหตุ รวมถึงสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนและครู เพื่อให้เห็นตรงกันว่าปัญหาด้านจิตใจเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ |
Jan 21, 2020 |
RUOK136 เด็กหญิงอายุ 14 ปีผู้เรียกร้องให้เด็กพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องมีผู้ปกครอง
28:17
ก่อนหน้านี้การเข้าพบจิตแพทย์ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองหรือได้รับหนังสือยินยอม ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคให้กับเด็กบางส่วนที่อยากเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญด้วยตัวเองแต่ไม่สามารถทำได้ ด้วยปัญหานี้ R U OK ชวนคุยกับ ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เด็กหญิงวัย 14 ปี ที่เป็นแกนนำเรียกร้องในแก้ไขพระราชบัญญัติสุขภาพจิต เพื่อให้เด็กเข้าพบจิตแพทย์โดยไม่ต้องมีผู้ปกครอง เธอพบเห็นอะไรถึงผลักดันเรื่องนี้ ขณะนี้กระบวนการเป็นอย่างไร มาฟังเสียงของเธอชัดๆ ว่าไม่ว่าวัยไหนก็เผชิญกับความเครียดได้และต่างต้องการความช่วยเหลือ |
Jan 16, 2020 |
RUOK135 ทำอย่างไรดี เมื่อ GEN Z รู้สึกว่าตัวเองต้องรีบประสบความสำเร็จ
25:23
ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็เต็มไปด้วยคนที่ประสบความสำเร็จ แถมคนเหล่านั้นยังอายุน้อยลงเรื่อยๆ คน GEN Z ในปัจจุบันจึงดูเหมือนประสบภาวะกดดันให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่มีธุรกิจอะไรเป็นของตัวเอง ก็รู้สึกว่าต้องสร้างอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน R U OK ชวนคุยกับ ออกแบบ-ชุติมณฑน์ ตัวแทนของ GEN Z ที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จจากผลงานการแสดงครั้งแรกเรื่อง ฉลาดเกมส์โกง แต่ความเป็นจริง เธอยังตั้งคำถามกับคำว่าสำเร็จ ความรีบเร่งของยุคสมัยส่งผลต่อเจนเนอเรชันอย่างไร และความสำเร็จจะนำมาซึ่งความสุขได้จริงหรือเปล่า |
Jan 13, 2020 |
RUOK113 ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนพูดว่า อยากฆ่าตัวตาย [Re-broadcast]
15:18
หลายปีที่ผ่านมานี้ คงปฎิเสธไม่ได้ว่าภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในสาเหตุ ของอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในสังคมบ้านเรา แต่จริงๆ แล้วคนที่มีภาวะซึมเศร้าทุกคนไม่ได้อยากฆ่าตัวตาย และคนที่ฆ่าตัวตายทุกคนไม่ได้มีภาวะซึมเศร้า
R U OK ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้คำแนะนำ วิธีประคองใจของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อที่จะได้รู้จักวิธีสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจให้กันและกัน เรียนรู้วิธีการจัดการกับความรู้สึกของตัวเองตัวเองเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย รวมทั้งบทสนทนาใดบ้างที่เราสามารถพูดได้ เช่น บางคนเป็นกังวลที่จะถามผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเกี่ยวกับความตาย จริงๆ แล้วถามได้ไหม ถามอย่างไรเพื่อให้เข้าใจความรู้สึกของกันและกัน |
Jan 12, 2020 |
RUOK134 ไร้ใจ เย็นชา เห็นแก่ตัว? เข้าใจจีนจากฮาวทูทิ้งในมุมมองของจิตวิทยา กับ ออกแบบ ชุติมณฑน์
29:17
ถ้าพูดถึงภาพยนตร์ไทยตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ฮาวทูทิ้ง ผลงานล่าสุดของ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ จากค่าย GDH ที่พูดถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่พยายามทิ้งของและความสัมพันธ์เพื่อ Move on ไปข้างหน้า แต่ในรายละเอียดของภาพยนตร์เรื่องนี้ กลับมีประเด็นด้านจิตวิทยาและความสัมพันธ์ที่น่าพูดถึงมากมาย
R U OK เอพิโสดนี้ได้รับเกียรติจาก ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง นักแสดงผู้รับบท จีน นางเอกของเรื่อง มาร่วมวิเคราะห์พฤติกรรมตัวละครว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้น จีนเป็นคนเห็นแก่ตัวและไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่นจริงไหม ร่องรอยความขัดแย้งระหว่างเจเนอเรชันเกิดจากอะไร พร้อมทั้งเบื้องหลังของตัวละครที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน!
*พอดแคสต์นี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญบางส่วนของภาพยนตร์ |
Jan 09, 2020 |
RUOK133 ธรรมชาติของ Gen Z และความกดดันที่ต้องเผชิญ
28:49
ซีรีส์ใหม่รับปีใหม่ของ R U OK ว่าด้วยเรื่องคนรุ่นใหม่ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘คน Gen Z’ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการแบ่งประชากรตามหลักสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่มองคนในลักษณะปัจเจก แต่สิ่งที่น่าสนใจของมนุษย์ที่เกิดตั้งแต่ยุค 2000 ที่เทคโนโลยีเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์อย่างแยกกันไม่ออก ก็เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และมีความเชื่อมโยงกับจิตใจไม่น้อย เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น R U OK ชวน นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้ทำงานกับเด็กและวัยรุ่น มาคุยกันเรื่องความทุกข์ ความกดดันที่ Gen Z ต้องรับมือ การปะทะความคิดกันระหว่างวัย และจะมีวิธีที่ไหนที่จะเห็นตรงกลางร่วมกัน |
Jan 06, 2020 |
RUOK59 ปรับเปลี่ยนนิสัยดีๆ รับปีใหม่ และจะต่อสู้อย่างไรกับข้ออ้างในใจตัวเอง (Re-broadcast)
19:52
ช่วงต้นปีแบบนี้หลายคนมักตั้ง New Year’s Resolutions ให้กับตัวเอง แต่ก็มักประสบปัญหาคือทำได้ไม่นานก็ล้มเลิก R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากช่วยวางแผนให้ทุกคนทำปณิธานปีใหม่ให้สำเร็จ ตั้งแต่วิธีการเริ่มตั้งเป้าหมายให้ชัด ต่อสู้กับข้ออ้าง จนถึงการลงมือทำ เพราะทุกๆ พฤติกรรมของมนุษย์เมื่อปฏิบัติเป็นประจำ ก็สามารถกลายเป็นนิสัยดีๆ ที่เราต้องการได้เสมอ |
Jan 03, 2020 |
RUOK132 ฝึกให้ใจสงบส่งท้ายปี ด้วยการ Meditation
31:38
ช่วงสิ้นปีที่หลายคนถือโอกาสสงบทบทวนตัวเอง R U OK ขอเป็นส่วนหนึ่งด้วยการนำเสนอเรื่อง Meditation ศาสตร์ที่มีอยู่อย่างยาวนาน ชวนให้เรากลับมามีสมาธิกับกิจกรรมที่ทำตรงหน้า พร้อมชวน Meditation ภาคปฏิบัติจริงผ่านการกินและการเคลื่อนไหวที่สามารถทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน |
Dec 30, 2019 |
RUOK131 ส่งต่อแรงบันดาลใจให้เห็นคุณค่าการมีชีวิต กับ Art for Cancer by Ireal
27:39
ขณะที่วางแผนจะไปเรียนต่อต่างประเทศ ออย-ไอรีล ไตรศาลศรี ในวัย 26 ปี พบว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษา ระหว่างนั้นเธอค่อยๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคและเพื่อนร่วมโรค จนเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดโครงการ Art for Cancer by Ireal โครงการส่งต่อแรงบันดาลใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการระดมทุนผ่านศิลปินและจิตอาสา
หากแต่เรื่องราวไม่จบแค่นั้นเพราะเมื่อ Art for Cancer by Ireal ดำเนินมาได้ถึง 6 ปี เธอก็พบว่าตนเองกลับมาเป็นมะเร็งระยะที่ 4 เธอผ่านเรื่องราวทั้งหมดมาด้วยทัศนคติของการมีชีวิตอย่างไร และในขณะเดียวกันเธอก็สามารถแบ่งปันส่งต่อคุณภาพชีวิตและซัพพอร์ตจิตใจให้คนอื่นๆ ได้อีกด้วย |
Dec 26, 2019 |
RUOK130 อยู่ร่วมกับโรคทางกายด้วยจิตใจที่แข็งแรง
29:14
จะทำอย่างไรเมื่อมีชีวิตเหลืออยู่เพียง 6 เดือน
ด้วยคำถามของคนไข้ที่กระตุ้นจิตใจของ ‘หมอโจ้’ แพทย์หญิงพัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง จึงตัดสินใจเรียนต่อด้านศิลปะบำบัด เพื่อนำศิลปะมาช่วยเยียวยาให้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย R U OK ชวนหมอโจ้มาแชร์ประสบการณ์การบำบัดผู้ป่วย พร้อมวิธีที่จะประคับประคองจิตใจหากคนรอบข้างต้องอยู่ร่วมกับโรคทางกายด้วยการเห็นหัวใจกันมากขึ้น |
Dec 24, 2019 |
RUOK129 ให้อภัย การให้ที่ปราศจากเงื่อนไขและสงบสมบูรณ์ในตัวเอง
20:27
การบริจาค การให้ทาน นอกจากจะเป็นการให้ในรูปของสิ่งของ ความรู้สึก สละตัวตนของเราแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่หลายครั้งหลงลืม คือการ ‘ให้อภัย’ ช่วงสิ้นปีแบบนี้ นอกจากเราจะ ‘ให้’ คนอื่นแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีในการทบทวนและ ‘ให้อภัยตัวเอง’ ได้อีกด้วย R U OK ชวนคิดว่าแท้จริงแล้วการให้อภัยตัวเองกับการให้อภัยคนอื่นคือสิ่งเดียวกัน ชวนให้เห็นความคาดหวัง ความต้องการที่มีต่อตัวเอง อันจะเป็นรากฐานและจุดตั้งต้นสำคัญของการรู้จักการให้อภัย |
Dec 19, 2019 |
RUOK128 จะเกลียดตัวเองหรือโกรธคนอื่น กุญแจสำคัญอยู่ที่มองทะลุให้เห็นความต้องการ
24:45
เกลียด โลภ โกรธ หลง เป็นอารมณ์พื้นฐานที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ แต่หลายครั้งเมื่อมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นเรามักรีบตัดสินว่าเป็นอารมณ์เชิงลบ ควรรีบจัดการให้หมดไปโดยเร็ว ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว หากเราประวิงเวลาสักนิด ค่อยๆ ทบทวน เราสามารถรู้จักตัวเองได้มากมายจากอารมณ์เหล่านี้ R U OK เอพิโสดนี้ชวนสำรวจอารมณ์ เกลียด โลภ โกรธ หลง ที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนอื่น กุญแจสำคัญที่คล้ายกันคือเราต้องมองทะลุให้เห็นความต้องการหรือความคาดหวังที่มีต่อตัวเอง ต่อคนตรงหน้า ที่แนบซ้อนมาด้วยกับความรู้สึกเหล่านั้น พร้อมชวนถามตัวเองต่อไปว่า จากตรงนี้เราทำอะไรได้อีกบ้าง? |
Dec 16, 2019 |
RUOK127 พิจารณาความทุกข์ผ่านมุมมองจิตวิทยาและพุทธศาสนา
23:13
หลายครั้งที่จิตวิทยาซึ่งเป็นเหมือนศาสตร์แห่งโลกตะวันตก มีความสอดคล้องกับพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสตร์ของโลกตะวันออก เพราะทั้ง 2 ศาสตร์กำลังพูดถึงสิ่งเดียวกันคือการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพจิตใจของมนุษย์ ซีรีส์ Sharing is Caring ประจำเดือนนี้ R U OK ชวน สมภพ แจ่มจันทร์ นักจิตวิทยาจากศูนย์บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและส่งเสริมสุขภาวะ Knowing Mind มาอธิบายความสอดคล้องของหลักการทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา โดยโฟกัสไปที่เรื่อง ‘ความทุกข์’ ที่สามารถเกิดขึ้นในใจของทุกคน เราจะเริ่มรับรู้ พิจารณา และจัดการความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจได้อย่างไร |
Dec 12, 2019 |
RUOK126 “แบ่งให้เพื่อนด้วยสิ” ประโยคคำสั่งที่อาจเป็นบาดแผล แล้วเราจะสอนให้เด็กรู้จักการแบ่งปันอย่างไรให้ถูกวิธี
22:41
พ่อแม่ทุกคนเชื่อว่าการแบ่งปันเป็นสิ่งดี เพราะได้ให้และเกิดความรู้สึกดีภายใน แต่ชีวิตมนุษย์ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การสอนด้วยการ ‘สั่ง’ ให้ทำตรงๆ จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีในการที่จะให้เด็กเรียนรู้วิธีการแบ่งปัน แถมบางครั้งอาจเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีด้วยซ้ำ R U OK คุยกับ นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กและวัยรุ่น เพื่อชวนให้เห็นพัฒนาการของเด็กที่เชื่อมโยงกับการแบ่งปันว่า เราจะสอนให้เด็กรู้จักการแบ่งปันได้อย่างไร เริ่มจากการเรียนรู้การแพ้ชนะ การต่อคิว จนค่อยๆ ขยับไปเป็นสิ่งของ หรือแม้แต่การทำเป็นตัวอย่างให้ดูของพ่อแม่ ก็ล้วนส่งผลต่อประสบการณ์การแบ่งปันของเด็กที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต |
Dec 09, 2019 |
RUOK125 ทฤษฎีสามเหลี่ยมความสัมพันธ์ กับรากฐานสำคัญในการสร้าง Quality Time ในครอบครัว
23:37
ช่วงเวลาสิ้นปี เป็นจังหวะที่หลายครอบครัวหาโอกาสมาเจอหน้าค่าตากัน สร้างกิจกรรมร่วมกันเพื่อสานสัมพันธ์ให้เกิดช่วงเวลาดีๆ หรือที่เราเคยได้ยินกันชินหูว่า Quality Time แต่จริงๆ แล้วช่วงเวลาคุณภาพที่ว่านั้นคืออะไร R U OK ชวน นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยา มาช่วยคิดทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาคุณภาพ หรือ Quality Time ในครอบครัวที่แท้จริงแล้วไม่เกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่ใช้จ่ายร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นโอกาสพิเศษสำคัญ หากแต่วัดกันที่เจตจำนงและความรู้สึก และถ้าหากมองเห็นว่า Quality Time คือเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เราจะเริ่มสร้างมันไปด้วยกันอย่างไร |
Dec 06, 2019 |
RUOK124 การแบ่งปันคือการสร้างสมดุลภายใน เพราะทำให้เรารู้ว่าไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกนี้
22:02
เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเฉลิมฉลองและการแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆ R U OK เลยอยากชวนสำรวจการแบ่งปันภายใต้ซีรีส์ ‘Sharing is Caring’ ที่การแบ่งปันไม่ใช่เพียงการให้แต่ยังคือความใส่ใจ และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงสิ่งของที่เป็นรูปธรรมเพียงอย่างเดียว
เริ่มที่เอพิโสดแรกของซีรีส์ที่จะชวนให้เห็นคอนเซปต์ของการ ‘แชร์’ ว่าเริ่มจากธรรมชาติของมนุษย์ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ ที่เริ่มแบ่งปันประสบการณ์ด้วยการเลียนแบบบุคคลที่ปฏิสัมพันธ์ตรงหน้าด้วยการเล่นหูเล่นตา แล้วค่อยสั่งสมประสบการณ์และเรียนรู้มาทั้งชีวิต การแบ่งปันที่ดีมีองค์ประกอบอย่างไร สร้างเสริมจิตใจผู้ให้และผู้รับแน่แง่ไหน รวมถึงจะแบ่งความเป็นเราสู่คนรอบข้างทำงานอย่างไร เพื่อทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในโลกใบนี้ |
Dec 03, 2019 |
RUOK123 ทำไมเหนื่อยล้าต้องเดินเข้าป่า เพราะธรรมชาติบำบัดจิตใจเราได้จริงๆ
21:07
เอพิโสดสุดท้ายในซีรีส์ความสัมพันธ์ ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เลยชวนยูทูบเบอร์ที่ได้รับฉายาว่า ‘สายเขียว’ อย่าง ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา มาคุยกันอีกครั้งถึงการใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ธรรมชาติบำบัด และบำบัดให้ธรรมชาติของดุจดาว วัฒนปกรณ์ที่ดำน้ำตัดอวนเพื่อรักษาปะการัง เพราะจิตใจเราเชื่อมโยงกับธรรมชาติและเกี่ยวข้องกับภาวะการยอมรับตัวเอง (Self Acceptance) อีกด้วย |
Nov 28, 2019 |
RUOK122 ในมุมวิทยาศาสตร์ ร่างกายและจิตใจทำงานอย่างไรขณะมีเซ็กซ์
16:03
เมื่อพูดถึงชีวิตคู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนจะแยกขาดจากกันไม่ได้คือเรื่อง ‘เซ็กซ์’ หรือ เพศสัมพันธ์ R U OK ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์เล่าเรื่องเพศสัมพันธ์ผ่านมุมมองของวิทยาศาสตร์ ที่สะท้อนผ่านร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์
เซ็กซ์จำเป็นสำหรับชีวิตคู่ไหม เซ็กซ์สะท้อนความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปอย่างไร และจะสื่อสารอย่างไรเมื่อความต้องการไม่ตรงกัน |
Nov 25, 2019 |
RUOK121 คลี่ชีวิต 24 ชม. หาที่มาอาการนอนไม่หลับ พร้อมเทคนิคการเคลียร์ขยะใจ
19:02
แม้เราจะรู้ว่าการนอนเป็นเรื่องสำคัญ เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตหมดไปกับการนอน แต่เรายังเจออาการนอนไม่หลับได้เสมอ บางครั้งก็หลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาก็ยังง่วง บางครั้งก็หลับตื้นๆ โดยที่หาสาเหตุไม่เจอ R U OK ชวน พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคนอนไม่หลับ มาคลี่ชีวิตและพฤติกรรมของเราทั้ง 24 ชั่วโมงเพื่อให้เห็นที่มาของการนอนไม่หลับ ทุกเรื่องสัมพันธ์กัน ทั้งเวลาตื่น การหลับช่วงบ่าย พร้อมเทคนิคการเคลียร์ขยะใจเพื่อให้โล่งโปร่งสบายพร้อมหลับไปอย่างมีคุณภาพ |
Nov 21, 2019 |
RUOK120 ทฤษฎีวิวัฒนาการและการตอบคำถามว่าทำไมมนุษย์ไม่สบายใจเวลาอยู่กับคนแปลกหน้า
21:54
นอกจากเรื่องความรัก วิทยาศาสตร์ก็สามารถตอบคำถามหลายอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะความรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องเข้าสังคมใหม่หรือต้องผูกสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า R U OK ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์ มามองความสัมพันธ์ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ ว่าอาการประหม่าของมนุษย์เมื่อเจอคนแปลกหน้าเป็นธรรมชาติหรือถูกพัฒนามาอย่างไร และเราจะเริ่มต้นผูกมิตรกับใครสักคนด้วยวิธีการอย่างไร |
Nov 18, 2019 |
RUOK119 เปิดหู เปิดใจ ทะเลาะกันอย่างไรให้เข้าใจกันมากขึ้น
15:05
ในความสัมพันธ์ชีวิตคู่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีความเห็นไม่ตรงกันจนเกิดการทะเลาะขึ้น แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าปลายทางของการทะเลาะคืออะไร R U OK ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์ เจ้าของเพจ Therory of Love มาคุยถึงเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นในชีวิตคู่อย่างการทะเลาะ ว่ามีข้อห้ามอะไรบ้าง และมีวิธีไหมที่ทเลาะกันแล้วจะนำพาไปสู่ความเข้าใจที่มากขึ้นกว่าเดิม |
Nov 14, 2019 |
RUOK118 จากตกหลุมรักจนถึงหมดโปรโมชัน เมื่อความรักอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์
24:16
‘ความรัก’ คือความรู้สึกหนึ่งของมนุษย์ที่พยายามหาคำอธิบายกันตลอดมา ทั้งเรื่องโรแมนติก พรหมลิขิต รักแรกพบ แต่อีกนัยหนึ่งความรักก็สามารถไขคำตอบได้ด้วยมุมมองของวิทยาศาสตร์ R U OK ซีรีส์ความสัมพันธ์ ชวน นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์ เจ้าของเพจ Theory of Love มาอธิบายความรักด้วยทฤษฎีจิตวิทยาวิวัฒนาการ เพื่อร่วมหาคำตอบกันว่า ทำไมเราถึงรักกัน ความรักมันมีสเตปขั้นตอนไหม และหากความรักดำเนินต่อไปมีโอกาสหมดโปรโมชันได้จริงหรือเปล่า |
Nov 12, 2019 |
RUOK117 ทำอย่างไรเมื่อบ้านไม่ใช่คอมฟอร์ตโซนของกันและกัน
19:25
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ตัว บ่มเพาะความเป็นเรา และมีอิทธิพลกับชีวิตเรามากๆ คือ ‘ครอบครัว’ สำหรับบางคนครอบครัวคือที่พึ่งพิงทางความรู้สึก แต่กับบางคนกลับคือที่แห่งความไม่ปลอดภัยทางใจ R U OK ชวน นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น มาคุยกันในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ ว่าจริงๆ แล้วครอบครัวจำเป็นต้องเป็นคอมฟอร์ตโซนไหม และจะสื่อสารกันอย่างไรเมื่อบ้านไม่ใช่ที่พักทางใจซึ่งกันและกัน |
Nov 07, 2019 |
RUOK116 โอบกอดข้อเสียของตัวเอง เพราะอย่างไรก็เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา
17:45
มนุษย์ทุกคนล้วนมีข้อเสีย ทางกายภาพอาจเห็นได้ง่ายเพราะจับต้องได้เป็นรูปธรรม แต่ทางจิตใจ หากเราไม่สำรวจลงไปให้ลึก ก็อาจไม่พบความแหว่งวิ่น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านไหนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย R U OK ชวน ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา บิวตี้บล็อกเกอร์ที่ทำยูทูบซีรีส์ ‘ดึงสติ’ มาแชร์เรื่องการพิจารณาข้อเสียของตัวเอง รวมถึงวิธีการยอมรับข้อเสียต่างๆ ว่าไม่ว่าจะดีร้ายอย่างไรมันก็เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา |
Nov 04, 2019 |
RUOK115 ขั้นตอนการเป็นเพื่อนแท้กับตัวเอง
16:56
เข้าสู่เดือนพฤศจิกายน ด้วยซีรีส์ใหม่ที่ว่าด้วยเรื่อง ‘ความสัมพันธ์’ ตลอดทั้งเดือนเราจะคุยจิตวิทยา ผ่านเรื่องราวของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างจิตใจกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับตัวเอง ความสัมพันธ์ของสารเคมีในรายกายเรา ความสัมพันธ์กับหมู่เพื่อน สังคม จนไปถึงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เอพิโสดแรกของซีรีส์ R U OK ชวน พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล มาพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงวิธีการรับรู้เสียงที่อยู่ข้างในตัวเรา เพื่อที่จะได้สร้างมิตรภาพกับตัวเอง รู้จักเพื่อนแท้ใกล้ตัวคนนี้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างมิตรภาพที่ดีกับคนรอบข้าง |
Oct 31, 2019 |
RUOK114 วาดรูป ละคร การเคลื่อนไหว ศิลปะที่ช่วยบำบัดและทำงานกับความซับซ้อนของจิตใจ
20:59
ซีรีส์ ‘วันนี้เราจะไม่เศร้า’ ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา ยูทูบเบอร์ผู้มีความหลงใหลในงานศิลปะ ชวน R U OK ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสตร์ของศิลปะ ศิลปะบำบัด ทำงานกับร่างกายและจิตใจมนุษย์อย่างไร งานของนักจิตบำบัดทำงานต่างกับจิตแพทย์อย่างไร รวมทั้งการใช้ ‘ศิลปะ’ ซึ่งไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่ใช้ศิลปะเป็นกระบวนการเป็นตัวช่วยให้มนุษย์ได้ระบายความเครียดและเข้าใจตัวเองมากขึ้น เริ่มต้นจากการปรับร่างกาย สู่การสังเกตดูว่าจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง |
Oct 28, 2019 |
RUOK113 ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนพูดว่า อยากฆ่าตัวตาย
15:18
หลายปีที่ผ่านมานี้ คงปฎิเสธไม่ได้ว่าภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในสาเหตุ ของอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในสังคมบ้านเรา แต่จริงๆ แล้วคนที่มีภาวะซึมเศร้าทุกคนไม่ได้อยากฆ่าตัวตาย และคนที่ฆ่าตัวตายทุกคนไม่ได้มีภาวะซึมเศร้า R U OK ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้คำแนะนำ วิธีประคองใจของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อที่จะได้รู้จักวิธีสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจให้กันและกัน เรียนรู้วิธีการจัดการกับความรู้สึกของตัวเองตัวเองเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย รวมทั้งบทสนทนาใดบ้างที่เราสามารถพูดได้ เช่น บางคนเป็นกังวลที่จะถามผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเกี่ยวกับความตาย จริงๆ แล้วถามได้ไหม ถามอย่างไรเพื่อให้เข้าใจความรู้สึกของกันและกัน |
Oct 25, 2019 |
RUOK112 ดูแลกายและใจอย่างไร เมื่อถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า
18:14
คนจำนวนไม่น้อยที่เดินเข้าไปพบจิตแพทย์ และถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า อาจเกิดความสงสัยว่านอกจากการกินยาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไรอีกบ้าง R U OK ชวน พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล จิตแพทย์จากสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มาตอบข้อสงสัยทั้งกินยาแล้วกินแอลกอฮอล์ได้ไหม? จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือเปล่า? จะมีวิธีสังเกตสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อย่างไร เพื่อให้ช่วงเวลาที่ไม่เจอหมอเราสามารถประคองตัวเองให้ผ่านไปได้ |
Oct 21, 2019 |
RUOK111 ไปเจอจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำตัวอย่างไร และผิดไหมหากไม่รู้สึกไม่คลิกกับหมอ
22:09
อยากไปหาจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำอย่างไร? ต้องเตรียมตัวเล่าเรื่องตัวเองไหม? คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนต่างกันอย่างไร? ใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมได้หรือเปล่า? วอล์กอินได้ไหมหรือต้องโทรจองก่อน?
R U OK คุยกับ พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล เพื่อตอบคำถามของการไปหาจิตแพทย์ครั้งแรกว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้การไปพบแพทย์มีความหมายมากที่สุด |
Oct 17, 2019 |
RUOK110 เมื่อวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้า จะสื่อสารอย่างไรให้คนรอบข้างเข้าใจ
21:26
วัยรุ่นเป็นวัยที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิต ทั้งด้านร่างกาย ความคิด และสังคม จึงเป็นวัยหนึ่งที่อาจเกิดความเครียดและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ไม่ต่างจากวัยผู้ใหญ่ R U OK ชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น มาร่วมหาทางออกว่า ถ้าวัยรุ่นเริ่มรู้สึกว่าตัวเองอาจเข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้า ควรเริ่มต้นสื่อสารกับใคร ด้วยวิธีการไหน จึงจะนำมาสู่ความเข้าใจและประคับประคองจิตใจไปด้วยกัน |
Oct 14, 2019 |
RUOK109 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่ชวนทำความเข้าใจ
29:47
R U OK ในซีรีส์โรคซึมเศร้าเอพิโสดนี้ ชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยามาพูดคุยกันอีกครั้งถึง 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่เราอาจไม่เข้าใจเพราะนึกหน้าตาและความรู้สึกนั้นไม่ออก บางคนเชื่อว่าไม่ต้องไปพบแพทย์แต่สามารถชนะได้ด้วยใจ, บางคนเชื่อว่าถ้าผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ก็เท่ากับปกติดี, บางคนสงสัยว่าทำไมอยู่เป็นเพื่อนแล้ว ผู้ป่วยถึงยังเศร้า ฯลฯ R U OK จะค่อยๆ ทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้น |
Oct 10, 2019 |
RUOK108 โรคซึมเศร้าไม่ได้แค่เศร้า เพราะแต่ละวัยก็มีการแสดงออกที่ต่างกัน
15:12
‘วันนี้เราจะไม่เศร้า’ ซีรีส์ใหม่ประจำเดือนตุลาคมของ R U OK ที่ว่าด้วยเรื่องโรคซึมเศร้า ซึ่งแม้เราจะพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่เพราะโรคที่ใกล้ตัวเราและคนรอบข้างขึ้นมาทุกที R U OK เลยขอลงรายละเอียด เพื่อให้เข้าใจโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น
เอพิโสดนี้ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่แสดงอาการต่างกันไปในแต่ละวัย ในวัยเด็กอาจก้าวร้าว หงุดหงิด ส่วนผู้สูงวัยอาจซึม พูดน้อย ดังนั้นเราจะมีวิธีการสังเกตอย่างไรเพื่อได้พบผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที |
Oct 07, 2019 |
RUOK107 Self-Management ทักษะในการจัดการชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ที่ต้องเรียนรู้กันไปทั้งชีวิต
20:31
เอพิโสดสุดท้ายในซีรีส์ ‘Self’ ว่าด้วยเรื่อง Self-Management หรือการบริหารจัดการตัวเอง โดยมีแขกรับเชิญพิเศษคือ ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา อินฟลูเอนเซอร์รุ่นใหม่ที่ผ่านประสบการณ์การบริหารจัดการชีวิตด้วยแนวคิดที่แตกต่าง พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนต่างเจเนอเรชันอย่าง ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ว่าจริงๆ แล้วหลักในการบริหารจัดการชีวิตและจิตใจสามารถทำได้จริงไหม มีขั้นตอนอย่างไร และเป้าหมายแบบไหนที่โอเคสำหรับตัวเอง |
Oct 03, 2019 |
RUOK106 ความมั่นคงและความปลอดภัยทางใจ รากฐานสำคัญของการมี Self-Esteem
21:58
ในซีรีส์ ‘Self’ หากจะไม่พูดถึง ‘Self-Esteem’ เลย ก็คงจะไม่ได้ แต่ครั้งนี้เราจะพาไปมอง ‘Self-Esteem’ ที่ผูกโยงกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ย้อนไปให้เห็นที่มาของ ‘Self-Esteem’ ซึ่งถูกหล่อหลอมมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัวและโรงเรียน และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เราจะสังเกตตัวเองได้อย่างไรว่าเรารับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำเกินความเป็นจริงหรือเปล่า |
Sep 30, 2019 |
RUOK105 Self-Awareness ประตูบานแรกที่เปิดเข้าสู่จักรวาลในใจ และทำให้เราตระหนักรู้ในตัวเอง
18:56
R U OK พอดแคสต์ยังอยู่ในซีรีส์ ‘SELF’ โดยเอพิโสดนี้ขอพาไปทำความรู้จักกับคำว่า ‘Self-Awareness’ ศัพท์ทางจิตวิทยาที่ไม่ค่อยได้ยิน แต่มีความสำคัญเพราะมันคือการตระหนักรู้ในตัวเองว่าเราคือใคร คล้ายกับการเปิดประตูเข้าไปทำความรู้จักจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลในตัวเอง เจอทั้งเรื่องดี เรื่องร้าย มุมที่น่ารัก มุมที่น่าชังมากมาย
พร้อมแล้ว มาเปิดประตูกัน |
Sep 26, 2019 |
R U OK104 เราจำเป็นต้องรู้จัก ‘ตัวตน’ ของตัวเองไหม ในเมื่อตัวเราก็เปลี่ยนไปทุกวัน
17:55
R U OK ซีซั่น 3 กลับมาแล้ว! ซีซั่นนี้ดุจดาว วัฒนปกรณ์จะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ มาเจาะลึกด้านจิตวิทยา รวมถึงแต่ละเดือนจะนำเสนอเป็นซีรีส์เพื่อทำความรู้จักตัวเองให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
เริ่มที่ซีรีส์แรก ‘SELF’ คำตั้งต้นของศัพท์ทางจิตวิทยาหลายๆ คำ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมากที่สุดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน ตัวตนที่แท้จริงเราคือใคร ความต้องการคืออะไร และตัวตนที่แท้เราเป็นแบบไหนเพราะเราเองก็เปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน |
Sep 23, 2019 |
RUOK41 คิดถึงความตายบ่อยๆ เป็นอะไรไหม คิดถึงความตายในแง่มุมไหนที่ควรระวัง [RE-BROADCAST]
13:57
เนื่องในวันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก R U OK ชวนสำรวจความคิดเกี่ยวกับความตายที่อาจลั่นขึ้นมาในหัว ว่าความคิดแบบไหนที่ยัง Healthy ความคิดแบบไหนที่ควรระวัง การวางแผนในช่วงบั้นปลายชีวิตกับความคิดอยากฆ่าตัวตายเหมือนกันหรือไม่ และเมื่อคนรอบข้างยกประเด็นความตายมาปรึกษา เราควรใส่ใจอย่างไร
Time index 01:58 คิดถึงความตายกับคิดอยากฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร 02:55 เราหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตายเพราะกลัวเป็นเรื่องไม่มงคล 04:34 อยากฆ่าตัวตายคือการตั้งคำถามกับคุณค่าของชีวิตตัวเอง 09:00 ถ้าเพื่อนพูดถึงเรื่องความตาย อย่าเพิ่งปัดตก แต่ให้ตั้งใจฟัง 10:06 คิดถึงความตายแบบไหนที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ |
Sep 10, 2019 |
RUOK66 ทั้งอิ่ม ทั้งรู้สึกผิด แต่ยังกินไม่หยุด อาจเข้าข่ายภาวะกินแบบหยุดไม่ได้ ซึ่งต้องได้รับการรักษา [RE-BROADCAST]
17:13
อาการทางกายกับความรู้สึกทางใจสัมพันธ์กันอย่างที่เราคาดไม่ถึง หลายพฤติกรรมที่เราเห็นจึงมีสาเหตุลึกๆ ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ โดยเฉพาะการกินที่เราทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ กินจนเกินความต้องการจนบางครั้งอาเจียนออกมา R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนไปสำรวจเหตุผลทางใจว่า ทำไมถึงเกิดอาการกินแบบหยุดไม่ได้ ความรู้สึกอะไรที่ซ่อนอยู่หลังพฤติกรรมเหล่านี้ และหากอยากบำบัดรักษาจะมีโอกาสดีขึ้นไหม
Time index 02:53 จินตนาการกับมโนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 03:05 เราจินตนาการกันมาตั้งแต่เด็กด้วยการเล่น 03:29 จินตนาการทำให้แรงปรารถนาลึกๆ ของมนุษย์ได้บริหาร 08:20 ถ้าเสียเวลาไปกับการมโนเกินไป ควรทำอย่างไร 09:22 บางคนแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องมโนได้ แต่ยับยั้งความรู้สึกไม่ได้ 11:35 แยกเรื่องจริงกับเรื่องมโนไม่ได้ อาจมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ |
Aug 30, 2019 |
RUOK47 มโน จิ้น จินตนาการบ่อยๆ ทำให้บริหารแรงปรารถนาในใจแต่มโนหนักแค่ไหนถึงต้องหาหมอ [Re-Broadcast]
18:48
ในด้านจิตใจการจินตนาการหรือการมโนมีประโยชน์ตรงที่เราได้ทบทวนตัวเอง นำเอาแรงปรารถนาลึกๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันออกมาบริหารคล้ายๆ กับการเล่นของเล่นในวัยเด็ก แต่ถ้าเริ่มแยกความจริงกับสิ่งที่จินตนาการไม่ออก ก็ควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนมาชี้เส้นแบ่งที่ว่า พร้อมทั้งชวนสำรวจอาการอื่นๆ ที่มาจากมโน
Time index 02:53 จินตนาการกับมโนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 03:05 เราจินตนาการกันมาตั้งแต่เด็กด้วยการเล่น 03:29 จินตนาการทำให้แรงปรารถนาลึกๆ ของมนุษย์ได้บริหาร 08:20 ถ้าเสียเวลาไปกับการมโนเกินไป ควรทำอย่างไร 09:22 บางคนแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องมโนได้ แต่ยับยั้งความรู้สึกไม่ได้ 11:35 แยกเรื่องจริงกับเรื่องมโนไม่ได้ อาจมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ |
Aug 27, 2019 |
RUOK65 การเลี้ยงดูของครอบครัวอาจเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการขึ้นมา ควรฟังเสียงตัวเองอย่างไร [Re-Broadcast]
17:48
ความรู้สึกไร้ค่า เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อกำลังเผชิญสถานการณ์ที่รู้สึกว่าตัวเองสามารถเป็นประโยชน์หรือแสดงศักยภาพได้เต็มที่มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น บางครั้งรู้สึกว่าเป็นพนักงานที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรเท่าที่ควร เป็นประชาชนที่ไม่สามารถขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ หรือแม้แต่หน่วยเล็กๆ อย่างครอบครัวเราก็อาจรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ แต่สำหรับบางคน ความรู้สึกไร้ค่าก็เกิดขึ้นบ่อยจนชวนให้สงสัย R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจความไร้ค่าที่บางครั้งอาจมาจากเรื่องเล็กๆ ในครอบครัวที่มองข้าม แต่กลับส่งผลมากมายกับความรู้สึก พฤติกรรมที่ว่าคืออะไร และเราจะรู้เท่าทันตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้น
Time index 02:08 ความรู้สึกไร้ค่าแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน 03:47 ความรู้สึกไร้ค่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน 04:25 ลึกๆ แล้วบางคนรู้สึกเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ต่อองค์กร 04:55 บางคนแสดงความรู้สึกไร้ค่าด้วยความคิดที่ว่าไม่ทำคนเดียวก็ไม่เห็นเป็นไร 06:24 เด็กรับรู้ถึงคุณค่าผ่านเงินไม่ได้ 09:24 เด็กบางคนต้องแบกรับความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่แคร์มาจนโต 10:10 พื้นฐานของการอยู่ด้วยกันคือการสัมผัส ใส่ใจ และใช้เวลาอยู่ด้วยกัน 11:26 หากในวัยเด็กรู้สึกไม่มีค่า เมื่อโตขึ้นมาแล้วโลกใบนี้เมินเพียงนิดเดียวก็สามารถพังได้ 13:01 หากเกิดความรู้สึกไร้ค่าขึ้นมาลองฟังเสียงของตัวเอง |
Aug 20, 2019 |
RUOK SPECIAL ฝึกงาน ฝึกใจ และร่วมสร้าง R U OK ซีซั่นใหม่ไปด้วยกัน
08:53
ระหว่างที่พักซีซั่นสั้นๆ เพื่อเตรียมตัวขึ้นซีซั่นใหม่ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ และโปรดิวเซอร์ประจำรายการเลยอยากชวนคนที่สนใจมาฝึกงาน R U OK รับรองว่านอกจากจะได้สำรวจพฤติกรรม ความคิดของมนุษย์กันอย่างละเอียดลออ ยังได้ฝึกทำพอดแคสต์กันตั้งแต่ก้าวแรกอย่างไม่มีกั๊ก
ติดตามรายละเอียดการฝึกงานได้ที่ลิงก์นี้ https://thestandard.co/podcast/ruokspecial/ |
Aug 09, 2019 |
RUOK15 ทำไมเราถึงชอบออกคำสั่งกับบางคนและบางเวลา และถ้าอยากแก้นิสัยนี้ ควรทำอย่างไร [Re-Broadcast]
27:59
หันไปทางไหนเราก็มีโอกาสเจอคนออกคำสั่ง พ่อแม่สั่งให้ทำโน่นทำนี่ เข้าโรงเรียนก็เจอรุ่นพี่ เจอครู ที่บังคับขู่เข็ญ จนถึงโตเป็นผู้ใหญ่เรายังมีสิทธิเจอเจ้านายจอมบงการที่ไม่ฟังลูกน้อง R U OK เลยหาคำตอบว่าภายใต้คำสั่ง ในด้านจิตวิทยาเกิดขึ้นจากอะไร เราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเขาได้ไหม และถ้าเราต้องอยู่ร่วมกับคนที่ชอบออกคำสั่งจะทำอย่างไรให้สงบสุข Time index 01:51 ภาวะความเป็นผู้นำและการชอบออกคำสั่งคนอื่น 05:52 เราเองก็ชอบออกคำสั่งกับบางคน และบางเวลา 10:27 ชอบออกคำสั่งเป็นบุคลิกภาพหรือเป็นโรค 14:06 เลิกใช้คำว่า ‘ทำไม’ แต่ลองเปลี่ยนเป็น ‘อะไร’ 19:34 เพราะอะไรคนถึงชอบออกคำสั่งคนอื่น 23:35 ถ้าเราอยู่ร่วมกับคนชอบออกคำสั่งจะทำอย่างไร 26:06 วิธีแก้นิสัยชอบออกคำสั่ง อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok15/ |
Aug 02, 2019 |
RUOK30 ทัศนคติของอำนาจการควบคุมความถูกต้องมาจากไหน และจะใช้ชีวิตอย่างไรถ้าต้องอยู่กับคนที่มีนิสัยชอบแก้ไขคนอื่น [Re-Broadcast]
16:39
R U OK ขอชวนคุยกันถึงพฤติกรรมการแก้ไขข้อมูลหรือคำผิดของคนอื่น ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกฝ่ายผิดจริงๆ แต่บางครั้งจังหวะหรือวิธีการอาจสร้างความรู้สึกเสียหน้าและอับอาย เราไม่ได้ตัดสินว่าใครผิดหรือถูก แต่จะมาร่วมค้นหากันว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ผลักให้คนคนหนึ่งไปแก้ไขคนอื่น ส่วนอีกฝ่าย อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่รู้ตัวว่าสะกดผิดหรือให้ข้อมูลผิด และทั้งสองฝ่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้เข้าใจกัน Time index 03:54 ที่มาของการจับผิดมาจากรู้สึกการได้รับอำนาจควบคุมความถูกต้อง 04:47 ร่วมกันแสดงความเห็นว่าถ้ามีคนพูดผิดจะแก้ไขไหม 08:29 การเขียนวรรณยุกต์ให้ถูกต้องคือเรื่องทักษะ 11:00 อย่าเห็นเพียงการกระทำของตัวเองที่ไปแก้ แต่ให้นึกถึงคนตรงหน้าด้วย 12:42 ลองก้าวข้ามผ่านความผิดพลาดของตัวและคนอื่น 14:41 จะร่วมงานกับคนชอบแก้ไขคนอื่นอย่างไร อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok30 |
Jul 30, 2019 |
RUOK17 ทำงานเยอะไม่ได้แปลว่าบ้างาน จุดชี้วัดอยู่ตรงไหน และหากอยากจัดตารางชีวิตใหม่ควรทำอย่างไรดี [Re-Broadcast]
16:50
จะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรืออะไรก็ตามที่เอื้อให้ทุกวันนี้เราทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ จนบางครั้งก็อาจสงสัยตัวเองว่าที่เป็นอยู่นั้นเรากลายเป็นคนบ้างานไปแล้วหรือเปล่า R U OK ชวนหาจุดสังเกตว่าแค่ไหนถึงเรียกว่าบ้างาน คนที่ให้ความสำคัญกับงานจนไม่สนใจชีวิตด้านอื่น เขาเหล่านั้นต้องการอะไร และถ้าอยากจูนชีวิตใหม่เราจะเริ่มจัดตารางอย่างไรให้มีคุณภาพ Time index 02:11 อาการบ้างานสังเกตจากผลกระทบ 3 ด้าน 08:23 ทำไมคนเราถึงบ้างาน 12:00 เราจะปรับตารางชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร |
Jul 26, 2019 |
RUOK63 เพราะอะไรจึงเผลอดึงหน้าแบบไม่รู้ตัว และจะฝึกเก็บสีหน้าอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ [Re-Broadcast]
18:06
“นี่ไม่ได้คิดอะไรเลย หน้ามันไปเองเฉยๆ” หลายคนอาจอธิบายทำนองนี้เมื่อถูกเพื่อนทักว่าหน้าเหวี่ยง แต่เคยถามตัวเองไหมว่าจริงๆ แล้วเรากำลังรู้สึกอะไร ความรู้สึกที่คิดว่าเก็บไว้ดีแล้วทำไมถึงเล็ดลอดออกมาจนอีกฝ่ายสังเกตได้ เพราะกายกับใจสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก R U OK เอพิโสดนี้จึงพาไปหาสาเหตุว่าทำไมอวัจนภาษาเล็กๆ น้อยๆ ถึงแสดงออกมาโดยที่เราไม่รู้ตัว และจะฝึกอย่างไรให้เรารู้จักจัดการภาษากายเพื่อให้เหมาะแต่ละสถานการณ์และผู้ที่เรากำลังจะสื่อสารด้วย Time index 01:19 ภาษากายมีผลต่อการสื่อสารมากที่สุด 02:01 ภาษากายคือภาษาแรกของมนุษย์ตั้งแต่เกิด 04:11 ร่างกายกับจิตใจโกหกกันไม่ได้ แต่เราแสดงออกไม่ได้ในทุกโอกาส 05:34 วิธีการฝึกควบคุมอารมณ์ สีหน้า และภาษากาย 08:10 Shadow Movement การเคลื่อนไหวร่างกายที่เราไม่รู้ตัวเพราะเชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก อย่างกะกดปากกาหรือเขย่าขา 11:50 การแสดงออกทางกายแบบไหนที่แสดงความไม่เห็นด้วย 12:48 เรามีการควบคุมการจัดวางร่างกายแค่ไหน, เรามีสติเท่าทันแค่ไหน และเรามีความสามารถบรรจุสภาวะความไม่เห็นด้วยในใจได้มากแค่ไหน ทั้งหมดฝึกกันได้ 13:21 คนหน้าเหวี่ยง หน้าดุ จริงๆ แล้วเขารู้สึกอะไร |
Jul 23, 2019 |
RUOK34 ลน ประหม่าเมื่อเจอความกดดันจะจัดการให้ดีขึ้นได้ไหมและทำอย่างไรเมื่อต้องการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก [Re-Broadcast]
18:52
เมื่อเผชิญสภาวะตึงเครียด หรือตกอยู่ภายใต้ความกดดัน เราต่างมีวิธีการรับมือที่ไม่เหมือนกัน บางคนเครียด ลน ประหม่าจนไม่สามารถรับมืออะไรไหว แต่ทั้งหมดล้วนเป็น ‘ทักษะ’ ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ R U OK พาไปสำรวจสาเหตุว่าทำไมแต่ละคนถึงจัดการกับความกดดันต่างกันและในสถานการณ์ที่เรากดดันมากๆ อย่างการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก จะฝึกฝนตัวเองอย่างไร Time index 02:00 ทำไมเราจึงมีวิธีการรับมือกับความกดดันแตกต่างกัน 02:43 ทำไมบางคนจึงลนเมื่อเจอความกดดัน 04:20 ประสบการณ์และการเลี้ยงดูมีผลต่อการรับความกดดัน 05:39 วิธีการรับมือกับความประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ |
Jul 19, 2019 |
RUOK103 เราจะสร้างพื้นที่ทางใจอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ตัดสิน
20:53
พูดให้เข้าใจง่ายขึ้น ‘พื้นที่ทางจิตวิญญาณ’ อาจหมายถึงพื้นที่ทางกายภาพที่เราได้สงบจิตใจ หรือพื้นที่ทางความสัมพันธ์ที่ได้ปรึกษาพึ่งพา เป็นได้ตั้งแต่สถานที่สำคัญทางศาสนาที่เราได้เชื่อมโยงกับสิ่งที่ศรัทธา หรือแม้แต่การได้พูดคุยกับคนที่ปลอดภัยทางใจ ก็เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณได้เช่นกัน แต่สำหรับคนเมืองที่ดูเหมือนจะหาพื้นที่เหล่านี้ได้ยากเต็มที จะมีที่ไหนที่เราพาใจไปวางอย่างสงบ หรือหน่วยที่เล็กที่สุดอย่างครอบครัว เราสามารถสร้างพื้นที่ร่วมกันได้อย่างไรบ้าง Time index 02:13 เราไม่ค่อยอนุญาตให้เห็นความทุกข์ของกันและกัน 05:21 วัดและหมอดู พื้นที่ทางจิตวิญญาณของสังคมไทย 06:10 การไปหาหมอดูคือการได้เห็นสิ่งที่ปรารถนาของตนเอง 09:10 พื้นที่ทางจิตวิญญาณไม่จำเป็นต้องเต็มรูปแบบเสมอไป 10:21 เราควรมีพื้นที่ที่มองเห็นหัวใจของเรา 13:54 หลักการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจ |
Jul 01, 2019 |
RUOK102 ถูกผู้ใหญ่ลวนลามทางสายตาจะรับมืออย่างไร? แก้ไขอย่างไรไม่ให้ความสัมพันธ์จบด้วยเรื่องเดิมๆ?
21:51
ตอบคำถามประจำเดือนมิถุนายน R U OK เลือก 2 คำถามตั้งแต่เรื่องการถูกลวนลามจากผู้ใหญ่ที่รู้จักและตัดสัมพันธ์ไม่ได้ จะรับมืออย่างไร รวมถึงเรื่องการเลิกราที่พอสืบหาสาเหตุ มักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมเดิมๆ ของเราที่แก้ไขไม่หาย จะทำให้อย่างไรให้เลิกพฤติกรรมแบบนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจบแบบเดิม Time index 01:22 จบความสัมพันธ์ด้วยพฤติกรรมเดิมๆ จะแก้ไขอย่างไรดี 15:11 ถูกลวนลามโดยสายตาและคำพูดจากคนที่เป็นผู้ใหญ่ จะทำอย่างไรดี |
Jun 27, 2019 |
RUOK101 เมื่อความทุกข์ไม่ใช่ตัวร้าย เราเรียนรู้อะไรจากความทุกข์ได้บ้าง?
20:39
หลายคนคงปรารถนาที่จะมีชีวิตที่มีความทุกข์ให้น้อย เมื่อประสบพบทุกข์ก็เลยรีบพาตัวเองให้หลุดออกจากภาวะนั้นให้เร็วที่สุด R U OK ชวนนิ้วกลมและดุจดาว วัฒนปกรณ์ ตั้งคำถามว่า เราจำเป็นที่จะต้องรีบออกจากความทุกข์โดยเร็วเพื่อพาไปสู่ชีวิตที่มีความสุขไหม และในความทุกข์ที่หลายคนมองว่าเป็นตัวร้ายเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง Time index 03:47 ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีทุกข์น้อยจริงหรือ 04:49 การบังคับให้ตัวเองไร้ทุกข์อาจดักธรรมชาติ 05:45 ความทุกข์ทำให้เราเจอเพื่อนมนุษย์ในด้านที่ลึกซึ้ง 06:17 ความทุกข์เกิดจากอะไร 08:29 เราต้องออกจากสภาวะทุกข์ให้เร็วที่สุดไหม 10:30 คำปลอบว่า ‘เรื่องแค่นี้เอง’ ‘เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ลืม’ 12:44 เปิดพื้นที่ และเวลาให้กับความทุกข์ของตัวเอง และคนรอบข้าง 16:04 เมื่อสัมผัสด้านที่เปราะบางของกันและกันส่งผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร |
Jun 24, 2019 |
RUOK100 เราคลั่งไคล้ความสำเร็จมากเกินไปไหม ความสำเร็จนำพาไปสู่ความสุขจริงหรือเปล่า?
20:48
ทุกวันนี้เราขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ความสำเร็จ บางครั้งหมกมุ่น คลั่งไคล้ จนน่าตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริงๆ แล้วความสำเร็จที่เป็นเป้าหมาย คือหนทางที่จะพาเราไปสู่ความสุขจริงหรือเปล่า R U OK เอพิโสดที่ 100 ชวน ‘นิ้วกลม’ มาเป็นพิธีกรรับเชิญ สำรวจตัวเองว่าสมการที่ความสำเร็จจะนำพาเราไปใกล้ความสุข เป็นจริงสำหรับทุกคนหรือไม่ และหากชีวิตพลาดแล้วพลาดอีก เราจะคิดอย่างไรให้ใจเจอความสุข Time index 03:22 เราคลั่งไคล้กับความสำเร็จมากเกินไปหรือเปล่า 04:28 ชีวิตที่ดีของแต่ละคนมีนิยามไม่เหมือนกัน 06:35 เป้าหมายของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน 07:38 เราหาที่ยืนให้ตัวเองยืนเต็มสองเท้าอย่างภาคภูมิ 13:02 เราจะสมดุลความสุขของตัวเองกับไม้บรรทัดของสังคมอย่างไร 14:59 เรานิยามความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง 15:36 ความสำเร็จมาจากความต้องการภายในของเรา |
Jun 21, 2019 |
RUOK21 Highly Sensitive Person อ่อนไหวง่าย ร้องไห้ง่าย ไม่ใช่ความผิดปกติ [Re-Broadcast]
16:17
หลายคนอาจรู้สึกว่าความอ่อนแอ เป็นคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ คนเราจำเป็นต้องแสดงความแข็งแกร่ง แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะสำหรับบางคนความอ่อนไหวอาจเป็นบุคลิกภาพเฉพาะตัวที่เรียกว่า Highly Senstitive Person ไม่ชอบเสียงดัง ไม่ชอบอยู่กับคนเยอะๆ ไม่ชอบห้องที่มีไฟจัดจ้า ไม่ชอบเสื้อผ้าระคายตัว อ่อนไหวกับเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายหรือบางครั้งก็ร้องไห้เพื่อแสดงความรู้สึก เหล่านี้เป็นพื้นฐานของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดปกติ R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปสำรวจบุคลิกภาพแบบ Highly Senstitive Person เพื่อเราจะได้เข้าใจและไม่ตัดสินใครง่ายๆ Time index 02:54 การร้องไห้ไม่ใช่สัญลักษณ์ของความอ่อนแอเสมอไป 04:40 อ่อนไหวง่ายไม่ได้ป่วย แต่เป็นบุคลิกภาพแบบ Highly Sensitive Person 07:44 มนุษย์สามารถตัดปรับลดเพิ่มพฤติกรรมได้หมด ถ้าเราอยากทำ 10:25 ถ้าซึมซับบรรยากาศรอบข้างได้ไวเกินไป เราต้องหาฟิลเตอร์ให้ตัวเอง อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok21/ |
Jun 18, 2019 |
RUOK99 ณัฐ ศักดาทร กับการปรับตัวเรียนต่อต่างประเทศที่บอกตัวเองว่า “Don’t give up!”
16:11
R U OK เอพิโสดนี้ดุจดาว วัฒนปกรณ์ทำหน้าที่เป็นโฮสต์ ชวน ณัฐ ศักดาทร คุยเรื่องการปรับตัวเมื่อต้องเรียนต่อต่างประเทศ ว่าต้องเผชิญสภาวะความเครียดแบบไหน และหาทางออกอย่างไร ทั้งดุจดาวและณัฐต่างยืนยันว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสุดท้ายการปรับตัวเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่เราทำได้เสมอถ้าเราต้องการ และถ้าผ่านมันไปได้เราจะเป็นคนที่เก่งขึ้น Time index 02:30 มนุษย์ผ่านการปรับตัวโดยไม่รู้ตัว 03:11 การปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยทำให้เกิดความเครียด 04:59 Don’t Give Up! 08:52 ให้กำลังใจตัวเองในวันที่เครียด 09:50 หาซัพพอร์ตชีวิตและโฟกัสที่สิ่งตัวเองทำเร็จ 14:55 หาคำเตรียมไว้ให้กำลังใจตัวเอง |
Jun 14, 2019 |
RUOK98 พ่อแม่หย่าร้างเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ เสียใจได้ไหม และรับมืออย่างไรดี
16:31
เหตุการณ์ไม่คาดฝันนอกจากอุบัติเหตุและการสูญเสียแล้ว การหย่าร้างของพ่อแม่ก็เป็นหนึ่งสิ่งที่รับมือได้ยาก บางครั้งไม่มีสัญญาณใดๆ และอาจเกิดขึ้นเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ ที่เหมือนจะเข้าใจอะไรๆ ได้ง่าย แต่เมื่อเจอจริงๆ กลับไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะนิยามของคำว่าสมบูรณ์ไม่ได้หมายถึงการอยู่ด้วยกันเสมอไป R U OK เอพิโสดนี้จึงแนะนำแนวทางการสื่อสารของทุกคนในครอบครัว ที่แม้เราอาจไม่เห็นด้วยแต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ผ่านเวลายากลำบากนี้ด้วยความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น Time index 04:10 เราเสียใจและฟูมฟายได้ในพื้นที่ปลอดภัย 06:12 เหตุผลการเลิกราของพ่อแม่จำเป็นต้องบอกให้ลูกรู้ 06:48 การสื่อสารจะช่วยให้ผ่านเวลายากๆ ด้วยความเข้าใจที่ตรงกัน 07:32 เราทำได้อย่างมากที่สุดคือยอมรับในเหตุผลนั้น 09:19 ค่อยๆ ย่อยความรู้สึกของตัวเอง 09:48 พูดคุยอย่างผู้ใหญ่ว่าเราจะแยกจากกันอย่างไรดี 11:33 การหย่าร้างไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะไม่สมบูรณ์ |
Jun 10, 2019 |
RUOK97 รูปร่างหน้าตา พฤติกรรม ความดี ทำไมเราถึงตัดสินคนอื่นด้วยเรื่องเหล่านี้อย่างไม่รู้ตัว
15:25
การตัดสินผู้อื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะต้องการประเมินเบื้องต้นว่าเราอยู่ตรงไหนและควรปฏิบัติต่ออีกฝ่ายอย่างไร แต่เป็นเรื่องที่ควรระวังเพราะเรามักใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการตัดสินคนอื่นอยู่เสมอ นอกจากเรื่องที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ R U OK เอพิโสดนี้จะชวนค้นลงไปว่ามีแง่มุมไหนที่เราตัดสินกันอีกโดยไม่รู้ตัว และเมื่อมันเป็นธรรมชาติที่เลี่ยงยาก เรามีวิธีไหนที่จะลดการตัดสินและเหมารวมคนอื่น เพราะสิ่งที่เรารับรู้อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นก็ได้ Time index 04:00 มุมมองไม่ใช่เรื่องถูกผิด 04:15 เราตัดสินคนอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องรู้เท่าทัน 05:27 เราตัดสินคนอื่นจากประสบการณ์ส่วนตัวซึ่งอาจไม่ใช่ความจริง 05:48 การตัดสินคนอื่นมาจากความพยายามหาคำตอบให้โลกใบนี้ 06:50 เราหาคำตอบด้วยการเชื่อมโยงไปที่บุคลิกภาพและประสบการณ์ 08:01 เราลดการตัดสินคนอื่นด้วยการเชื่อมโยงไปที่สถานการณ์แทนบุคคล 09:05 การเหมารวม (Stereotype) นำไปสู่การตัดสินคนอื่นได้ง่าย 10:40 ไม่ใช่เพียงพฤติกรรม แต่เราตัดสินคนจากความดีและวัฒนธรรม |
Jun 06, 2019 |
RUOK96 สื่อสารอย่างเห็นใจคนตรงหน้า ว่าเขาแบกความรู้สึกอะไรมาและยอมรับซึ่งกันและกัน
19:40
เราสื่อสารกันทุกวันแต่บางครั้งก็ไม่สามารถพูดได้อย่างใจ เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ว่าอาจแก้ได้ด้วย Empathic Communication หรือการสื่อสารที่เห็นอกเห็นใจอีกฝ่าย รับรู้ว่าคู่สนทนากำลังแบกความรู้สึกอะไรมา จนเราสามารถหาวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกลับไป R U OK เอพิโสดนี้ชวน ณัฐ ศักดาทร คุยกับดุจดาว วัฒนปกรณ์ ว่า Empathic Commication คืออะไร ช่วยแก้ไขความไม่เข้าใจกันอย่างไร และฝึกแบบไหนให้เราเข้าใจอีกฝ่ายจากจุดที่เขามอง Time index 02:48 Empathic Communication คืออะไร 06:34 การสื่อสารไม่ได้หมายถึงเพียงการพูดและคอมเมนต์ แต่ยังคือภาษากายและน้ำเสียงด้วย 07:15 เช็กตัวเองก่อนว่าเราสามารถรับรู้ความละเอียดอ่อนตรงหน้าพอหรือยัง 08:34 พยายามเข้าใจคนตรงหน้าจากจุดที่เขายืนอยู่ 10:17 เราไม่มีทางเห็นโลกใบนี้เหมือนกัน 12:44 แค่พยายามเข้าใจคนอื่นก็เพียงพอแล้ว 13:20 ความอยากเข้าใจคนอื่นเริ่มต้นจากอะไร 15:00 Empathic Communication สำคัญอย่างไร |
Jun 04, 2019 |
RUOK95 ถูกปฏิเสธความรักมาเป็นปี ทำไมใจยังชา? จะรับมืออย่างไรกับคนที่ชอบพูดว่าอะไรก็ได้?
21:14
2 คำถามประจำเดือนพฤษภาคมที่หลายคนน่าจะมีประสบการณ์ร่วม ทั้งเรื่องการถูกปฏิเสธความรักที่ผ่านไปเป็นปี ทำไมใจยังรู้สึกชา แถมยังพบหน้ากันอยู่แบบนี้จะเริ่มต้น Move on อย่างไร กับอีกคำถามที่ไม่ว่าเพื่อนกลุ่มไหนก็ต้องเจอคือคำตอบว่า ‘อะไรก็ได้’ เมื่อเลือกอะไรสักอย่าง แต่ผลลัพธ์กลายเป็นคอมเมนต์ว่าถ้าเลือกอีกอย่างคงไม่ออกมาเป็นอย่างนี้ จะรับมืออย่างไรดีให้ไม่เสียน้ำใจกัน Time index 06:13 ผ่านการถูกปฏิเสธความรักมาเป็นปี แต่ทำไมใจยังชา 13:36 รับมืออย่างไรดีกับคนที่ชอบพูดว่าอะไรก็ได้ |
May 31, 2019 |
RUOK94 จะรับมือกับการถูกนินทาอย่างไร เพราะไม่ว่าใครก็หนีไม่พ้น
16:06
ไม่ว่าเหตุผลของการนินทาจะเป็นการผูกมิตร การแสดงความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือการทำให้รู้สึกเป็นพวกเดียวกันก็ตาม เหล่านั้นน่าจะไม่ใช่สิ่งที่เฮลตี้ และเราก็สามารถมีตัวเลือกอื่นมากมายเพื่อทำความรู้จักกับใครสักคน เพราะไม่ว่าใครก็หลีกหนีการนินทาไม่พ้น R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปดูฟังก์ชันของการนินทาว่ามันใช้ทำอะไร พูดถึงกับนินทาต่างกันตรงไหน และจะรับมืออย่างไรกับมนุษย์ขี้นินทาที่เราเจอได้ทุกวัน Time index 02:01 เรื่องของคนเป็นประเด็นใหญ่ในการสนทนาเสมอ 03:37 เส้นบางๆ ของการนินทากับพูดถึง 04:23 การพูดลับหลังทำลายความไว้ใจของคน 05:09 จะเล่าเรื่องคนอื่นให้เพื่อนฟัง ลองสังเกตสรรพนามที่ใช้ 06:12 เราเข้าใจว่าการนินทาจะช่วยผูกมิตร 06:34 เราเข้าใจว่าการนินทาคือการแสดงความจริงใจ 09:23 เราจะรับมือกับการถูกนินทาอย่างไร |
May 27, 2019 |
RUOK93 จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต
17:22
แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่การเพิ่ม Self-Esteem เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ โดยทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนสุดท้ายเราจึงเห็นคุณค่าของตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนปรับพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้าง Self-Esteem ให้กับตัวเรา ตั้งแต่การเรียนรู้และยอมรับในตัวเอง ลองฝึกตัดสินใจ หรือแม้แต่การให้เกียรติผู้อื่นก็เป็นหนึ่งในวิธีของการเห็นคุณค่าของตัวเองเช่นกัน Time index 02:03 Low Self-Esteem กับความไม่มั่นใจในตัวเองอาจคือคนละเรื่องกัน 05:54 เราเป็นแค่คนธรรมดาที่มีความภูมิใจในการเป็นเรา 06:24 หาเรื่องภูมิใจเล็กๆ ในตัวเอง 07:11 เปลี่ยนเสียงในใจและหาจุดว้าวให้ตัวเอง 08:08 หลายบ้านไม่ชมลูกหลานเพราะกลัวเหลิง 08:50 ลองเป็นผู้ให้หรือสร้างคุณค่าใหม่ขึ้นมา 12:01 ลองชมตัวเองด้วยการออกเสียง 13:33 ลองหางานอดิเรกที่ตัวเองถนัด 14:12 ลองฝึกปฏิเสธ เพราะจะทำให้เราเห็นความต้องการของตัวเอง 15:05 เคารพตัวเองและผู้อื่น |
May 23, 2019 |
RUOK92 Self-Esteem ไม่ใช่เพียงความมั่นใจ แต่คือการเห็นในคุณค่าในตัวเองที่มนุษย์ทุกคนควรมี
17:20
Self-Esteem คือการรับรู้คุณค่าของตัวเองที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนนั้นจะสูงต่ำดำขาว เชื้อชาติ เพศอะไรทุกคนล้วนมีคุณค่า แต่ก็มีไม่น้อยที่หลายคนรับรู้คุณค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริงสิ่งนั้นเราเรียกว่า Low Self-Esteem R U OK เอพิโสดนี้เลยขอพาทุกคนไปมองเห็นคุณค่าในตัวเอง พร้อมค้นหาว่าอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เรา Low Self-Esteem เผื่อเชื่อมโยงขณะที่ฟังและอาจเห็นอะไรๆ ในตัวเองชัดขึ้น Time index 02:07 Self-Esteem คืออะไร เหมือนหรือต่างจาก EGO อย่างไร 05:08 High Self-Esteem คืออะไร มีข้อเสียบ้างไหม 06:14 โครงสร้างทางสังคมไทยบางอย่างมีผลให้เด็ก Low Self-Esteem 09:39 เปลี่ยนคำว่า ‘แค่’ เป็นคำว่า ‘ตั้ง’ 13:24 พฤติกรรมเล็กๆ ของคนในสังคมก็มีผลต่อ Self-Esteem |
May 21, 2019 |
RUOK91 ฝึกยอมรับและเมตตาต่อตนเองอย่างไร ให้ผ่านวันที่แย่ๆ
16:32
เราสามารถเมตตา และปลุกปลอบผู้อื่นได้ เมื่อเขาต้องการกำลังใจ แต่เชื่อหรือไม่ว่าเราก็สามารถทำแบบนั้นกับตัวเองให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้เช่นกัน R U OK พอดแคสต์เอพิโสดนี้มีโฮสต์พิเศษคือดีเจพี่อ้อย นภาพร ที่จะมาชวนคุยเรื่องการเมตตาต่อตัวเองว่าคืออะไร ต่างกับการใช้ตัวเองเป็นหลักตรงไหน จนถึงการทบทวนตัวเองว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นคือสิ่งที่เรา ‘ต้องทำ’ หรือ ‘อยากทำ’ กันแน่ Time index 02:15 การเมตตาต่อตนเองเป็นสิ่งที่ฝึกกันได้ 03:40 การเมตตาต่อตนเองเริ่มต้นจากการยอมรับสิ่งที่เป็น 05:18 โอบกอดประสบการณ์ในแง่ลบของตัวเอง 07:15 รู้เท่าทันพฤติกรรมของตัวเอง 08:47 ไม่ต้องเรียกร้องให้คนอื่นใส่ใจเรา เพราะเราใส่ใจตัวเองได้ 10:26 เริ่มเมตตาตนเองอย่างไรในวันที่อยู่คนเดียว 10:50 ทบทวนตัวเองว่าสิ่งไหน ‘ต้องทำ’ และสิ่งไหน ‘อยากทำ’ 13:10 การเมตตาต่อตนเองไม่ใช่การเห็นแก่ตัว |
May 17, 2019 |
RUOK41 คิดถึงความตายบ่อยๆ เป็นอะไรไหม คิดถึงความตายแง่มุมไหนที่ควรระวัง [Re-Broadcast]
13:57
แม้ความตายจะเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องประสบพบเจอ แต่การคิดถึงความตายบางครั้งอาจไม่ Healthy บางคนวางแผนช่วงสุดท้ายของชีวิตว่าจะเป็นไปอย่างไร บางคนคิดถึงวิธีการตายหรือแม้แต่หนทางการฆ่าตัวตาย R U OK เอพิโสดนี้เลยขอชวนทบทวนตัวเอง ว่าความคิดเกี่ยวกับความตายที่ลั่นขึ้นมาบ่อยๆ เป็นไปในลักษณะไหน และหากคนใกล้ชิดยกประเด็นความตายขึ้นสนทนา ควรทำอย่างไร Time index 01:58 คิดถึงความตายกับคิดอยากฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร 02:55 เราหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตายเพราะกลัวเป็นเรื่องไม่มงคล 04:34 อยากฆ่าตัวตายคือการตั้งคำถามกับคุณค่าของชีวิตตัวเอง 09:00 ถ้าเพื่อนพูดถึงเรื่องความตาย อย่าเพิ่งปัดตก แต่ให้ตั้งใจฟัง 10:06 คิดถึงความตายแบบไหนที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ |
May 13, 2019 |
RUOK90 นิสัยยอมไม่ได้ แพ้ไม่เป็นมาจากไหน และฝึกแพ้อย่างไรให้ลุกได้แกร่งขึ้น
15:50
เรารู้จักแพ้กันมาตั้งแต่เด็ก ทั้งตอนเกมกับเพื่อนหรือเล่นกีฬาในวิชาพลศึกษา แต่เมื่อโตขึ้น ความรับผิดชอบ หน้าที่การงาน หรือภาพลักษณ์ ทำให้การแพ้ของเราลุกขึ้นยากกว่าตอนเด็กๆ อย่าเพิ่งให้ค่าว่าการแพ้คือความล้มเหลวหรือความผิดพลาด ในวันที่ทุกอย่างพังครืนลงมาและเห็นตัวเราอยู่ใต้ซากเหล่านั้น จะทำอย่างไรให้เราค่อยๆ ลุกขึ้นมาอย่าง Healthy และประกอบส่วนที่เหลือให้แข็งแกร่งได้ในที่สุด Time index 02:05 คนเราแพ้ชนะเป็นเรื่องธรรมชาติ 03:15 การเลี้ยงดูมีส่วนสร้างนิสัยต้องเอาชนะ 04:07 แรงขับในการเอาชนะมีส่วนในการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น 08:05 ผู้ใหญ่พังทลายได้ง่ายกว่าเด็ก เพราะแบกตัวตนและความคาดหวังไว้ 08:54 สำรวจตัวเองจากการถูกว่ากล่าวตักเตือน 10:58 แพ้อย่างไรให้ Healthy 12:21 อย่าวิ่งหนีความพ่ายแพ้ 12:50 เราจะได้ทักษะชีวิตบางอย่างจากความพ่ายแพ้ 13:26 RQ (Resilience Quotient) หรือศักยภาพในการปรับอารมณ์และจิตใจจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเราผ่านความพ่ายแพ้ |
May 10, 2019 |
RUOK89 ทำไมมีไม่เหมือนกัน ทำไมฉันได้ไม่เท่าเธอ: สังเกตพฤติกรรมการเปรียบเทียบของตัวเองอย่างไรว่าเริ่มไม่โอเค
16:57
การเปรียบเทียบเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะคือกลไกที่จะบอกตัวเองว่า เรากำลังยืนอยู่ตรงไหน มีบทบาทอย่างไร และต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะสำหรับบางคนมักเปรียบเทียบจนเป็นนิสัย และเริ่มนำความทุกข์ใจมาสู่ตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้เลยลงรายละเอียดด้วยการเวิร์กช็อปเล็กๆ ให้มองเห็นถึงเรื่องที่เราชอบเปรียบเทียบ เพราะอาจเป็นต้นทางให้เรายอมรับและมองเห็นอีกด้านของตัวเอง Time index 02:30 การเปรียบเทียบเพื่อให้เรารู้ว่าอยู่ตรงไหน มีบทบาทอย่างไร และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรในสังคม 03:48 การเปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่าเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกหวั่นไหวในคุณค่าของตัวเอง 05:10 การลด Self-Esteem ของคนอื่น ไม่ได้เพิ่ม Self-Esteem ของตัวเอง 05:55 การเปรียบเทียบกับคนที่สูงกว่าเพราะอยากมีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต 08:18 จุดชี้วัดของพฤติกรรมเปรียบเทียบที่ไม่ Healthy 10:53 สำรวจตัวเองด้วยเวิร์กช็อปเล็กๆ เรื่องการเปรียบเทียบ |
May 07, 2019 |
RUOK88 งานหนัก เงินน้อย รถติด ใช้ชีวิตแข่งกับเวลา จะหาวิธีจัดการความเครียดอย่างไรดี
18:24
ชีวิตคนเมืองที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งเราไม่รู้ตัวว่าความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สะสมมาอาจทำให้ส่งผลในระยะยาว R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนมาสำรวจตัวเอง สังเกตต้นเหตุ พร้อมวิธีการจัดการความเครียดทั้งในเชิงปรับความคิดและรูปธรรม และเมื่อเราต้องปะทะกับสิ่งเร้า จะได้รู้เท่าทันและจัดการได้อย่างเหมาะสม Time index 03:01 รับรู้ความเครียดด้วยการสังเกตอาการทางกาย 07:27 สังเกตต้นเหตุของความเครียดว่ามาจากไหน 08:38 ยอมรับว่าตัวเองเครียด และอย่าตัดสินว่าเครียดคือสิ่งไม่ดี 10:36 เขียน Mind Mapping ความเครียดของฉัน 12:10 ดูว่าเรื่องไหนตัดได้ ถ้าตัดได้ตัด 13:31 เรื่องไหนกระทบกับชีวิตที่สุด จัดการได้เร็วที่สุด จัดการเรื่องนั้นก่อน 13:53 ถามตัวเองว่าที่ผ่านมาจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร 14:28 หาความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไว้ใจและไม่ตัดสิน 16:37 การออกกำลังกายจะหลั่งสารแห่งความสุข |
May 02, 2019 |
RUOK87 กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังผูกชีวิตติดกับคนอื่นหลายปี? จัดการความรู้สึกอย่างไรดีเมื่อถูกทักว่าอ้วน?
17:45
คำถามที่หลายคนน่าจะเคยเจออย่างการถูกทักว่าอ้วน แม้จะเป็นจริงตามนั้นแต่ก็ไม่ทุกครั้งที่เราจะสามารถรับมือกับคำทักทายนี้ แถมพกความไม่สบายใจกลับบ้านไปทุกที เราจะจัดการกับความรู้สึกนี้ที่เกิดขึ้นอย่างไร และอีกคำถามจากทางบ้านที่อยากกลับมารักตัวเอง หลังจากเอาชีวิตไปผูกติดกับความรักที่ไม่สมหวังกว่าสิบปี ซึ่ง R U OK ขอยืนยันว่าการเติมเต็มให้ตัวเองทำได้จริง แม้ต้องใช้เวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม Time index 01:14 ถูกทักว่าอ้วนเป็นประจำจะทำอย่างไรดี 03:36 สิ่งที่เราทักคนอื่นอาจเป็นเรื่องเดียวกับที่เรากังวล 07:20 เราต้องเคารพร่างกายของตัวเองด้วยการเลิกตัดสิน 10:15 กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังเอาชีวิตไปผูกติดกับคนอื่นหลายปี 14:20 เราคือคนผูกติดเอง 15:14 สิ่งที่หายไปไม่ใช่แค่คนคนนั้น แต่คือคุณค่าของตัวเราด้วย |
Apr 29, 2019 |
RUOK86 ทำอย่างไรเมื่อคนรักขู่จะเลิก ชอบพูดทำร้ายจิตใจ และใช้ความความสัมพันธ์เป็นตัวประกัน
17:46
หลายคนอาจกำลังเจอความรักที่ Toxic เพราะแม้ยังรักอยู่แต่กลับถูกบั่นทอนด้วยคำพูดที่คอยทำร้าย หนักข้อเข้าก็ขู่จะเลิกเพราะรู้ว่าเราไม่มีทางไปไหน R U OK พอดแคสต์เอพิโสดนี้เลยอยากชวนทำความเข้าใจว่าคำพูดทำร้ายจิตใจเหล่านั้น มีความรู้สึกอะไรที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง และหากอยากให้ความสัมพันธ์ยืนยาว จะสื่อสารกันอย่างไรให้เหมาะสมและเข้าใจความรู้สึกอีกฝ่ายมากขึ้น Time index 02:05 ประสบการณ์ตรงที่มีคนรักใช้คำพูดทิ่มแทงและขู่จะเลิก 05:18 ความรักไม่สามารถเยียวยาคำพูดที่ทิ่มแทงของคนรักได้ 05:37 ทำไมเราถึงพูดจาทิ่มแทงคนรัก และมีเบื้องหลังอะไร 07:45 กฎเหล็กของความสัมพันธ์คือห้ามพูดคำว่าเลิกกัน 08:28 วิธีที่ยืนยันความสัมพันธ์ว่าเรายังรักกันมีหลายวิธี 10:03 การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคู่ 12:43 ถ้าอยากเข้าใจอีกฝ่ายจริงๆ อย่าไปลดความรู้สึกเขาให้เล็กลง 13:02 รูปแบบความสัมพันธ์อื่นๆ ที่ Toxic |
Apr 25, 2019 |
RUOK85 เมื่อความสำเร็จไม่ใช่ทุกอย่าง แต่การปล่อยให้รู้จักพลาดต่างหากคือการทำให้ลูกเติบโต
18:44
เมื่อพูดถึงปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งคือลูกรู้สึกว่าถูกพ่อแม่บังคับ ซึ่งนำพาให้เกิดความรู้สึกไร้ค่า เครียด กดดัน และปัญหาอื่นๆ ที่คาดไม่ถึง R U OK เอพิโสดนี้จึงอยากทำความเข้าใจว่าการวางแนวทางให้ลูกปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด อาจไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จเสมอไป และเราจะสื่อสารกันภายในครอบครัวอย่างไร เพื่อให้มองเห็นถึงความต้องการของอีกฝ่ายจริงๆ Time index 02:05 ปัญหาใหญ่ระหว่างพ่อแม่กับลูกคือการถูกบังคับ 03:09 เมื่อความต้องการของลูกถูกเมิน ความรู้สึกไร้ค่าก็ตามมา 03:33 เด็กหลายคนเห็นเพียงความต้องการของพ่อแม่ที่วางทาบตัวเขา 05:54 พ่อแม่หลายคนบอกว่ารักลูกมาก แต่ไม่เห็นความต้องการของลูกเลย 06:12 พ่อแม่ และญาติบางคนเผลอบังคับลูกหลานโดยไม่รู้ตัว 08:33 จะสื่อสารกับพ่อแม่อย่างไรเมื่อถูกบังคับ 09:44 การสวนกลับทำให้ทุกฝ่ายเจ็บปวดและปัญหาบานปลาย 12:54 อนุญาตให้ลูกพลาดบ้าง นั่นคือจุดที่ทำให้เขาเติบโต |
Apr 22, 2019 |
RUOK84 ฝึกให้เป็นคนใจเย็นอย่างไร ท่ามกลางอากาศร้อนและหงุดหงิดง่ายแบบนี้ #อยู่ให้เย็นอยู่ให้เป็น
15:02
อากาศร้อนแบบนี้อาจทำให้ใจร้อน หงุดหงิดง่ายเพราะไม่สบายตัว แถมพานอารมณ์ขึ้นง่ายๆ R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนฝึกให้ตัวเองเป็นคน ใจเย็น อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การรู้เท่าทันตัวเอง สังเกตตัวเองว่าควบคุมอะไรได้แค่ไหน จนถึงการเชื่อมโยงตัวเองกับเรื่องที่มาปะทะกับใจ เพื่อให้เราไม่ได้เป็นคนหัวเสียง่ายในอากาศร้อนๆ แบบนี้ Time index 01:37 อากาศร้อนทำให้หงุดหงิดง่าย เพราะไม่ชอบสภาวะนั้นของตัวเอง 04:10 ใจเย็นคือใจที่สงบ 04:48 ใช้วิธีการ Visualization ช่วยให้ใจสงบขึ้นได้ 05:26 แบบฝึกหัดที่สร้างให้ตัวเองเป็นคนใจเย็นขึ้น 07:12 คนที่รู้จักตัวเองจะมีอะไรมากระทบกระเทือนจิตใจได้ยาก 08:23 สำรวจตัวเองว่าเราเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่มากระทบใจอย่างไร 09:37 รู้จักตัวเองว่าเราควบคุมอะไรได้หรือไม่ได้ 10:31 สังเกตลมหายใจตัวเองว่าลึกสุดถึงตรงไหน 12:49 แบ่งร่างกายเป็น 3 ระดับ ให้เรื่องที่มากระทบอยู่เพียงแผ่นหน้า |
Apr 18, 2019 |
RUOK36 เริ่มต้นยืดหยุ่นกับตัวเองอย่างไรเมื่อพบว่าความมีระเบียบวินัยทำคนรอบข้างอึดอัด [RE-BROADCAST]
14:54
การมีชีวิตที่มีระเบียบวินัยเป็นเรื่องดี มีความแน่นอน แต่อีกมุมหนึ่งหากระเบียบวินัยนั้นตึงจนไม่รู้จักผ่อน ก็อาจสร้างความเครียดให้กับคนรอบข้างได้ R U OK เอพิโสดนี้ขอสื่อสารไปถึงคนที่เริ่มได้เสียงฟีดแบ็กจากคนรอบข้างว่าความเป๊ะ เริ่มส่งผลกับความสัมพันธ์ ว่าหากอยากเริ่มต้นยืดหยุ่นให้กับเรื่องที่เราเคร่งครัดมาทั้งชีวิตจะเริ่มต้นอย่างไร ให้ไม่เสียความเป็นตัวเอง Time Index 01:44 บางคนมีวินัยกับตัวเองมากๆ จนมีผลกับคนรอบข้าง 03:46 เป๊ะในความสัมพันธ์อาจมีผลกับชีวิตคู่ 05:21 ทั้งงานและความสัมพันธ์ควรมีความยืดหยุ่น 06:30 บางคนไม่ยืดหยุ่นแม้แต่กระทั่งกับตัวเอง 10:17 เคร่งครัดมาทั้งชีวิต จะเริ่มต้นยืดหยุ่นบ้างควรทำอย่างไร อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok36/ |
Apr 15, 2019 |
RUOK37 ลืมเรื่องเลวร้ายในอดีตไม่ได้ ทำงานได้ไม่ตามเป้าหมาย ก็พบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องรอให้ป่วย [RE-BROADCAST]
18:07
ไม่ต้องรอให้ป่วยหรือใช้ชีวิตประจำวันไม่ไหว เราก็สามารถไปพบจิตแพทย์ได้แค่เริ่มสงสัยในตัวเอง ตั้งแต่อารมณ์ไม่มั่นคง ทำงานผิดพลาดซ้ำๆ หรือรู้สึกเบื่อ R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปสำรวจอาการต่างๆ ที่ดูเหมือนเล็กน้อย แต่จริงๆ แล้วอาจเป็นจุดตั้งต้นของความเจ็บป่วยทางใจ จนถึงเมื่อมีคนใกล้ชิดไปพบแพทย์ เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ไม่กระทบกระเทือนจิตใจและก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปพร้อมๆ กัน Time Index 01:50 สัญญาณเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ไปพบจิตแพทย์ได้ 08:02 หากคนรอบตัวต้องพบจิตแพทย์ เราควรดูแลกันอย่างไร อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok37/ |
Apr 11, 2019 |
RUOK83 ไม่มั่นใจ ไม่กล้า กังวล หลายเหตุผลของการไม่อยากออกนอกคอมฟอร์ตโซน
15:50
เราได้ยินหลายคนพูดว่า ชีวิตควรออกนอกคอมฟอร์ตโซนบ้าง แต่เคยตั้งคำถามกันไหมว่าจริงๆ แล้วเราควรออกนอกคอมฟอร์ตโซนไหม การอยู่กับความเคยชินนานๆ ไม่ดีอย่างไร และทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลง ไม่น่าเชื่อว่าคอมฟอร์ตโซนบางครั้งก็เกี่ยวข้องกับเหตุผลลึกๆ ทางจิตใจ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนหาคำตอบว่าชีวิตเราต้องออกนอกคอมฟอร์ตโซนหรือเปล่า เหตุผลอะไรที่เราไม่กล้าก้าวออกไป และจะเริ่มต้นอย่างไรหากอย่างเปลี่ยนแปลงตัวเอง Time index 02:04 จริงๆ แล้วคนเราควรออกจากคอมฟอร์ตโซนไหม 02:21 คอมฟอร์ตโซนเกี่ยวข้องกับจิตใจเพราะมีความวิตกกังวลน้อย 02:43 การออกจากคอมฟอร์ตโซนคือการสร้างทักษะอื่นในชีวิต 03:03 เราออกนอกคอมฟอร์ตโซนกันตั้งแต่เริ่มคลาน ยืน เดิน 05:07 ชีวิตเราไม่ได้พึ่งพาทักษะใดทักษะหนึ่งเพียงอย่างเดียว 05:49 หลายคนอยู่ในสถานการณ์ที่รับมือไม่ได้เลยใช้วิธีหนี 07:50 คอมฟอร์ตโซนแต่ละคนไม่เหมือนกัน 98:54 เราสามารถเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันตัวเองได้อย่างไร |
Apr 08, 2019 |
RUOK82 เมื่อการขี้บ่นไม่ใช่แค่อยากให้คนอื่นสนใจ และจะทำอย่างไรไม่ให้ตัวเองเป็นพิษกับคนรอบข้าง
17:07
ตั้งแต่เด็กจนโต สิ่งหนึ่งที่เราหนีไม่ได้คือการถูกบ่น หลายครั้งเลยทำเป็นหูทวนลมเวลาโดนบ่นหนักๆ หรือบางทีก็อึดอัดแม้ว่าจะมองเห็นถึงความตั้งใจ R U OK เอพิโสดนี้จึงอยากชวนเข้าใจเบื้องหลังของการบ่น ว่านอกจากจะเป็นการระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจ หรือต้องการความสนใจแล้วมีสาเหตุอย่างอื่นอีกไหม และจะทำอย่างไรหากอยากเปลี่ยนแปลงให้ตัวเองบ่นน้อยลง เพื่อไม่สร้างบรรยากาศไม่ดีกับคนรอบข้าง Time index 02:43 เบื้องหลังของคนขี้บ่นคือความโกรธ หงุดหงิด เครียด 03:33 ไม่เพียงแต่การระบายความในใจ การบ่นอาจมีเหตุผลมากกว่านั้น 03:40 การบ่นอาจมาจากการผลักความรับผิดชอบ 05:07 การบ่นคือการอยากได้รับความสนใจ 06:27 การบ่นอาจคือการแสดงอำนาจ 06:45 การบ่นอาจเพื่อให้คนอื่นรู้สึกอิจฉา 08:36 การบ่นอาจสร้างบรรยากาศไม่ดีกับสภาพแวดล้อม 08:50 หากมีอาการบ่นเรื้อรัง สามารถปรึกษานักจิตบำบัดเพื่อปรับพฤติกรรมได้ 11:44 ลองสังเกตตัวเองว่าเรื่องอะไรที่สะกิดให้บ่นง่ายๆ |
Apr 04, 2019 |
RUOK81 ฟังความคิดตัวเองให้ดีว่าความรู้สึกโดนเกลียดมาจากไหน
16:47
อาจมีบางครั้งที่รู้สึกว่าเราเป็นตัวประหลาดจากคนรอบข้าง หรือมากกว่านั้นคือรู้สึกว่าหลายคนกำลังเกลียดเราอยู่ ซึ่งสาเหตุอาจเป็นไปได้จากพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่รู้ตัว หรืออาจเป็นการคิดไปเองก็ได้ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนทบทวนตัวเองด้วย 15 พฤติกรรมที่เราไม่ทันระวังตัว จนเป็นพิษกับคนรอบข้าง รวมถึงพิจารณาความเกลียดว่าสาเหตุนั้นมาจากไหน ตัวเรา, การ Bully หรือการรู้สึกไปเอง ซึ่งไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอะไร เราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้เสมอ Time index 02:28 15 พฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจทำให้คนรอบข้างไม่ชอบโดยไม่รู้ตัว 12:43 ถ้ารู้สึกว่าใครๆ ก็เกลียดเรา ให้ตั้งสติก่อนว่านี่คือเสียงของเรา 13:15 คนจะ Bully ไม่ว่าอย่างไรก็จะ Bully 14:30 ความรู้สึกถูกเกลียดอาจเกี่ยวกับอาการทางจิตเวชที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยเหลือได้ |
Apr 01, 2019 |
RUOK80 เลิกกดดันตัวเองได้อย่างไร? และหลังจากไปเที่ยวกลับมาใหม่ๆ ทำให้ใจหายห่อเหี่ยวได้อย่างไร?
21:32
คำถามประจำเดือนมีนาคม มีทั้งเรื่องหนักๆ อย่างการไม่ชอบเวลาพ่อแม่แสดงความรักต่อกันจนเกิดความสับสน, รู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอทั้งๆ ที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถและอาจประสบความสำเร็จ หรือเรื่องเบาๆ อย่างวิธีการดูแลใจตัวเองให้ไม่ห่อเหี่ยวหลังกลับมาจากเที่ยว คำถามทั้งหมด R U OK สามารถตอบได้เพียงกว้างๆ เพราะเรื่องจิตใจนั้นซับซ้อนและเฉพาะบุคคล แต่คิดว่าคำตอบคร่าวๆ เหล่านั้นอาจนำไปสู่ทางออกที่ทำให้ดีขึ้น Time index 01:17 ทำอย่างไรหากรู้สึกไม่โอเคเมื่อพ่อกับแม่แสดงความรักต่อกัน 12:01 รู้สึกดีไม่พอจนกดดันตัวเอง ทำอย่างไรจะให้ประสบความสำเร็จ 18:12 กลับมาจากเที่ยวทำไมยังห่อเหี่ยวอยู่ จะดูแลตัวเองอย่างไร |
Mar 28, 2019 |
RUOK79 ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต แต่ควรเปลี่ยนวิธีคิดก่อนจะกลายเป็นกับดัก
18:32
ความผิดหวังเป็นเรื่องที่เราพบเจอได้ทุกวัน ตั้งแต่เรื่องเล็กอย่างร้านอาหารเจ้าประจำปิดจนถึงเรื่องใหญ่ขึ้นอย่างการสอบตก สมัครงานไม่ผ่าน หรืออะไรก็ตามที่ไม่ได้เป็นตามที่เราคาดหวัง แม้จะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ความ ‘ผิดหวัง’ ที่หลายครั้ง เราให้ค่าว่าเป็นความ ‘ผิดพลาด’ นั้นอาจกลายเป็นกับดักทางความคิด R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนตั้งรับกับความผิดหวังด้วยสติ เพื่อสุดท้ายเราจะผ่านมันไปอย่างเท่าทันความคิดของตัวเอง Time index 02:14 ชีวิตเรามีเรื่องให้ผิดหวังทุกวัน 03:41 เราอาจเป็นคนทำให้ตัวเองเจ็บซ้ำ 04:04 คนเรามีทางเลือกเสมอ แต่เราจะไม่เห็นทางเลือกอื่นเพราะความเคยชิน 06:10 ยอมรับความรู้สึกตัวเองว่ากำลังผิดหวัง 07:24 ซ้อมหาทางออกให้ตัวเองตั้งแต่ยังไม่ผิดหวัง 07:59 อย่าให้ค่าว่าความผิดหวังคือความผิดพลาดของชีวิต 09:56 เราถูกสอนมาตลอดชีวิตว่าการไม่ผิดพลาดคือความสำเร็จ 12:35 สังเกตคำพูดที่สนทนากับตัวเองเวลาผิดหวัง |
Mar 25, 2019 |
RUOK78 เห็นหน้าแล้วหมั่นไส้ อยู่ใกล้แล้วไม่ถูกชะตา ทุกความรู้สึกล้วนมีที่มาแต่อย่าเพิ่งรีบตัดสิน
15:42
คนบางคนที่เพิ่งเจอกันครั้งแรก แต่เรากลับรู้สึกไม่ชอบ แถมอธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมถึงรู้สึกตะขิดตะขวงใจทั้งๆ ที่ไม่เคยมีอะไรต่อกัน ทุกความรู้สึกล้วนมีที่มา รวมถึงความรู้สึก ‘ไม่ถูกชะตา’ ซึ่งมีที่มาได้หลายสาเหตุ ทั้งประสบการณ์ในอดีต หรือแม้แต่นิสัยบางอย่างในตัวเรา ที่เราพยายามซุกซ่อนไว้แล้วไปปรากฏในบุคลิกฝั่งของตรงข้าม แต่ไม่ว่าอย่างไรอย่าเพิ่งตัดสินใครเพราะแค่ความรู้สึกไม่ถูกชะตา Time index 02:35 สาเหตุของความไม่ถูกชะตาอาจเกิดจากประสบการณ์ในอดีต 05:02 ความไม่ถูกชะตาคือเรื่องของเราโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับอีกฝ่าย 06:14 ที่เราไม่ถูกชะตาเพราะเราเรียนรู้ว่าไม่อยากมีประสบการณ์แบบเดิม 09:45 ทำอย่างไรเมื่อต้องร่วมงานกับคนที่ไม่ถูกชะตา 12:26 เราไม่ถูกชะตาคนอื่นเพราะเขามีด้านที่เราไม่ชอบในตัวเอง |
Mar 21, 2019 |
RUOK77 ให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างไร ให้เข้าใจถึงความหวังดีและไม่กดดัน
16:18
หลายครั้งที่เราไปเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพื่อต้องการแสดงถึงความปรารถนาดี เลยเลือกจะพูดคำบางคำเพื่อส่งกำลังใจ แต่เราไม่รู้ตัวว่าประโยคเหล่านั้นอาจสร้างบาดแผลและสร้างความกดดันโดยไม่รู้ตัว R U OK เอพิโสดนี้เลยรวบรวมหลากหลายสถานการณ์ในโรงพยาบาลว่าเราควรพูดหรือปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อจะไม่เป็นการย้ำความเจ็บป่วย เพราะในโรงพยาบาลอาจเป็นสถานที่อ่อนไหวทางความรู้สึกกว่าที่คิด Time index 01:44 หลายครั้งที่เราคิดว่าการให้กำลังใจคือการพูดอะไรดีๆ 02:48 ความต้องการไปให้กำลังใจอาจเป็นความต้องการของเราเอง 04:19 โรงพยาบาลเป็นพื้นที่ละเอียดอ่อนกว่าพื้นที่ทั่วไป 07:19 การเยี่ยมผู้ป่วยอาจแค่นั่งฟังหรืออยู่เป็นเพื่อน 09:17 “สู้ๆ นะ” อาจไม่ใช่คำปลอบที่ดี 10:18 การเยี่ยมผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะสุดท้าย |
Mar 18, 2019 |
RUOK76 รวมคำให้กำลังใจในโอกาสครบรอบ 1 ปี R U OK พอดแคสต์
25:10
ในโอกาสที่ R U OK พอดแคสต์ครบรอบ 1 ปี เอพิโสดนี้เลยถือโอกาสรวมประโยคให้กำลังใจจากตอนที่ผ่านๆ มา อาจมีบางคำที่ทำให้เราเห็นมุมใหม่ๆ และปรับใจตัวเองได้ เพราะทุกความคิดและทุกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ หากเราต้องการ Time index 10:20 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีความสุข 11:55 เงินทำให้ซื้อของได้แต่แทนความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวไม่ได้ 13:10 การมีเพื่อน คือการ Give & Take 14:05 ความถูกต้องไม่ได้เป็นความจริงสูงสุดของทุกคน 15:01 ชีวิตเราไม่ได้พึ่งพาทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว 16:28 บางครั้งเราอิจฉาเพราะไม่ยอมรับความแตกต่าง 17:23 การคาดหวังในคนรักดูแลเราเหมือนพ่อแม่อาจไม่ใช่สิ่งสูงสุดในชีวิต 18:27 เราจัดการและออกแบบชีวิตเองได้ 19:23 เด็กไม่สามารถเข้าใจคุณค่าหรือตีความความรักผ่านเงิน 21:11 เราดูแลคนอื่นอย่างไร เรารักตัวเองได้อย่างนั้น |
Mar 14, 2019 |
RUOK75 รู้ว่าไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่ทำไมหลายครั้งเราใช้อารมณ์นำเหตุผล
18:04
ได้ยินจนขึ้นใจว่าเวลาเจอปัญหา อย่าใช้อารมณ์นำเหตุผล แต่บางครั้งเราก็ไม่ทันยั้งตัวเอง อารมณ์พุ่งพล่านไปก่อนจนเกิดปัญหา แล้วกลับมาทบทวนว่าไม่น่าทำอย่างนั้น เพราะอารมณ์เป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์ตลอดเวลา R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนพิจารณาว่ามีปัญหาไหนบ้างไหมที่เราใช้อารมณ์ก่อนเหตุผลได้ ใช้อารมณ์ตัดสินใจบ่อยๆ จะ รวมถึงถ้าอยากใช้อารมณ์ให้น้อยลง จะมีวิธีการปรับปรุงตัวเองให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร Time index 02:09 ทำไมเราถึงใช้อารมณ์เหนือเหตุผล 02:30 บางสถานการณ์ก็ต้องใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล 03:58 บางคนใช้ชุดเหตุผลจนหมดจึงเลือกใช้ชุดอารมณ์มาสู้แทน 08:21 อารมณ์คือสิ่งสะท้อนภายในใจ ภายนอกคือสิ่งกระตุ้น 09:34 เราเลือกใช้เหตุผลหรืออารมณ์ได้แต่ต้องรู้ตัว 12:07 การใช้อารมณ์นำเหตุผลอาจมาจากไม่มีทักษะควบคุมอารมณ์ตัวเอง 12:34 บางคนชอบระบายแล้วทำให้รู้สึกดี แต่ไม่มีวุฒิภาวะ 13:33 วิธีฝึกให้ตัวเองให้ใช้อารมณ์น้อยลง คือการถ่างลมหายใจ |
Mar 12, 2019 |
RUOK26 อย่าเพิ่งปฏิเสธว่าไม่เคยอิจฉา เพราะหากเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมาจะได้เท่าทันตัวเอง [Re-Broadcast]
16:09
แม้ว่าความอิจฉาจะเป็นอารมณ์พื้นฐานที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นหลายคนจะไม่ยอมรับ จึงไม่รู้เท่าทันตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้จึงย้อนกลับไปสำรวจที่มาของความอิจฉาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร พฤติกรรมแบบไหนที่เข้าข่าย เพื่อสุดท้ายหากเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเราจะจัดการมันได้ทันทีท่วงที ก่อนความรู้สึกนี้จะทำร้ายตัวเราและคนรอบข้าง Time index 01:50 ความอิจฉาคือธรรมชาติของมนุษย์ 03:49 ความอิจฉาคือเรื่องธรรดาของครอบครัวที่โตมากับพี่น้อง 05:07 อิจฉาไม่ใช่ความผิด แต่จะผิดที่วิธีรับมือกับความอิจฉา 10:37 ความอิจฉาระงับได้ด้วยการรู้จักยอมรับความแตกต่าง 14:07 เราจะจัดการความอิจฉาที่เกิดขึ้นอย่างไร อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok26/ |
Mar 08, 2019 |
RUOK31 เราไม่ได้ Bully กันเพียงเรื่องทางกาย แต่คำพูดร้ายๆ ก็สร้างบาดแผลทางใจไม่ต่างกัน [Re-broadcast]
15:38
แม้ทุกวันนี้คำว่า Bully จะถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่น้อยครั้งที่เราจะตระหนักถึงความหมายของมันจริงๆ ว่าหมายถึงพฤติกรรมแบบไหน R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนมาทำความเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว Bully หมายถึงอะไร มีแบบไหนบ้างที่เข้าข่าย การใช้คำพูดหรือ Cyber Bullying ส่งผลกระทบทางจิตใจได้มากน้อยต่างกันไหม เพื่อสุดท้ายเราจะได้ไม่กลายเป็นเหยื่อ หรือทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่รู้ตัว Time index 01:49 การ Bully ไม่ใช่แค่ความรุนแรงทางกาย 04:03 มนุษย์เราฝึกการเล่นกับคนอื่นมาตั้งแต่เด็ก 05:31 การ Bully บางครั้งก็มาในนามของความรัก ความเอ็นดู ความเป็นผู้ใหญ่ 07:48 เราเจอการ Bully มาตั้งแต่เด็กจนถึงตอนโต 09:11 Cyber Bullying ก็สร้างบาดแผลในใจได้ไม่ต่างกัน 13:40 เราต้องหยุดวงจร Bully อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok31/ |
Mar 05, 2019 |
RUOK74 การวางฟอร์มบางครั้งมาจากความปลอดภัยทางใจ และจะทำอย่างไรให้ไม่อึดอัดเมื่อเจอคนชอบเก๊ก
17:14
บางครั้งการวางฟอร์มก็ไม่ใช่เรื่องของการผิดธรรมชาติ แต่คือการแสดงความไม่ปลอดภัยทางใจในเวลาและสถานที่นั้นๆ R U OK เอพิโสดนี้ชวนทำความเข้าใจเมื่อเรารู้สึกว่าคนที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกำลังวางมาดหรือเก๊ก เขาเหล่านั้นกำลังเผชิญกับความรู้สึกอะไร ความอึดอัดของเรามาจากไหน และควรทำอย่างไรเพื่อเข้าถึงตัวตนของคนตรงหน้าจริงๆ Time index 02:12 ความอึดอัดจากการสื่อสารกับคนวางมาด เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถเชื่อมโยงกับบุคลิกจริงๆ ของเขาได้ 04:41 งานบางงานคาดหวังบุคลิกภาพบางอย่างจากเรา 05:54 การวางฟอร์มบางครั้งเกิดจากความไม่ปลอดภัยทางใจ 07:15 การวางฟอร์มบางครั้งมาจากความคิดว่าถูกจับจ้องและต้องปฏิบัติตัวให้ดี 08:20 การเลี้ยงดูและสังคมที่เติบโตมา มีผลต่อบุคลิกภาพ 12:09 บางครั้งเก๊กเพื่อกลบเกลื่อนความเขิน 15:56 ถ้าต้องสื่อสารกับคนวางมาด ควรปรับทัศนคติอย่างไร |
Mar 01, 2019 |
RUOK73 ทำอย่างไรถ้าเก็บคำพูดคำอื่นไปคิดมาก? พ่อแม่เพื่อนป่วยหนักจะปลอบใจอย่างไร?
20:23
มีคำถามที่ส่งถึงพอดแคสต์ R U OK ซึ่งล้วนแล้วน่าสนใจและคิดว่าน่าจะตรงกับประสบการณ์ใครหลายคน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป R U OK เลยเลือกคำถามมาตอบเดือนละครั้ง เริ่มจากคำถามของพนักงานบริษัท เมื่อโดนคอมเมนต์จากหัวหน้างานแล้วกลับไปคิดมาก จะทำอย่างไรเมื่อคำพูดเหล่านั้นวนเวียนไม่หยุด กับคำถามของวัยกลางคนที่พ่อแม่ทั้งของเราและเพื่อนเริ่มป่วย จะพูดหรือปลอบอย่างไรให้เพื่อนที่กำลังทุกข์ใจรู้สึกดีขึ้น Time index 02:25 ถูกคอมเมนต์จากหัวหน้างานและเก็บไปคิดไม่หยุด จะทำอย่างไรดี 09:56 จะปลอบใจเพื่อนอย่างไร เมื่อพ่อแม่เพื่อนกำลังป่วย 14:03 ถ้าดูแลคนป่วยจนเครียดจะทำอย่างไรดี |
Feb 25, 2019 |
RUOK72 คุยเรื่องการเมืองอย่างไรให้ไม่บาดหมาง และเผื่อใจให้กับความต่างเพราะคนเราคิดไม่เหมือนกัน
17:51
เข้าสู่ช่วงใกล้เลือกตั้ง หลายวงสนทนาคงหนีไม่พ้นการหยิบประเด็นการเมืองมาแลกเปลี่ยนความเห็น ซึ่งสิ่งที่ต้องเจอคือความเห็นทั้งเหมือนและต่าง หลายคนจึงเลี่ยงไม่พูดถึง เพราะความหลากลายเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ R U OK เชื่อว่าความเห็นทางการเมืองเป็นสิ่งที่แลกเปลี่ยนกันอย่าง Healthy ได้ ซึ่งง่ายที่สุดคือเริ่มจากการตั้งคำถามกับความเห็นของตัวเอง เพื่อจะได้เปิดพื้นที่ให้กับคนรอบข้างที่คิดต่างไปจากเรา Time index 02:16 การเมืองเป็นเรื่องเราคุยกันได้ไหม 04:03 มองการเมืองให้เป็นเรื่องหลักการ เหตุผล นโยบาย ไม่ใช่ความเชื่อ 05:00 ลองวิเคราะห์ความเห็นด้านการเมืองของตัวเอง เพราะถ้าเราเข้าใจตัวเองมากพอจะตอบคำถามของคนอื่นได้ 06:58 เราไม่ควรแลกความสัมพันธ์ส่วนตัวกับความเห็นทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน 08:15 เราอยู่ร่วมกันด้วยความต่าง และการเมืองเป็นหนึ่งในนั้น 10:34 หลายครั้งเราติดกับความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดคนอื่น 14:02 เราไม่ต้องหักล้างใครแต่ต้องมีสติเพื่อคิด วิเคราะห์ แยกแยะ 15:18 ติดตามข่าวการเมืองอย่างไรให้ไม่เกิดความเครียด |
Feb 21, 2019 |
RUOK71 รักมากก็แค้นมาก: จิตวิทยาของความไว้ใจเกี่ยวข้องอย่างไรกับความแค้น
18:36
ความแค้นเป็นอารมณ์ธรรมชาติของมนุษย์ที่เมื่อถูกกระทำก็อยากให้อีกฝ่ายรับรู้ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือการกระทำที่ตามมาจากความแค้นต่างหาก R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปเข้าใจอารมณ์แค้นที่เราเคยเห็นในข่าว ในละคร สำรวจดีๆ ว่าเคยเกิดขึ้นกับใจเราไหม รักมากก็แค้นมากเป็นจริงอย่างที่เขาว่ากันหรือเปล่า และเมื่อสำรวจแล้วมีความแค้นในใจ สเตปแรกควรทำอย่างไรที่จะจัดการความรู้สึกนี้ Time index 02:16 ความแค้นเป็นความรู้สึกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ 03:22 อย่าเพิ่งตัดสินตัวเองถ้ารู้สึกแค้น เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ 05:37 ความแค้นเกิดขึ้นเพราะกลไกป้องกันตัวเอง และเป็นเจตจำนงที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก 07:10 เราเลือกเองที่จะให้ความแค้นอยู่กับตัวเรา 09:00 ความมุ่งหมายของความแค้นคืออยากให้อีกฝ่ายได้เห็นว่าทำอะไรกับเรา 09:55 การสื่อสารให้อีกฝ่ายเห็นว่าทำอะไรไว้สามารถทำได้หลายแบบ 10:53 การอยากให้อีกฝ่ายรู้ว่าทำเราเจ็บแค่ไหนเป็นธรรมชาติ แต่วิธีการแสดงออกให้อีกฝ่ายรู้เป็นการเลือก 11:53 การแสดงออกโดยไม่คิดไตร่ตรองจะนำปัญหาใหม่มาสู่ตัวเราเอง 13:40 สเตปแรกเมื่อรู้ว่าตัวเองแค้นให้ยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ 14:05 ความแค้นเกี่ยวกับความไว้เนื้อเชื่อใจ |
Feb 18, 2019 |
RUOK28 มีคนมาชอบแล้วอึดอัด มีความรักแล้วประหม่า จะทำอย่างไรกับอาการกลัวความสัมพันธ์นี้ดี [Re-broadcast]
16:58
เพิ่งผ่านเทศกาลแห่งความรักมา ทำให้เห็นว่าความรักเป็นสิ่งขับเคลื่อนใครหลายคน บางคนมีความสุขเพราะได้รัก และหลายคนเป็นทุกข์เพราะไร้รัก แต่สำหรับบางคน ความรักก็ไม่ใช่สาเหตุของความสุขเสมอไป เพราะเมื่อไรที่ความสัมพันธ์เริ่มจริงจัง หรือแค่รู้ว่ามีใครกำลังมาชอบ กลับเครียด เกร็ง รู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือบางทีก็หนีหายไปเสียดื้อๆ อย่างไม่รู้สาเหตุ R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนคุยเรื่องอาการประหม่า หรือกลัวความสัมพันธ์ว่าสาเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้าอยากเริ่มต้นใหม่จะบอกตัวเองอย่างไรให้ก้าวข้ามความกลัวที่มี Time index 04:00 อาการกลัวความสัมพันธ์ 08:36 ที่มาของอาการกลัวความสัมพันธ์ 09:43 ประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีก่อให้เกิดอาการกลัวความสัมพันธ์ได้ 11:22 ถ้าอยากก้าวข้ามความกลัวนั้นทำอย่างไร 14:20 ถ้าก้าวข้ามไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แค่เรารู้จักตัวเอง 15:40 อยากมีความรักแต่ก็กลัวความสัมพันธ์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัดช่วยได้ อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok28/ |
Feb 15, 2019 |
RUOK70 หลายเหตุผลทางจิตวิทยาที่บอกว่าทำไมคนรักถึงนอกใจ
18:33
หนึ่งในสาเหตุที่ชีวิตคู่ไม่ประสบความสำเร็จอันดับต้นๆ คือการนอกใจ แม้ว่าหลายคู่จะพยายามปรับความเข้าใจกัน แต่ก็พบว่าคนรักยังนอกใจซ้ำๆ อย่างห้ามความรู้สึกตัวเองไม่ได้ เพราะเบื้องหลังการกระทำนั้นอาจมีเรื่องของจิตใจเป็นเหตุผลอยู่ R U OK เอพิโสดนี้จะชวนค้นเบื้องหลังพฤติกรรมนอกใจ ว่ารูปแบบกระทำนี้มาจากไหน ประสบการณ์ในอดีตส่งผลต่อปัจจุบันอย่างไร แต่ไม่ว่าด้วยสาเหตุไหน การนอกใจก็ทำให้อีกฝ่ายที่อยู่ในความสัมพันธ์เจ็บปวดเสมอ Time index 02:45 เริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยการร่วมกันนิยามความหมายต่างๆ รวมถึงคำว่านอกใจ 03:33 นิยามคำว่านอกใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 08:01 แพทเทิร์นของพฤติกรรมนอกใจจะเกิดขึ้นซ้ำๆ 08:11 สาเหตุของพฤติกรรมนอกใจคือสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ไม่ได้ผัวเดียวเมียเดียว 09:32 การนอกใจอาจเป็นการค้นหาอีกด้านของตัวเอง 10:50 การนอกใจทำให้รู้สึกตัวเองเป็นวัยรุ่น ได้หลบซ่อน 12:02 ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร การนอกใจก็ทำให้อีกฝ่ายเจ็บได้เสมอ |
Feb 11, 2019 |
RUOK69 ทำไมเราคาดหวังว่าคนที่รักจะตอบสนองสิ่งต่างๆ ให้ และยั้งความคิดอย่างไรไม่ให้ทำร้ายกัน
19:45
หากถอดสมการให้เป็นภาพชัดๆ ความคาดหวัง = ความต้องการ หลายครั้งเราเลยเอาความต้องการของเราที่มีเป็นร้อยเป็นพันอย่าง ไปทาบทับคนอื่นโดยคาดว่าเขาจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ โดยลืมไปว่าอีกฝ่ายคือมนุษย์คนหนึ่งที่มีความต้องการเป็นของตัวเองเหมือนกัน R U OK เอพิโสดนี้อยากให้ยั้งสักนิด ลองทบทวนตัวเองก่อนที่จะเอาความคาดหวังทั้งหมดที่มีของเราไปวางทาบคนอื่นโดยเฉพาะคนที่เรารัก พร้อมทั้งมี 2 คำถามง่ายๆ ที่ใช้ถามตัวเองก่อนที่ความหวังดีจะไปทำร้ายอีกฝ่าย Time index 02:57 ความคาดหวังคือความต้องการ 03:37 เรามีความคาดหวังได้กับทั้งคนรอบข้างและตัวเอง 04:45 ทำไมเราชอบคาดหวังกับคนใกล้ตัวหรือคนรัก 05:59 ความต้องการที่ไปพาดอยู่บนตัวคนอื่นเรียกว่า ความคาดหวัง 08:24 แม้แต่เพื่อนร่วมงานเราก็ยังคาดหวังให้เป็นอย่างที่เราต้องการ 10:17 บางความคาดหวังไม่ได้เจตนาร้ายแต่มาจากคำสอนที่ยึดถือไว้ในใจ 11:28 ทุกเสียงในหัวที่บอกว่าดี ไม่ได้ดีสำหรับทุกคนเสมอไป 13:20 ความคาดหวังมีได้ แต่ให้ถามตัวเองด้วย 2 คำถามนี้ |
Feb 07, 2019 |
RUOK68 สำรวจเสียงของตัวเองที่ดังขึ้นในใจ ก่อนจะติดป้ายใครว่า Wanna be
15:58
หลายครั้งที่เราเล่นโซเชียลมีเดียมักจะเห็นคอมเมนต์ทำนองว่าคนนั้นคนนี้ Wanna be บ้าง อยากดังบ้าง เพราะเรา ‘รู้สึก’ ว่าเขาเหล่านั้นพยายามและไม่ธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่เคยสังเกตบ้างไหมว่าความรู้สึกของเราอาจไปแปะป้ายตัดสินเขาเหล่านั้นและมีสิทธิที่ไม่ตรงกับความจริง R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจเสียงที่ดังขึ้นในใจ เวลารู้สึกว่าใครบางคนพยายามจนขัดธรรมชาติ เสียงของเราเป็นคำพูดประมาณไหน ทำไมมีแต่ด้านลบ และจริงๆ แล้วเรารู้สึกกับเขาเหล่านั้นอย่างไร อย่างน้อยเราจะได้ทันความคิดก่อนที่จะไปติดป้ายใครว่า Wanna be Time index 02:26 ทำไมคำว่า Wanna be ถึงกลายเป็นคำที่ฟังดูลบ 03:55 การ Wanna be เป็นสิทธิส่วนบุคคล 04:43 การ Wanna be ที่มากเกินไปอาจผิดกับกาลเทศะ บุคคล สถานที่ 05:56 การ Wanna be อาจเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่ยังไม่เคยชินในสังคมไทย 07:13 การตัดสินคนอื่นว่า Wanna be อาจมีความคิดเบื้องหลังว่าเขาคนนั้นไม่ควรทำอย่างนี้ 10:54 สิ่งควรทำกับไม่ควรทำของแต่ละคนไม่เท่ากัน 11:20 ความต้องการยอมรับเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน 13:59 ลองสังเกตความรู้สึกตัวเองเมื่อบอกว่าใครสักคน Wanna be |
Feb 04, 2019 |
RUOK67 เฉยๆ ชาๆ อาจไม่ใช่การเบื่อหน่าย แต่กลายเป็นภาวะสิ้นยินดีที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
20:47
เคยสังเกตกันไหมว่าเวลามีคำถามเชิงความรู้สึก หลายครั้งที่เราหาคำจำกัดความไม่ได้จึงตอบไปทำนองว่าเรื่อยๆ เฉยๆ จาก 1 เรื่องเป็น 2 เรื่องและค่อยๆ เป็นกับทุกเรื่องในชีวิต หลายครั้งมันว่างเปล่าจนรู้สึกว่าทุกข์เสียยังดีกว่ากับความเฉยชาต่อชีวิตแบบนี้ R U OK เอพิโสดนี้อยากชวนทุกคนสำรวจตัวเองว่าความรู้สึกเฉยๆ ที่หลายคนตอบจนติดปาก อาจไม่ใช่แค่ความเบื่อหน่าย หรือเซ็งชีวิต แต่มีโอกาสที่จะว่างเปล่าจนไม่รู้สึกอะไรคล้ายกับภาวะสิ้นยินดี ภาวะนี้มีลักษณะอย่างไร รวมถึงจะแก้ไขอย่างไรหากรู้สึกเฉยไปกับทุกอย่าง Time index 01:34 ความรู้สึกเฉยๆ เกิดขึ้นได้กับทุกคน 02:18 บางอารมณ์เกิดขึ้นเล็กน้อยแต่เราไม่ทันสังเกต 03:29 อารมณ์ของมนุษย์เป็นดีกรี บางครั้งอาจมาเพียงบางๆ เลยไม่เห็นมัน 05:35 ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) คืออะไร 07:37 ภาวะสิ้นยินดีอาจมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า 11:19 เฉยกับนิ่งต่างกันอย่างไร 14:25 ถ้ารู้สึกเฉยกับทุกสิ่งรอบตัวควรทำอย่างไร |
Jan 31, 2019 |
RUOK66 กินแบบหยุดไม่ได้บางครั้งก็เป็นสาเหตุทางใจ จุกจนอาเจียนบ่อยแค่ไหนถึงไปพบจิตแพทย์ดี
17:13
อาการทางกายกับความรู้สึกทางใจสัมพันธ์กันอย่างที่เราคาดไม่ถึง หลายพฤติกรรมที่เราเห็นจึงมีสาเหตุลึกๆ ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ โดยเฉพาะการกินที่เราทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ กินจนเกินความต้องการจนบางครั้งอาเจียนออกมา R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนไปสำรวจเหตุผลทางใจว่าทำไมถึงเกิดอาการกินแบบหยุดไม่ได้ ความรู้สึกอะไรที่ซ่อนอยู่หลังพฤติกรรมเหล่านี้ และหากอยากบำบัดรักษาจะมีโอกาสดีขึ้นไหม Time index 01:44 ภาวะกินแบบหยุดไม่ได้ (Binge Eating Disorder) 03:35 อาการของภาวะกินแบบหยุดไม่ได้ 04:11 การกินเป็นการตอบสนองทางใจได้เหมือนกัน 05:27 ความแตกต่างของผู้หญิงช่วงมีประจำเดือนกับภาวะกินแบบหยุดไม่ได้ 06:27 การกินที่ผิดปกติอาจเกี่ยวข้องกับความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าได้ 08:54 การกินเยอะผิดปกติอาจเป็นการเติมสิ่งที่ว่างภายในใจได้ 10:18 มนุษย์เรียนรู้การมีความสุขจากสัมผัสทางปากตั้งแต่เด็ก 11:37 การกินที่ผิดปกติอาจมีความหลังตั้งแต่เด็กซึ่งผูกไว้กับความเป็นคนดีมีความรับผิดชอบ 13:07 จิตบำบัดช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมได้ |
Jan 28, 2019 |
RUOK65 บางครั้งครอบครัวคือที่มาของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการขึ้นมาควรจัดการอย่างไร
17:48
ความรู้สึกไร้ค่า เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อกำลังเผชิญสถานการณ์ที่รู้สึกว่าตัวเองสามารถเป็นประโยชน์หรือแสดงศักยภาพได้เต็มที่มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น บางครั้งรู้สึกว่าเป็นพนักงานที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรเท่าที่ควร เป็นประชาชนที่ไม่สามารถขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ หรือแม้แต่หน่วยเล็กๆ อย่างครอบครัวเราก็อาจรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ แต่สำหรับบางคน ความรู้สึกไร้ค่าก็เกิดขึ้นบ่อยจนชวนให้สงสัย R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจความไร้ค่าที่บางครั้งอาจมาจากเรื่องเล็กๆ ในครอบครัวที่มองข้าม แต่กลับส่งผลมากมายกับความรู้สึก พฤติกรรมที่ว่าคืออะไร และเราจะรู้เท่าทันตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้น Time index 02:08 ความรู้สึกไร้ค่าแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน 03:47 ความรู้สึกไร้ค่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน 04:25 ลึกๆ แล้วบางคนรู้สึกเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ต่อองค์กร 04:55 บางคนแสดงความรู้สึกไร้ค่าด้วยความคิดที่ว่าไม่ทำคนเดียวก็ไม่เห็นเป็นไร 06:24 เด็กรับรู้ถึงคุณค่าผ่านเงินไม่ได้ 09:24 เด็กบางคนต้องแบกรับความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่แคร์มาจนโต 10:10 พื้นฐานของการอยู่ด้วยกันคือการสัมผัส ใส่ใจ และใช้เวลาอยู่ด้วยกัน 11:26 หากในวัยเด็กรู้สึกไม่มีค่า เมื่อโตขึ้นมาแล้วโลกใบนี้เมินเพียงนิดเดียวก็สามารถพังได้ 13:01 หากเกิดความรู้สึกไร้ค่าขึ้นมาลองฟังเสียงของตัวเอง |
Jan 24, 2019 |
RUOK64 นิสัยชอบวิจารณ์มาจากไหน และจะบอกตัวเองอย่างไรให้ไม่พูดจนคนอื่นรู้สึกไม่ดี
18:39
ทุกวันนี้เราอยู่ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งคอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย ที่วิจารณ์กันตั้งแต่ทั้งเรื่องการบ้านการเมืองจนถึงเรื่องศิลปินดารา หรือแม้แต่ในชีวิตออฟไลน์อย่างการทำงานที่ออฟฟิศ เราก็เจอคำวิจารณ์ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวยันเรื่องผลงาน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ R U OK เอพิโสดนี้ชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำวิจารณ์ ที่พาลงลึกไปถึงนิสัยของคนที่ชอบวิจารณ์คนอื่น ว่าเบื้องหลังพฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน จนถึงร่วมกันหาคำตอบว่าการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์สามารถอย่างไร เพื่อสุดท้ายทำให้เกิดการพัฒนาและไม่มีใครถูกทำร้ายจากคำวิจารณ์ของเรา Time index 01:27 ทุกวันนี้เราต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 02:17 การวิพากษ์เพื่อการพัฒนาและวิจารณ์เพื่อความบันเทิงของคนพูดต่างกันอย่างไร 03:48 การวิจารณ์บางครั้งผู้พูดรู้สึกชอบธรรมในตัดสินอีกฝ่ายที่เป็นคนผิด 05:00 วิจารณ์กับ Bully ต่างกันอย่างไร 05:28 การให้ฟีดแบ็กที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและองค์กรทำอย่างไร 07:23 การวิจารณ์หนัง เพลง ศิลปะ คือการวิจารณ์แบบไหน 11:33 นิสัยชอบวิจารณ์คนอื่นมาจากไหน 14:20 เสียงที่วิจารณ์คนอื่นคือเสียงเดียวกับเรื่องที่เราเพ็งเล็งในตัวเอง |
Jan 21, 2019 |
RUOK63 ชักสีหน้าบ่อยๆ มองบนแบบไม่รู้ตัว ภาษากายเหล่านี้บอกอะไรและจะฝึกเก็บสีหน้าอย่างไรให้เหมาะสม
18:06
ในการสื่อสาร หลายครั้งที่เห็นคู่สนทนาฝั่งตรงข้ามไม่ได้พูดอะไรแต่เรากลับสังเกตเห็นสัญญาณความไม่พอใจที่แสดงออกทางกายได้อย่างชัดเจน ทั้งกลอกตาสูง มุมปากที่บิดขึ้น หรือคิ้วที่ขมวดมุ่นอย่างไม่เห็นด้วย เลยชวนให้สงสัยว่าทำไมบางคนถึงเก็บสีหน้าไว้ไม่อยู่ หรือแม้แต่ตัวเราเองในบางครั้งก็เป็นเหมือนกันที่แสดงออกอย่างไม่รู้ตัว R U OK เอพิโสดนี้เลยเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ภายในจิตใจกับการแสดงออกทางกายว่าสัมพันธ์กันแค่ไหน ที่ชักสีหน้าหรือแสดงความไม่สบอารมณ์ตลอดเวลาเกิดจากอะไร หน้าเหวี่ยงแต่ภายในใจไม่รู้สึกอะไรจริงไหม และจะฝึกฝนอย่างไรให้เราแสดงสีหน้าออกมาได้เหมาะสมกับสถานการณ์และเหมาะคู่สนทนาที่กำลังสื่อสารด้วย Time index 01:19 ภาษากายมีผลต่อการสื่อสารมากที่สุด 02:01 ภาษากายคือภาษาแรกของมนุษย์ตั้งแต่เกิด 04:11 ร่างกายกับจิตใจโกหกกันไม่ได้ แต่เราแสดงออกไม่ได้ในทุกโอกาส 05:34 วิธีการฝึกควบคุมอารมณ์ สีหน้า และภาษากาย 08:10 Shadow Movement การเคลื่อนไหวร่างกายที่เราไม่รู้ตัวเพราะเชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก อย่างกะกดปากกาหรือเขย่าขา 11:50 การแสดงออกทางกายแบบไหนที่แสดงความไม่เห็นด้วย 12:48 เรามีการควบคุมการจัดวางร่างกายแค่ไหน, เรามีสติเท่าทันแค่ไหน และเรามีความสามารถบรรจุสภาวะความไม่เห็นด้วยในใจได้มากแค่ไหน ทั้งหมดฝึกกันได้ 13:21 คนหน้าเหวี่ยง หน้าดุ จริงๆ แล้วเขารู้สึกอะไร |
Jan 17, 2019 |
RUOK62 ว่างๆ ชอบดึงผม เผลอๆ ชอบกัดเล็บ พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนสภาวะจิตใจอย่างไร และรักษาได้ไหม
14:51
เชื่อหรือไม่ว่าพฤติกรรมบางอย่างที่เราแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัว ล้วนสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนสำรวจตัวเอง บางคนดึงผมตอนเผลอๆ กัดเล็บตอนใจลอย รู้ตัวอีกทีก็เสียบุคลิกภาพ เบื้องหลังของพฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน และทำอย่างไรหากคนรอบข้างเผลอทำบ่อยๆ Time index 01:31 พฤติกรรมดึงผม กัดเล็บล้วนสะท้อนปัญหาที่อยู่ภายในจิตใจ 02:40 สาเหตุของพฤติกรรมดึงผมมาจากไหน 03:40 โรคดึงผมแบบรู้ตัว 04:30 การดึงผมสะท้อนภาวะความเครียดในจิตใจที่ยังจัดการไม่ได้ 05:40 โรคดึงผมแบบไม่รู้ตัว 06:50 สาเหตุอื่นๆ ของโรคดึงผม 10:49 ลองถามตัวเองถ้ารู้ตัวว่าขณะดึงผมคิดอะไรอยู่ 11:24 การตำหนิคนที่มีพฤติกรรมดึงผมยิ่งเพิ่มความเครียด 12:13 เริ่มเตือนคนรอบข้างอย่างไรหากมีพฤติกรรมลักษณะนี้ |
Jan 14, 2019 |
RUOK61 ความรู้สึกไม่ไว้ใจคนอื่นมาจากไหน สำรวจความคิดอย่างไรให้ไม่มองโลกในแง่ร้ายไปเสียทั้งหมด
16:23
ในโลกทุกวันนี้ที่เต็มไปด้วยอันตรายจากคำพูดและการกระทำ การจะไว้ใจใครสักคนดูเป็นเรื่องยาก แถมยิ่งเจอประสบการณ์ไม่ดีซ้ำๆ ก็อาจทำให้เราระแวงไปเลยก็ได้ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนทำความเข้าใจว่าความรู้สึกไม่ไว้ใจคนอื่นจริงๆ แล้วมาจากไหน รวมถึงชวนสำรวจตัวเองไปพร้อมๆ กันว่า เสียงที่เราตัดสินคนอื่นว่าไม่น่าไว้ใจนั้น แท้จริงแล้วมาจากอะไร Time index 03:04 ประสบการณ์และการรับรู้จากอดีตส่งผลในการไว้ใจคนอื่น 04:17 ความไม่ไว้ใจบางครั้งก็แสดงออกของการบังคับให้คนอื่นทำตาม 05:17 ความไม่ไว้ใจบางครั้งก็แสดงออกด้วยการคอมเมนต์วิถีของคนอื่น 09:53 ลองถามตัวเองดีๆ เวลาไม่ไว้ใจคนอื่นว่าความคิดนั้นมาจากไหน 12:53 ฝึกที่จะไว้ใจคนอื่นเพราะทั้งหมดคือทักษะที่พัฒนาได้ |
Jan 10, 2019 |
RUOK60 นอกจากเรื่องงาน เรา Burnout กับเรื่องอื่นได้ไหม สังเกตตัวเองอย่างไรก่อนข้างในไหม้จนไม่เหลือ
20:06
เพิ่งเริ่มต้นปีหลายคนรู้สึกไม่อยากทำงาน แต่สำหรับบางคนเป็นมากกว่านั้นคือ เบื่อ หมดไฟ หมดแรงจูงใจในการทำงาน จนถึงกับเป็น Burnout Syndrome R U OK เอพิโสดนี้จึงพามาทำความรู้จักอาการ Burnout หรือหมดไฟว่าจริงๆ แล้วสามารถเป็นกับเรื่องอื่นนอกจากเรื่องงานได้ไหม ชีวิตส่วนตัวเครียดๆ ทำให้เราหมดอาลัยตายอยากได้หรือเปล่า รวมถึงจะสังเกตตัวเองอย่างไรก่อนข้างในตัวเราจะมอดไหม้จนไม่เหลือ Time index 02:39 Burnout Syndrome คืออะไร 03:27 Burnout Syndrome แสดงออกทั้งทางกาย ทางอารมณ์ และพฤติกรรม 05:31 คนที่มีภาวะ Burnout อาจไม่รู้ตัวแต่เพราะหน้าที่และความรับผิดชอบ 07:30 เราจัดการชีวิตได้เสมอ ไม่จำเป็นต้องแบกภาวะนี้ตลอดไป 08:20 สาเหตุของการ Burnout จริงๆ คือความเครียดที่ไม่รู้ตัว 10:43 การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเข้าโหมดเครียดเสมอไป 11:03 ไม่ใช่แค่เรื่องงานแต่ภาวะกดดันเรื่องส่วนตัวก็เกิดอาการ Burnout ได้ 12:40 จะเริ่มต้นจัดการตัวเองอย่างไรถ้ามีภาวะ Burnout |
Jan 07, 2019 |
RUOK59 อยากสร้างนิสัยดีๆ ทำอย่างไร และจะต่อสู้อย่างไรกับข้ออ้างของตัวเอง
19:52
ช่วงต้นปีแบบนี้หลายคนมักตั้ง New Year’s Resolutions ให้กับตัวเอง แต่ก็มักประสบปัญหาคือทำได้ไม่นานก็ล้มเลิก R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากช่วยวางแผนให้ทุกคนทำปณิธานปีใหม่ให้สำเร็จ ตั้งแต่วิธีการเริ่มตั้งเป้าหมายให้ชัด ต่อสู้กับข้ออ้าง จนถึงการลงมือทำ เพราะทุกๆ พฤติกรรมของมนุษย์เมื่อปฏิบัติเป็นประจำ ก็สามารถกลายเป็นนิสัยดีๆ ที่เราต้องการได้เสมอ Time index 02:14 ปีใหม่หลายคนอยากสร้างนิสัยดีๆ 03:27 ทุกพฤติกรรม วิธีคิด และนิสัยเลิกและเปลี่ยนได้จริง 06:14 พฤติกรรมที่อยากเลิกและอยากเริ่มในปีใหม่ 09:56 วางเป้าหมายแบบลงรายละเอียดจะทำให้สำเร็จมากขึ้น 10:50 นิสัยใหม่สามารถสร้างได้โดยสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน 13:38 เราต้องรู้ตัวเองว่าอยากได้ซัพพอร์ตจากคนอื่นแบบไหน 15:23 ประเมินข้ออ้างของตัวเองล่วงหน้า |
Jan 03, 2019 |
RUOK58 สำรวจพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพื่อเริ่มต้นเป็นคนใหม่
14:50
ปี 2018 ที่ผ่านมา พจนานุกรม Oxford ได้เลือกศัพท์คำว่า Toxic เป็นคำแห่งปี ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสารพิษหรือมลพิษเพียงเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงพฤติกรรมอันเป็นพิษของทั้งตัวเองและคนรอบข้าง หรือแม้แต่ข่าวลวง ข้อมูลที่ผิดก็ถือเป็น Toxic ด้วยเช่นกัน R U OK เลยถือโอกาสสวัสดีปีใหม่พร้อมชวนสำรวจ ‘Toxic’ ทั้งพฤติกรรมและความคิดอันไม่พึงประสงค์ของตัวเองว่ามีอะไรที่ควรแก้ไข เพื่อเริ่มต้นเป็นคนใหม่อย่างที่อยากเป็น Time index 03:55 พฤติกรรม Toxic ที่เราไม่รู้ตัวอันดับแรกคือการนินทาคนอื่น 05:15 พฤติกรรมชอบหาคนผิด 07:10 พฤติกรรมบงการคนอื่น 08:06 พฤติกรรมการแสดงตัวเองว่าตกเป็นเหยื่อ 09:25 พฤติกรรมชอบมีข้ออ้างเสมอ 11:25 พฤติกรรมกีดกั้นการสื่อสาร |
Dec 31, 2018 |
RUOK57 ชุดคำถามไว้ทบทวนตัวเองตอนสิ้นปี ว่าปีนี้เป็นปีที่ดีไหม?
22:07
สิ้นปีแบบนี้ หลายคนกำลังเฉลิมฉลอง เตรียมตัวพักผ่อน และหลายคนใช้โอกาสนี้ทบทวนตัวเองในปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องดีร้าย เหตุการณ์ประทับใจ รวมถึงสิ่งที่อยากทิ้งไปพร้อมปีเก่าๆ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวน ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ โฮสต์ประจำรายการทั้ง 2 คนแชร์ประสบการณ์ในปีที่ผ่านมา ด้วยคำถามที่ไม่ว่าใครก็ปรับใช้เพื่อทบทวนตัวเอง Time index 01:37 ให้รางวัลตัวเองในวันปีใหม่ 03:00 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์อะไรที่ประทับใจหรือให้บทเรียนแก่เราบ้าง 11:53 อยากให้ปีหน้าเป็นปีของอะไร 15:00 ชุดคำถามที่อยากให้ลองทบทวนตอนสิ้นปี |
Dec 27, 2018 |
RUOK56 โลกส่วนตัวสูงกับ Introvert เหมือนกันไหม และจะอยู่ร่วมกันอย่างไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว
18:57
คนที่โลกส่วนตัวสูง มุมหนึ่งอาจน่าค้นหาและเป็นคนน่าสนใจ แต่อีกมุมหนึ่งอาจสงสัยเพราะไม่รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร ไม่ชอบให้คนอื่นรู้เรื่องของตัวเอง และพื้นที่ความเป็นส่วนตัวกว้างกว่าคนทั่วไป R U OK เอพิโสดนี้จะชวนคุยถึงคนโลกส่วนตัวสูงที่ว่าเข้าถึงยากนั้น จริงๆ แล้วเบื้องหลังเขารู้สึกอย่างไร ใช่ Introvert เสมอไปไหม และเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปฏิสัมพันธ์จะทำอย่างไรให้ไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของกันและกัน Time index 01:51 โลกส่วนตัวสูงคือคนมีพื้นที่ส่วนตัวทั้งกว้างและสูง 04:14 พื้นที่ส่วนตัวแต่ละคนต่างกันตามประสบการณ์และวัฒนธรรม 07:33 การละเมิดพื้นที่ส่วนตัวไม่ใช่เพียงการกระทำ แต่รวมทุกประสาทสัมผัส 09:19 โลกส่วนตัวไม่ใช่เรื่องผิดแต่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรเคารพ 09:30 พื้นที่ส่วนตัวจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ 11:14 คนโลกส่วนตัวสูงไม่ได้อยู่คนเดียวเสมอไปแต่ขึ้นอยู่กับความเชื่อใจ 13:45 Introvert ไม่ได้โลกส่วนตัวสูงทุกคน 14:59 เราจะอยู่ร่วมกันโดยเคารพพื้นที่ส่วนตัวกันและกันอย่างไร |
Dec 24, 2018 |
RUOK55 เบื้องหลังของความรู้สึกน้อยใจคืออะไร และทำไมเราถึงไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
20:05
ความรู้สึกหนึ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็กคืออาการน้อยใจ ตั้งแต่น้อยใจเพราะรู้สึกว่าพ่อแม่ปฏิบัติเราไม่เท่าพี่น้อง น้อยใจเพราะเพื่อนไปเล่นโดยไม่ชวน หรือน้อยใจเพราะรู้สึกว่าแฟนไม่เอาใจใส่ดูแล R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปสำรวจอารมณ์น้อยใจว่าจริงๆ แล้วเบื้องหลังของความรู้สึกนี้คืออะไร ใกล้เคียงกับโกรธและเศร้าไหม และหากน้อยใจจนเป็นนิสัยจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไรให้รู้จักสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา Time index 02:03 น้อยใจคือความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับคุณค่า 04:00 ทุกช่วงวัย ทุกความสัมพันธ์ก็อาจเกิดความน้อยใจได้ 05:48 บางครั้งคาดหวังให้คู่ชีวิตดูแลเราเหมือนพ่อแม่ แต่ผิดสมการ 09:29 เราสามารถเติมความพอใจได้ด้วยตัวเอง 10:49 ลองสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกจากความน้อยใจ 11:21 ความประชดประชันจากความน้อยใจคือแรงผลักออก 16:24 ถ้าเป็นคนขี้น้อยใจ จะจัดการอารมณ์ตัวเองอย่างไรดี |
Dec 20, 2018 |
RUOK54 ช่วงนี้เรามีความสุขอยู่ไหม? สำรวจ แก้ไข และเข้าใจความต้องการของตัวเอง
16:38
เคยเจอคำถามทำนอง ‘ช่วงนี้มีความสุขไหม?’ แล้วอึกอักตอบไม่ถูกบ้างหรือเปล่า แล้วเคยถามตัวเองไหมว่าเพราะอะไรเราถึงไม่กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าตอนนี้เรามีความสุข R U OK จะชวนไปสำรวจตัวเองว่าทำไมเราถึงรู้สึกไม่มีความสุข ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทุกข์และดูเหมือนไม่มีสาเหตุอะไร ทำไมชีวิตถึงดำเนินไปได้แต่ละวันอย่างไร้จุดหมาย และเราจะเริ่มต้นอย่างไรถ้ารู้สึกว่าช่วงนี้ความสุขได้หายไปจากใจเรา Time index 02:28 ชีวิตวนลูปของคนเมืองที่เหมือนเครื่องจักร 03:58 ความสุขคือสิ่งต้องสร้างเองจากข้างใน 06:30 ตอบความต้องการของตัวเองให้ได้ด้วยการ์ด 3 ใบ 11:41 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีความสุข 13:37 ถ้าพบว่าตัวเองไม่มีความสุข จะเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไร |
Dec 17, 2018 |
RUOK53 เราลืมเรื่องที่ผ่านมาได้จริงๆ ไหม และจะอยู่ร่วมกันอย่างไรกับอดีตที่ไม่น่าจดจำ
21:03
เราทุกคนล้วนมีอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมหวังหรือผิดหวัง แต่สำหรับอดีตบางเรื่อง แม้ว่าจะผ่านมานานเท่าไร กลับทำงานกับเราอยู่ตลอดเวลาราวกับเกิดขึ้นเมื่อวาน R U OK เอพิโสดนี้จะตอบคำถามว่าในทางจิตวิทยาแล้ว คนเราสามารถลืมอดีตได้จริงไหม และสำหรับอดีตที่เป็นทุกข์ที่ผุดขึ้นมาทำร้ายเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จะจัดการมันอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข Time index 02:08 เราเลือกจำมากกว่าที่เรารู้ตัว และเราเลือกลืมมากกว่าที่เรารู้ตัว 09:13 จะอยู่ร่วมกับอดีตที่เจ็บปวดของตัวเองได้อย่างไร 10:48 ยอมรับว่าเรื่องเหล่านั้นเกิดขึ้นกับเรา 11:35 ย่อยอดีตด้วยการพูดถึงอย่างมีคนประคับประคอง 14:04 เราเลือกกอดเฉพาะอดีตที่ดีเป็นไปไม่ได้ ตัวเราจะแหว่ง |
Dec 13, 2018 |
RUOK52 จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างไรกับคนอีโก้ใหญ่คับบ้าน
19:03
“คนนี้อีโก้สูงจะตายไม่ฟังใครหรอก” ประโยคลบๆ เกี่ยวกับ Ego (อีโก้) ที่ได้ยินกันจนชินหู แต่เคยตั้งคำถามไหมว่าจริงๆ แล้วอีโก้คืออะไร ข้อดีของอีโก้นั้นมีไหม R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปทำความรู้จักกับอีโก้ ที่มีกันอยู่ในทุกคน ว่าแท้จริงแล้วคำว่าอีโก้สูงที่มักใช้เรียกคนที่มั่นใจในความคิดของตัวเองจนไม่ฟังคนอื่น เหมือนหรือต่างอย่างไรกับการมีอีโก้ที่แข็งแรง และถ้าหากต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนที่เอาความคิดเป็นศูนย์กลาง จะสื่อสารกันอย่างไรให้เข้าใจ Time index 02:21 ID (อิด), EGO (อีโก้) และ SUPER EGO (ซูเปอร์อีโก้) คืออะไร 04:15 อีโก้สูงคือคนท |